ReadyPlanet.com


ใบรับรองแพทย์


 

บริษัท ได้ทำประกันสุขภาพให้กับพนักงานแบบประกันกลุ่ม โดยสามารถไปรับการรักษาได้ ตามโรงพยาบาลทั่วไปได้ปีละไม่เกิน30ครั้งๆละไม่เกิน 1000บาท สำหรับผู้ป่วยนอกOPD (พนักงานไม่ต้องจ่ายใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นเวลาไปโรงพยาบาล)  เท่ากับกฎหมายแรงงานทีให้ลาป่วยได้ 30วัน ส่วนสำหรับผู้ป่วยทีต้องนอนโรงพยาบาล สามารถรักษาได้ไม่จำกัดจำนวน   นอกจากนี้ บริษัท ยังให้พนักงานมีสิทธิลาพักร้อน ได้ 17วันต่อปี 

ในกรณีนี้ บริษัทจึงได้ออกกฎและประกาศให้ทราบทั่วกันว่า พนักงานลาป่วยทุกครั้ง ถึงแม้จะไม่ถึง 3วัน ก็จะต้องไปหาหมอทีโรงพยาบาลทั่วไปตามประกันสุขภาพที่บริษัทมีให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และขอใบรับรองแพทย์มาด้วยทุกครั้ง หากพนักงานไม่ยอมไปหาหมอ จึงไม่มีใบรับรองแพทย์ มาให้ บริษัทมีสิทธิให้พนักงานท่านนั้น หักวันลาพักร้อนแทนวันทีขาดงานในกรณีที่ไม่มีใบรับรองแพทย์มาให้เนื่องจากไม่ยอมไปหาหมอตามทีบริษัทกำหนด    คำถามคือได้หรือไม่ครับ  

เนื่องจากผมเป็นหัวหน้าพนักงาน และผู้บริหารของบริษัทก็มอบหมายให้ติดตามเรื่องนี้ เนื่องจากบริษัทได้รับผลกระทบจากการหยุดงานของพนักงานเป็นอย่างมากประกอบกับธุรกิจในปัจจุบันก็ค่อนข้างแข่งขันสูง 

ขอความกรุณาได้โปรดให้ความกระจ่างกับผมด้วย เนื่องจากผมมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน



ผู้ตั้งกระทู้ สมนึก อาจหาญ :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-06 19:27:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3265673)

การลาป่วยคือ การลาป่วยครับ หากพนักงานป่วยก็ให้เป็นการลาป่วย หากนายจ้างกำหนดระเบียบว่า ต้องไปที่สถานพยายาลที่กำหนดไว้เท่านั้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากไปที่สถานพยาบาลอื่นก็จะไม่จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ นายจ้างก็สามารถทำได้ครับ แต่ก็ต้องเป็นการลาป่วย

กฎหมายกำหนดว่า วันลาพักผ่อนประจำปี ให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้าง หรือ แต่จะตกลงกัน นายจ้างก็สามารถกำหนดไว้ให้ได้ตามกฎหมาย แต่ก็ไม่สามารถไปตัดวันลาป่วยตามกฎหมายลงไปได้ครับ

การที่พนักงานป่วยนั้น ไม่ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลของบริษัทแล้ว วันลาพักผ่อนประจำปี ยังโดนตัดไปอีก ผมว่าอาจจะไม่เป็นธรรมกับพนักงาน

การที่นายจ้างอ้างว่า ภาวะการแข่งขันลูง ต้องการให้พนักงานมาทำงาน แต่หากพนักงานรู้สึกว่าไม่้เป็นธรรม ผลผลิตก็ไม่ได้ดีขึ้นมาได้ครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-10-07 07:14:06


ความคิดเห็นที่ 2 (3265756)

ผมมีความเห็นแตกต่างว่า การที่บริษัทให้วันลาพักร้อน ถึง 17วันซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกำกฎหมายแรงงานเพียงแค่ 6วัน  ก็เพราะบริษัทเห็นว่ามากเพียงพอสำหรับให้พนักงานพักผ่อน ประจำปี บวกกับวันหยุดนักขัตฤกษ์16วันต่อปี  

และการทีบริษัท ทำประกันสุขภาพให้ เสียค่าเบี้ยประกันในราคาแพง ก็เพราะเป็นห่วงในสุขภาพพนักงาน ไม่ต้องไปใช้สิทธิประกันสังคมในการไปพบแพทย์ เพราะไม่สะดวก ล่าช้า และการดูแลจากแพทย์ก็ไม่สะดวกเท่าที่ควร   ดังนั้นการทีบริษัททำประกันโดยเสียค่าใช้จ่ายให้ในราคาแพง เพื่อ สุขภาพของพนักงานเอง  พนักงานสามารถไปรับการรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป เช่น บำรุงราษฎร์ สมิติเวช  พยาไท และอื่นๆ อีก มากมาย ทุกโรงพยาบาลชั้นนำ   

ผมจะลองคิดให้คุณดูนะครับ   ว่า มีพนักงานบางท่าน มีพฤติกรรม ขาด ลา  มาสาย ป่วย เป็นประจำ ใน 1ปี มี 52สัปดาห์  พักร้อน 17 + วันหยุดนักขัตฤกษ์ 16 + ลาป่วย 30  รวมเท่ากับ 63วันขาดงาน ต่อปี  ยังไม่รวมมาสาย และ แวบหายตัวเวลาหัวหน้าไม่อยู่  สรุปเท่ากับว่าพนักงานท่านนี้มาทำงานอาทิตย์ละแค่ 3-4 วัน เพราะ1ปีมี52สัปดาห์ แต่หยุด63วัน  แล้วอ้างว่าป่วยแต่จริงแล้วไม่ป่วยจริง  บางครั้งลาป่วยต่อเนื่องกับวันหยุดยาวๆอีกต่างหาก   

ดังนั้นบริษัทจึงคิดว่า ถ้าพนักงานป่วยจริง ก็ควรจะไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง   ในเมื่อพนักงานป่วยจริง ก็ไม่เห็นมีเหตุผลอันใด ทีจะไม่ยอมไปพบแพทย์ ในเมื่อ ก็ไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือ ถ้าไม่ต้องการไปพบแพทย์ในโรงพยาบาลทีไม่อยู่ในรายชื่อประกัน ก็ไม่เป็นไร ขอให้มีใบรับรองแพทย์ มาเท่านั้น ถ้าคิดว่า โรงพยาบาลชั้นนำทีมีไว้ให้ ยังไม่ดีพอ    บริษัทไม่ได้บังคับพนักงาน    บริษัท เพียงต้องการใบรับรองแพทย์ มาเท่านั้น    ในเมื่อ ท่านป่วยจริง ทำไมไม่ยอมไปพบแพทย์ละครับ  การไปพบแพทย์ ย่อมดีกว่าการอยู่บ้านเฉยๆ  การไปพบแพทย์ก็เพื่อแพทยจะได้รักษาให้ได้ พนักงานจะได้หายจากอาการป่วย     บริษัทไม่ได้ต้องการให้พนักงานที "ป่วยจริง" มาทำงานทั้งๆ ทีป่วยหรอกครับ   ผมอยากให้"คุณที่ปรึกษา"ช่วยมองโลกในแง่ที่ดี และให้ความเป็นธรรมกับบริษัทบ้างเช่นกัน

บริษัทไม่ได้มีเจตนาหรือต้องการไปหาเรื่องเอากับการลาป่วยของพนักงานทั่วไปหรอกครับ เพราะมิเช่นนั้น ก็คงไม่ไปทำประกันสุขภาพความคุ้มครองสูงให้พนักงาน   เพราะถ้าเป็นภาวะปกติ ป่วยตามปกติ ของพนักงานทั่วไป ก็คงไม่มาก   แล้วถ้าป่วยมากจนต้องหยุดเป็นระยะเวลานาน ยิ่งไม่มีเหตุผลว่าจะอยู่บ้านเฉยๆ แล้วจะหายเองได้ ยิ่งต้องควรไปพบแพทย์   ไม่ใช่ฉ้อฉลแล้วอ้างว่าไม่เป็นธรรม

แล้วที่ คุณทีมีนามแฝง ว่า "ทีปรึกษา" ยังมอง ว่า อย่างนี้ไม่เป็นธรรม กับพนักงาน คุณช่วยมองให้กว้างขึ้นหน่อยได้ไม๊  คุณลองคิดว่าบริษัทประสบกับปัญหาเช่นนี้   คุณคิดว่าบริษัทยังจะสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ไม๊ ถ้าประสบปัญหามากๆ บริษัท "ก็ต้องปิดกิจการ"  พนักงาน "ทุกคน" ต้องตกงาน เพราะความเห็นแก่ตัว ฉ้อฉล ไม่มียางอาย ของพนักงานบางคน  แล้ว อย่างนี้ "คุณทีปรึกษา" คิดว่าเป็นธรรมกับพนักงานท่านอื่นหรือไม่?   อย่างนี้เรียกว่าเป็นธรรมใช่ไม๊ ทีพนักงานท่านอื่นต้องเดือดร้อนตกงานนะ    

ความเป็นธรรม  คือ  ต้องอยู่เฉยๆ  ไม่ต้องทำอะไร  ไม่ต้องหาวิธีแก้ปัญหา  หรือไม่ต้องช่วยปกป้องรักษาพนักงานทีทำงานด้วยความบริสุทธิใจ    ใช่หรือไม่  ????

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ความเป็นธรรมจริงหรือ วันที่ตอบ 2011-10-08 09:16:15


ความคิดเห็นที่ 3 (3265778)

ตามกฎหมายเมื่อลูกจ้างลาป่วยไม่ถึงสามวันไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพยท์ หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่าลูกจ้างไม่ได้ป่วยจริงก็สามารถลงโทษทางวินัยได้ หากผิดซ้ำคำเตือนอีกก็สามารถที่จะเลิกจ้างได้ แต่การที่พนักงานป่วยแล้วไปตัดสิทธิ์วันลาพักร้อนออกนั้นมันก็ไม่เป็นธรรมสำหรับลูกจ้างจริง ๆ เพราะมันเป็นคนละเรื่องเลย  การที่ลูกจ้างลาป่วยบ่อย ๆ นั้นมีมาตรการหลายอย่างที่จะจัดการได้ดีกว่าไปตัดวันลาพักร้อน ลองมองหาวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ดีกว่า

ผู้แสดงความคิดเห็น ben วันที่ตอบ 2011-10-08 16:01:32


ความคิดเห็นที่ 4 (3265857)

เรียน คุณความเป็นธรรมจริงหรือ

     หากพนักงานมีพฤติกรรมที่ชอบหยุด ชอบลา มาไม่ทำงาน นั้นแทบทุกองค์การก็มีทั้งนั้นครับ ปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคลเป็นคนๆไป ก่ีแก้ปัญหาก็ต้องแก้ที่ตัวบุคคล การบริหารคนนั้นไม่ใช่ใช้ 1 วิธีจัดการกับคนทั้งหมดทั้งบริษัท การที่พนักงานตนใดคนหนึ่งเกเร ไม่ได้หมายความว่าพนักงานทุกคนเกเรไปด้วย หากคุณใช้ตัดพักร้อน คุณก็ต้องใช้กับพนักงานทั้งบริษัท มิฉะนั้นจะกลายเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งก็ไม่เป็นผลดีกับการบริหารงาน คนที่ดีมีกำลังใจก็พลอยได้รับผลนี้ไปด้วย จริงครับที่นายจ้างอาจมวันลาหยุดพักผ่อนประจำปี ให้มากกว่ากฎหมาย แตผมก็ว่าตามหลักกฎหมายครับ ที่ว่าพักร้อนคือ พักร้อน ป่วยคือป่วย แม้นายจ้างจะกำหนดพักร้อนให้พนักงานได้ แต่ก็เป็นการบอกล่วงหน้าให้พยุดในวีนใด ไม่ใช่พนักงานหยุดงานไปแล้วและให้พักร้อนย้อนหลัง  

      จริงอยู่ครับ นายจ้างอาจจะไม่ชอบใจ ที่ลูกจ้างหยุดมากเกินไป นายจ้างก็สามารถทำได้ตั้งหลายวิธี ทั้งระบบการลงโทษทางวินัย หากลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ การไม่ขึ้นเงินเดือน การไม่จ่ายเงินโบนัส หรือการเลิกจ้างหากพิจารณาว่าลูกจ้างคนนั้นหมดประสิทธิภาพในการทำงาน ก็สามารถเลิกจ้างได้ หลายบริษัทมีวิธีจัดการกับพนักงานเหล่านี้ โดยการไปเยีายมที่บ้านเมื่อโทรมาลาป่วย หรือไม่มาทำงานเฉยๆ หากพบว่าไม่ป่วยจริง ก็ไม่ใช้ลาป่วย ถือเป็นขาดงาน ลงโทษทางวินัยได้ ซึ่งน่าจะเป็นวิธีที่ดีสำหรับจัดการกับพนักงานที่ไม่ได้ปาวยจริง และอ้างอาการป่วยเอง เมื่อกลับมาทำงานก็ส่งให้แพทย์ของบริษัท พิจารณาว่าป่วยจริงหรือไม่ ก็สามารถทำได้

      ข้อสำคัญคือ หัวหน้างานเองที่ควบคุมดูแลพนักงานเหล่านี้ดีเพียงไร ที่พบส่วนใหญ่หัวหน้างานไม่ได้ทำอะไร ให้ฝ่ายบุคคลพิจารณา พนักงานหลบงานไปนอน หรือไม่ได้อยู่ที่ทำงาน ก็ไม่ทราบ พอไม่เจอก็เรียกฝ่ายบุคคล หัวหน้างานครับ เป็นด่สนแรกที่ต้องพบปะพนักงาน ต้องใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ ส่วนใหญ่ก็ชอบใช้พระคุณมากกว่าพระเดช บางนายจ้างเจอกับพนักงานที่เกเร แต่ไม่เคยวิเคระห์หาปัญหาว่า สาเหตุมาจากอะไร พนักงานอาจคับข้องใจ พนักงานอาจไม่ได้รับความเป็นธรรม พนักงานอาจมีปัญหาด้านการเงิน ด้านครอบครัว แต่ก่อนเขาอาจขยัน หลังจากนั้นก้เปลี่ยนไป หากรูสาเหตุแล่วยแก้ปัญหานั้นให้พนักงาน นายจ้างก็จะได้พนักงานที่ดีกลับมา 

      ผมเป็นเพียงผู้ที่มีประสพการณ์มาบ้างทั้งราชการ ทั้งเอกชน คนงานครั้งแต่ไม่กี่ร้อย จนถึงเป็นหมื่น ผมพูดถึงความเป็นธรรม ที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ผมทราบว่านายจ้างคับข้องใจจากการกระทำของลูกจ้าง และลูกจ้างก็คิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง นายจ้างที่ดีก็มีมากครับ และหากเรามีใจไม่เป็นธรรม นายจ้างก็มีปัญหา ลูกจ้างก็อยู่ไม่ได้ และหากกฎหมายว่าไว้อย่างไร ผมก็ให้ความเห็นไปอย่างนั้น เพราเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย หากมีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น เกิดนายจ้างแพ้ นอกจากจะเสียเงินแล้ว ก็เสียหน้าด้วยครับ     

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-10-09 17:55:00


ความคิดเห็นที่ 5 (3265872)

เรียน คุณทีปรึกษา

ก่อนอื่น ผมต้องขอขอบพระคุณและซาบซึ้งใจ ทีให้คำแนะนำและคำปรึกษา  

แต่ ผมขอเรียนให้ทราบว่า คุณก็ยังเข้าใจเจตนาผมผิด อยู่ดี    ผมมิได้มีเจตนาจะไปกลั่นแกล้งพนักงานที่ดีของผม   ซึ่งตามความจริง พนักงานทีดีก็มีมากกว่า   และพนักงานที่ดีๆที่มีอยู่บางครั้งเจ็บป่วยเล็กน้อย ก็ยังอุตส่าห์มาทำงาน ซึ่งผมก็ทราบซึ้งใจและมิได้ปรารถนาให้เค้ามาทำงาน  แล้วพนักงาน พวกนี้เค้าก็จะไปพบแพทย์เพราะเค้าป่วยจริงๆ  ซึ่งพนักงานพวกนี้เค้าก็ยินดีและไม่คิดจะผิดระเบียบใดๆ และก็ไม่เคยมีประวัติว่าผมไปหักวันลาพักร้อนของพวกเค้าหรอกครับ  พนักงานเหล่านี้จากการพูดคุยสอบถามความเห็นแล้วเค้าก็ยินดีให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและเต็มใจทีจะไปพบแพทย์กันทั้งนั้น    ส่วนพนักงานทีเคยมีประวัติที่ดี แล้วอยู่ๆ ก็มีปัญหาการทำงาน อันนี้เราก็ทราบ และพยายาม ทำความเข้าใจว่าปัญหาของเค้าเกิดจากอะไร  

แล้วจากตัวอย่างทีว่าหัวหน้างานไม่ดีพอนะ  มันก็ไม่ใช่อย่างที่คุณเข้าใจ  เพราะบริษัทผมนะ พนักงานทุกคน ตั้งแต่ระดับหัวหน้าต้องออกไปดูแลและให้บริการลูกค้าที่ออฟฟิสของลูกค้า ไม่มีใครมีเวลาพอทีจะมานังเฝ้าหรอกครับ

แต่การทีผมคิดแบบนี้เพราะผมหมดปัญญาจะแก้ปัญหากับพนักงานเลวๆบางคน ผมจึงได้มาขอคำปรึกษา   ผมเองก็ทราบว่าผมจะเลิกจ้างได้ ถ้าพิจารณา แล้วเห็นว่าพนักงานหมดประสิทธิภาพในการทำงาน แล้วยอมจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายกำหนด      เอาเป็นว่า ผมมีคำถามจะเรียนถามดังนี้ 

1).ถ้าผมจะออกเป็นระเบียบว่า พนักงานลาป่วยจะกี่วันก็ตาม จะต้องมีใบรับรองจากแพทย์วินิจฉัยว่าสมควรให้หยุดพักงานได้ ถ้าพนักงาน ไม่มีมาให้ ผมก็จะตักเตือน ด้วยวาจา ถ้าครั้งต่อไป ไม่มี ก็จะออกจดหมายเตือน อย่างนี้เรียกว่าผิดระเบียบวินัย ได้หรือไม่ ?

2).ถ้าพนักงาน มีใบรับรองแพทย์มา  ตามปกติใบรับรองแพทย์ จะมีข้อความ 2ส่วน  ส่วรแรกคือการวินิจฉัยโรค ว่าป่วยเป็นอะไร     ส่วนทีสอง คือสรุปความเห็นของแพทย์ ว่าสมควรให้หยุดพักงานกี่วัน   ถ้า ตรงส่วนนี้ แพทย์ไม่ยอมระบุให้ แต่แพทย์จะระบุว่ามาพบแพทย์จริง เพราะผมเข้าใจว่าแพทย์ก็คงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องหยุดงาน ท่านก็เลยไม่ยอมเขียนให้   อย่างนี้ พนักงานจะเอามาอ้างใช้สิทธิลาป่วยได้หรือไม่?

3).ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพส่วนตัวของพนักงานเอง แล้วมาใช้สิทธิลาป่วย ได้หรือไม่?       ไปหาหมอรักษาสิว  หมอผิวหนัง พวกนี้ใช้สิทธิลาป่วยได้หรือไม่? 

4)ถ้าพนักงานอ้างว่า ปวดหัวและประจำเดือนมา  อย่างนี้ มาใช้สิทธิลาป่วย ได้หรือไม่?    เพราะ ข้ออ้างนี้ผมพบบ่อยมาก  ล่าสุดลาไป 4วันติดต่อกัน

5)เหตุผลที่ใช้ในการพิจารณาว่าหมดประสิทธิภาพในการทำงาน ดังข้างล่าง ต่อไปนี้:-  เพียงพอหรือไม่ ?

  5.1  ทำงานกับบริษัทมากว่าสิบปีแล้ว แต่ยังมีงานในหน้าที่หลายอย่างมอบหมายให้ แล้วทำไม่ได้ เพราะอ้างว่าทำไม่เป็น ทั้งๆทีทำมาเป็นสิบปี   ใช้เวลาในการเรียนรู้มาเป็นสิบปี แล้ว ก็ยังไม่เข้าใจ ทำไม่ได้    แล้วก็ต้องมอบหมายให้คนอื่นทำแทน   แล้วจากข้อ 5.1 นี้ผมต้องเตรียม   หลักฐานอะไรบ้างเพื่อใช้ประกอบข้ออ้างนี้ 

  5.2  ลาป่วย เป็นประจำ แล้ว ส่วนใหญ่ จะเป็นแบบข้อ 2, 3 และ 4

ท้ายนี้ ขอบพระคุณในความกรุณาครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ความเป็นธรรมจริงหรือ วันที่ตอบ 2011-10-09 23:59:43


ความคิดเห็นที่ 6 (3265885)

ครับ ผมใคร่ขอเรียนถึงความเห็นดังนี่ครับ

1. หากจะเลิกจ้างพนักงาน ควรต้องให้เป้นไปตามระเบียบ มีหลักฐานในการพิจารณาเลิกจ้าง เช่น บางนายจ้างเขียนระเบียบว่า หากลาป่วยเกินกว่า 30 วันในหนึ่งปี ถือว่า หมดสมรรถภาพในการทำงาน ก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม เพราะมีระเบียบเขียนอยู่ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

2. ในเรื่องของการมอบหมายให้ทำงานนั้น หากเป็นงานที่ไม่เหลือวิสัยของการทำงานโดยบุคคลผู้นั้นแล้ว ก็คงต้องหางานใหม่ให้ทำ หากยังทำไม่ได้ ไม่มีที่ให้ไป เมื่อเลิกจ้างถือว่าเป็นธรรม แต่ก็ต้องจ่ายเงินชดเชยตามกฑหมายให้ คุณก็ต้องจัดหาเอกสารที่เป็นหนังสือมอบหมายงาน ให้พนักงานลงนามรับทราบ การประเมินผลงานในแต่ละปี หากมีการกำหนดมาตรฐานการทำงานไว้ด้วยแล้วก็ยิ่งรัดกุมมากขึ้น หากมีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายด้วย ก็ยิ่งทำให้การพิจารณานั้นหนักแน่น 

3. การเลิกจ้างนั้น หากพนักงานไม่ไปฟ้องศาลภายใน 10 ปี ก็ถือว่าจบไป แต่พนักงานสามารถไปฟ้องเมื่อไรก้ได้ แต่หากเอกสารเรียบร้อยครบถ้วยโอกาสได้เปรียบก็มีสูง 

4. การแก้ปัญหาเรื่องของคนนั้น กรุณาอย่าคิดว่าพนกงานนั้นเป็นคนเลว หากตั้งขอสมมติฐานว่าเขาเป็นคนเลวแล้วปัญหาก็จะแก้ไม่ได้ครับ หากต้องการแก้ปัญหาก็ต้องหาสาเหตุและแก้ที่สาเหตุนั้น แต่หากคิดว่าแก้ไม่ได้ก็เลิกจ้างไป แล้วไปว่ากันที่ศาลหรือที่แรงงาน แล้วแต่ว่าจะไปร้องที่ใด เพราะคนเราไม่เคยคิดว่าตัวเองผิด จนกว่าจะมีคนบอกว่าทำผิดเท่านั้น 

5. อย่างที่ผมเรียนไว้ ป่วยคือป่วย กฎหมายมาตรา 32 ไม่ได้บอกว่าต้องมีใบรับรองแพทย์ เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จะต้องหาและพิสูจน์เองว่าพนักงานผู้นั้นป่วยจริงหรือไม่ เช่นไปหาที่บ้าน ให้พนักงานไปพบแพทย์ของบริษัท หากพบว่าไม่ป่วยจริงก็ว่ากันทางวินัยไป

6. ผมอาจมีความเห็นที่ไม่ตรงกับคุณตรงที่ หัวหน้างาน ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตาม มีหน้าที่อยู่ 5 ประการครับ คือ 1.  ทำงานให้ได้ตามเป้า 2. ทำงานให้ได้ตามคุณภาพที่กำหนด  3. ทำงานให้ได้ต้้นทุนต่ำที่สุด 4. ดูแลเรื่องคน 5. ดูแลความปลอดภัย การที่หัวหน้าไม่ดูแลลูกน้องแล้วผลงานจะออกมาดีได้อย่างไรครับ 

คงให้ความกระจ่างได้นิดหน่อยครับ   

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-10-10 08:50:34



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.