ReadyPlanet.com


นายจ้างปฏิเสธการรับโอนอายุงาน


บริษัทรวย จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการได้ทำสัญญาจ้างบริษัทผู้รับเหมาแรงงานจำนวน ๓ ราย คือบริษัท เอ บริษัท บี และบริษัทซี จัดหาแรงงานเข้าทำงานในสถานประกอบการของบริษัทรวยผู้ว่าจ้าง โดยลูกจ้างของผู้รับเหมาทั้ง ๓ ราย ทำงานในสถานประกอบกิจการของผู้ว่าจ้างติดต่อกันมาหลายปี   ต่อมาเมื่อหมดสัญญาจ้างปรากฏว่าบริษัทเอ ไม่ได้รับการต่อสัญญา  ผู้ประกอบกิจการจึงทำสัญญาจ้างกับบริษัท บี และ ซี ให้เพิ่มจำนวนลูกจ้างเพือจัดส่งเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการ  และให้บริษัทบี และซี  รับสมัครลูกจ้างของบริษัทเอ ไว้ทำงานในสถานประกอบกิจการต่อไป บริษัทบีและซีจึงประกาศรับสมัครลูกจ้างของบริษัทเอ เพือส่งเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการของผู้ประกอบกิจการให้ครบตามสัญญา โดยมีการเสนอเงื่อนไขจะรับโอนอายุงานและให้สวัสดิการต่างๆ  พร้อมทั้งได้จัดทำสัญญาโอนลูกจ้างขึ้นโดยมีผู้ลงนามสามฝ่ายคือ ผู้โอน(บริษัทเอ) ผู้รับโอน(บริษัทบีหรือซี) และลูกจ้างผูให้ความยินยอม เพื่อให้ลูกจ้างที่สมัครใจเข้าทำงานเห็นว่ามีการรับโอนอายุงานกัน แต่บริษัทเอ ไม่ลงชื่อในสัญญาโอน เนื่องจากไม่ประสงค์จะโอนลูกจ้างและได้จัดหาสถานที่ทำงานใหม่ให้ได้  ลูกจ้างสมัครใจจะทำงานกับบริษัทซี และดี จึงได้ลงชื่อให้ความยินยอมในหนังสือสัญญาโอนเพียงฝ่ายเดียว และบริษัทบี และซี ได้เก็บสัญญาโอนนั้นไว้พร้อมทั้งให้ลูกจ้างเขียนใบสมัครงานใหม่  ต่อมาเมื่อลูกจ้างเข้าทำงานไปแล้ว ๓ เดือน บริษัทรวย จำกัด ผู้ว่าจ้าง ได้ส่งคืนตัวลูกจ้างให้บริษัทบี และซี  โดยบริษัทบี  และบริษัทซีไม่สามารถหาสถานที่ทำงานให้ลูกจ้างได้จึงประกาศเลิกจ้างลูกจ้าง โดยบริษัทบีจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้างให้ลูกจ้างโดยนับอายุงานต่อเนื่องนับแต่ที่ลูกจ้างทำงานกับบริษัทเอ  แต่บริษัทซีปฏิเสธการนับอายุงานต่อเนื่องและจ่ายค่าชดเชยเท่ากับระยะเวลาที่เริ่มเข้ามาทำงานกับบริษัทซีโดยต่อสู้ว่าแม้้ลูกจ้างจะให้ความยินยอมในสัญญาโอนแต่สัญญาโอนนั้นไม่สมบูรณ์ไม่มีผู้ลงชื่อโอนและบริษัทซีไม่ได้ลงชื่อในฐานะผู้รับโอน  และไม่เคยมีการประกาศหรือตกลงจะรับโอนอายุงานลูกจ้างแต่อย่างใด   กรณีเช่นนี้ลูกจ้างจะมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยโดยให้นับอายุงานต่อเนื่องหรือไม่  หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้อง ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าชดเชยนอกจากจะเป็นบริษัทซีแล้วจะรวมถึงผู้ประกอบกิจการที่เป็นนายจ้างตามมาตรา ๑๑/๑  ร่วมรับผิดชอบด้วยหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ 4682 (Prachinburi-at-Labour-dot-go-dot-th) :: วันที่ลงประกาศ 2013-12-17 23:06:10


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3315124)

การโอนย้ายลูกจ้างโดยการเปลี่ยนตัวนายจ้างตามมาตรา 13 พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และปพพ 577 การโอนย้ายไปต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจทั้ง 3 ฝ่าย นายจ้างเก่า นายจ้างใหม่และลูกจ้าง โดยได้รับสิทธิต่างๆ เหมือนเดิม หากมีการเลิกจ้างลูกจ้างก็ต้้องได้รับสิทธิตามกฎหมาย หากนายจ้างใดปฎิเสธความรับผิดชอบ ลูกจ้างก็สามารถฟ้องร้องเอากับนายจ้างเก่า นายจ้างใหม่ และนายจ้างผู้ประกิบการได้  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-12-18 16:49:26



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.