ReadyPlanet.com


ลาออก วันหยุดประจำปีสะสม


ตามกฎหมายแรงงานที่แก้ใหม่ม. 67 ที่กำหนดให้นายจเ้างต้องจ่ายเงินค่าทำงานในวันหยุดประจำปีที่สะสะมไว้ในปีก่อนแก่ลูกจ้างที่ลาออก มีข้อสงสับดังนี้ค่ะ

1. นับวันหยุดสะสมอย่างไรว่าเหลือกี่วัน เช่น ปีที่แล้วมีวันหยุดไม่ได้ใช้ 4 วัน ปีปัจจุบัน มี 9 วัน รวมกันเป็น 13 วัน ในระหว่างทำงานรอบปีปัจจุบัน ลูกจ้างใช้วันลาพักร้อนไปแล้ว 3 วัน เช่นนี้ถือว่าลูกจ้างมีวันหยุดประจำปี และวันหยุดประจำปีสะสมเหลือเหลืออยู่กี่วันคะ

     1.1 วันหยุดประจำปีสะสม 4 วัน วันหยุดปีปัจจุบัน 6 วัน หรือ

     1.2 วันหยุดประจำปีสะสม 1 วัน วันหยุดประจำปีปัจจุบัน 9 วัน 

โดยหลักแล้วหักวันหยุดประจำปีที่สะสมไว้ หรือของปัจจุบันคะ เพราะที่ทำงานปัจจุบันพอข้ามปีเค้าก็เอามารวมกันเลยว่าปีก่อนเหลือเท่าไหร่ปีนี้ได้เพิ่มเท่าไหร่ หรือต้องดูตามสัญญาจ้าง

 

2. กรณีนี้ไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดประจำปีของปัปัจจุบัน เข้าใจถูกใช่มั้ยคะ

 

3. อัตราค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่บูกจ้างที่ลาออก คือ 1 เท่าของค้่าจ้างต่อชม. ใช่มั้ยคะ 

 

4. ม. 64 กำหนดให้เอาม. 62 และ 63 มาใช้หากนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างใชเวันหยุดประจำปี สงสัยว่าแล้วเราจะรู้ได่อย่างไรว่าวันหยุดประจำปีืสะสมที่ลูกจ้างไม่ใช้นั้นมีโอทีหรือไม่ จะต้องจ่าย 3 เท่าของค่าจ้างต่อชม.



ผู้ตั้งกระทู้ รบกวนด้วยค่ะ :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-01 15:08:20


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3252136)

ต้องทำความเข้าใจก่อนนะครับ ตามมาตรา 67 วรรคสองนั้น หมายถึง วันหยุดสะสมตามระเบียบของนายจ้างนะครับ หากนายจ้างไม่มีระเบียบเรื่องให้สะสมวันหยุดตามพักผ่อนประจำปีได้ ก็ไม่เข้าข้ายมาตรานี้ครับ

สะสมได้เท่าไร ก็ต้องตามระเบียบครับ ดูระเบียบของคุณเองครับ

หากพนักงานลาออกเองและลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิวันลาหยุดนั้น วันหยุดนั้นก้หมดไป

ยกเว้นขอใช้สิทธิและไม่ได้รับสิทธิ นายจ้างต้องจ่ายเงินในส่วนที่ไม่ได้ลานั้น

อัตราค่าจ้างต่อวันครับ คิดเป็นวันๆไป  หรือคิดเป็นชั่วโมงแล้วแต่กรณี

จ่ายเท่าเดียวครับ ไม่มีการจ่าย สองเท่า สามเท่า เพราะไม่ได้คิดว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด หรือทำล่วงเวลาในวันหยุด ไม่ได้หยุดคือไม่ได้หยุด แต่ขอลาหยุดแล้วได้หยุดวันใด หากนายจ้างสั่งให้มาทำงานในวันนั้น ก้ถือว่าเป็นการทำงานในวันหยุด การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด

หากมาทำเองโดยนายจ้างไม่ได้สั่งก็ถือว่ามาทำฟรีครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-08-02 09:01:06


ความคิดเห็นที่ 2 (3252231)

 ขอถามเพิ่มเติมค่ะในกรณีนี้ หากภายหลังลูกจ้างยื่นหนังสือลาออก หลังจากนั้นลูกจ้างมายื่นหนังสือฟยุดประจำปีทั้งหมด แต่นายจ้างไม่อนุญาต เช่นนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าสำหรับวันหยุดประจำปีทั้งหมดหรือไม่ ตามตัวอย่างข้างต้นคือ 13 วัน หากต้องจ่ายหมดเช่นนี้ถือว่าเป็นธรรมแก่นายจ้างหรือคะ 

ส่วนสะสมต้องจ่ายแน่นอน แต่ในส่วนของรอบปีปัจจุบัน 9 วัน โดยหลักนายจ้างต้องคาดหมายให่ลูกจ้างทำงานครบรอบปีตามกำหนด แต่เมื่อไม่ได้ทำครอบรอบปีแต่จะใช้วันหยุดทั้งหมด พอไม่ให้ใช้กลายเป็นว่าต้องจ่ายเงินให้ทั้งหมด ไม่ใช่เฉลี่ยให้ ดูไม่เป็นพรรมแก่นายจ้างเท่าใดนัก

ผู้แสดงความคิดเห็น รวบกวนค่ะ วันที่ตอบ 2011-08-03 10:03:48


ความคิดเห็นที่ 3 (3252302)

ครับมาตรา 67 ว่าไว้อย่างนั้น เพราะตามมาตรา 30 พักร้อนถือว่าเป็นสิทธิตามกฎหมายดังนั้น นายจ้างก็ต้องปฎิบัติตามครับ หากพรักงานต้องการใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่นายจ้างไม่ให้สิทธินั้น นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินทดแทนสิทธิให้กับลูกจ้าง หากลูกจ้างไม่ประสงค์ใช้สิทธิตามกฎหมายนั้น สิทธินั้นก็หมดไปครับ เช่นหากมีพักร้อนเหลือ 10 วัน เมื่อขอลาออก หากไม่ได้ขอลาไว้ 10 วันนั้นก็หมดไป ขอเปลี่ยนเป้นเงินไม่ได้

ต้องเข้าใจว่า พรบ คุ้มครองแรงงาน นั้นเป็นกฏหมายที่คุ้มครองลูกจ้างครับ ไม่ใช่คุ้มครองนายจ้าง ดังนั้นนายจ้างอาจรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม บางกรณี ทำงานครบปีได้พักร้อน 10 วัน(สมมุติ) พนักงานครบปีขอลาเลย 10 วัน อีก 15 วันมาขอลาออก เช่นนี้ ก็ต้องให้ครับ ไปเรียกว่า ให้เดือนละวันคงไม่ได้

   

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-08-04 09:40:30


ความคิดเห็นที่ 4 (3310154)

1. ลูกจ้างยื่นหนังสือลาออกก่อน15วัน แต่วันหยุดประจำปียังเหลือ 12วัน ลูกจ้างสามารถนำมาหยุดภายใน15วันนี้ได้หรือไม่

2.แล้วนายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้าง 15วันเต็มหรือไม่

3.วันหยุดประจำปีลูกจ้างมีสิทธิใช้หรือไม่ตอนที่ลาออก

ผู้แสดงความคิดเห็น เขียว วันที่ตอบ 2013-05-05 19:56:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.