ReadyPlanet.com


ลูกจ้างลาป่วยบ่อย


 มีพนักงานคนหนึ่งลาป่วย 1 ปี เกิน 30 วัน เป็นมาตประมาณ 4 ปีแล้ว  ลาป่วยแต่ละครั้ง 1-2 วัน ด้วยอาการป่วยเดิมๆ คือ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดสะโพก แพทย์จะลงความเห็นว่าอาการป่วยเป็นเหมือนกันแทบทุกครั้ง แต่พนักงานคนนี้ไปหาหมอก็ไปหาแต่คลินิกประกันสังคม ไม่เคยไปตรวจที่โรงพยาบาลเลยตลอด 4 ปี แต่จะมีคนเห็นพนักงานคนนี้ทานเหล้าในวันที่ลาแทบทุกครั้ง ล่าสุดก็โทรมาลาป่วยไปหาหมอที่คลีนิกได้ใบรับรองแพทย์เหมือนเดิม แต่ครั้งนี้ผู้จัดการให้โทรไปบอกพนักงานให้เตรียมตัวเพื่อที่ทางบริษัทจะพาไปตรวจที่โรงพยาบาลแต่พนักงานคนนี้กลับบอกว่าไปหาหมอมาแล้ว และตอนนี้ก็ทานเหล้าเมาแล้วสาเหตุที่ทานก็คือมันปวดกล้ามเนื้อจึงทานเหล้าเพื่อให้มันนอนหลับสบาย เวลานั้นประมาณ 09.00 น. เป็นเช่นนี้บริษัทสามารถทำอย่างไรได้บ้างกับพนักงานคนนี้ถ้าเค้าหยุดอีก แล้วเราจะพาไปตรวจแต่เค้าอ้างว่าเค้าเมาแล้วอีกเช่นเดิมบริษัทสามารถให้ขาดงานทั้งๆที่มีใบรับรองแพทย์ได้หรือไม่เพราะอาจไม่ได้ป่วยจริ

 



ผู้ตั้งกระทู้ HR :: วันที่ลงประกาศ 2015-02-04 18:48:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3768104)

1. การลาป่วยที่อ้างอาการป่วยเอง นายจ้างสามารถสั่งให้ลู้จ้างไปพบแพทย์ของนายจ้างได้ เช่น นายจ้างมี contract กับโรงพยาบาลใดก็จับขึ้นรถพยาบาลไปพบแพทย์เลยให้แพทย์วินิจฉัยให้ โดยอ้างเพื่อสุขภาพของลูกจ้าง ตวามปลอดภัยในการทำงาน หากลูกจ้างไม่ยอมไปตรวจก็สามารถออกหนังสือเตือนได้ว่า ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง แต่รายการนี้ นายจ้างต้องออกค่าใช้จ่ายนะครับ

2. วันใดที่ลูกจ้างไม่ปรากฎกายเข้าทำงาน ท่านน่าจะไปเยี่ยมที่บ้าน ดูว่าเป็นอย่างไร ป่วยจริงไหม หากกินเหล้าอยู่ ก็ถือว่าเป็นการลาป่วยอันเป็นเท็จ แบบนี้เข้าข่ายมาตรา 119 (1) ก็สามารถเลิกจ้างได้ทันที

3. การที่พนักงานลาป่วยเกิน 30 วันทำงานต่อปี ติดต่อกัน น่าจะเชื่อได้ว่า พนักงานหมดสมรรถภาพในการทำงาน แล้ว ก็สามารถเลิกจ้างได้โดยต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย

4. การที่ท่านจะไม่อนุญาตให้ลาป่วยท่านต้องมีข้อพิสูจน์อย่างแน่นอนว่า พนักงานผู้นั้นไม่ป่วยจริง การเมาสุรา ไม่มาทำงาน อ้างว่าป่วยถือว่าไม่ใช่การป่วย เช่นนี้ ก็นับว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้

5. เรียกพนักงานมาคุย ถามว่าที่ทำอย่างนี้ เพราะอะไร ต้องการอะไร บางทีท่านอาจได้รับคำตอบที่ท่านสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2015-02-04 20:22:14


ความคิดเห็นที่ 2 (3777049)
เพิ่มเติมนะครับCase แบบนี้เจอมาหลายรายละครับ 1.ตามที่ท่านปรึกษานะนำมาก็เป็นแนวปฏิบัติทิศทางเดียวกับผม 2. ไม่แน่ใจว่าที่บริษัทนมีเครื่องเป่าแอลกอฮอล์หรือเปล่าครับถ้ามีก็จัดการได้เลย 3. พนักงานที่มีลักาณะดังกล่าวไม่ควรให้ทำ Ot ครับเราต้องให้เหตุผลว่าท่านป่วยควรทพงานแค่พอเหมาะ 4. ไปเยี่ยมบ่อยๆเท่าที่จะทำได้ รับรองว่าไม่พลาดถูกเลิกจ้างก็ยอมเขียนใบลาออกครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น HR ชายคลอง วันที่ตอบ 2015-02-24 16:42:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.