ReadyPlanet.com


ลูกจ้างข่มขู่ว่าจะฟ้องกรมแรงงาน หาว่านายจ้างกลั่นแกล้ง นายจ้างต้องทำอย่างไรบ้างคะ


 รบกวนสอบถามดังนี้ค่ะ

บริษัทของเพื่อน มีฐานะเป็นนายจ้างค่ะ เรียกว่า บริษัท A  มีการรับจ้างบริการแรงงาน ให้กับ บริษัท B   เรียกสั้นๆ ว่า A กับ B นะคะ  และที่ทำงานประจำคือ ที่บริษัท B 
 
 
A มีพนักงานในสังกัดที่ทำงานให้กับ B ทั้งพนักงานประจำและพนักงาานรายวัน  ค่าแรงในการเรียกเก็บบริษัท B เป็นการเรียกเก็บตามราคาที่ตกลงกันไว้ หารจำนวนที่มาทำงาน  และในการมาทำงานทุกวัน A จะรายงาน B ว่าวันนี้พนักงานมาทำงานกี่คน ก่อนล่วงหน้าเสมอ เพื่อวางแผนการทำงานในวันนั้น จึงมีการตกลงร่วมกันระหว่างพนักงานในบริษัท A ว่า วันไหนที่ไม่สามารถมาทำงานได้ ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนเวลา 7:00 เนื่องจากว่า จะต้องเผื่อเวลาการเดินทางมาทำงานจากบริษัท A ถึง บริษัท B และการรายงานต่อบริษัท B ก่อนเริ่มงาน 
ซึ่งกิจวัตรจะเป็นเช่นนี้  7:00 พนักงานทุกคนรวมตัวที่บริษัท A เตรียมตัว (อาจจะบวกลบเวลาไป)
 
7:00 -7:15     หัวหน้างานเช็คจำนวนคน  ลงเวลาการทำงาน รายงานต่อ B (ทางโทรศัพท์หรืออีเมลล์)
7:15              ออกเดินทางไปบริษัท B
7:30-35         เดินทางถึงบริษัท B 
7:35              รับประทานอาหารเช้าที่บริษัท B  /เตรียมการทำงาน 
7:50              ทำกิจกรรมกายบริหาร และประชุมหน้าแถวร่วมกับผู้รับเหมาเจ้าอื่นๆ
8:00             เริ่มงาน
 
 
หากวันไหนมีการแจ้งล่าช้าเกินเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร จะถือว่าวันนั้นพนักงานขาดงานไป พนักงานทุกคนรับทราบและปฏิบัติร่วมกันมาตลอด 
 
โดยที่ A กับ B ตกลงกันว่า หากมีพนักงานคนใดของ A หยุดงานโดย B เห็นว่าไม่มีเหตุอันสมควร ครบ 3 ครั้ง B จะไม่ให้พนักงานคนนั้นของ A เข้ามาทำงานที่บริษัท B อีก ไม่แน่ใจว่าตรงนี้ได้มีการระบุลงในสัญญาว่าจ้าง ระหว่าง A กับ B หรือไม่ หากมีก็สามารถหยิบหยกข้อสัญญาตรงนั้นมาได้  แต่หากเป็นการตกลงร่วมกันด้วยวาจา ตรงนี้ถือว่ามีผลตาม กม ได้ใช่มั้ยคะ ? หรือต้องให้ A และ B ออกเอกสารออกมาภายหลังแล้ว เซ็นร่วมกัน ได้หรือไม่?
 
และ A มีพนักงานรายนึง ชื่อว่า นาย C  ซึ่งอยุ่ในฐานะพนักงานประจำ มีการลางานบ่อยมาก ตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานที่ B ทั้งการลาแบบถูกต้อง และไม่ถูกต้อง ปะปนกันไป ทุกครั้งที่มีการลาไม่ถูกต้อง ก็จะโดนหักเงินรายวันโดย A และตักเตือนด้วยวาจา  แต่เนื่องจากว่า ปริมาณงานยังเยอะ A จึงยังคงแค่ตักเตือน และให้นายC ทำงานต่อ โดยหากวันไหนนาย C ไม่มาทำงานก็จะหักเงินรายวันไป  ทำแบบเรื่อยมา จนกระทั่ง ปีนี้ 2559 
 
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา นาย C ได้ ได้ขาดงานโดยไม่มีเหตุสมควร ไปแล้ว 2 ครั้ง โดยนาย C อ้างว่าป่วย และมีการแจ้งล่าช้า เกินกว่าเวลาที่กำหนดทั้งสองครั้ง  แต่เนื่องจากนาย C มีพฤติกรรมที่มีแนวโน้ม เช่นนี้มานาน (มีหลักฐานครบ ทั้งใบบันทึกเวลา และใบจ่ายเงินเดือน)  ทาง B จึงตักเตือนตำหนิทางวาจาผ่าน A  ว่า หาก นายC มีการลาหยุดอีก 1 ครั้ง ด้วยเหตุใดก็ตาม นาย C ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันหรือมาลาด้วยตนเองในวันที่หยุดงานนั้นๆ หากไม่ ถือว่า นายC ได้หยุดงานครบ 3 ครั้ง นาย C จะไม่ได้รับสิทธิการเข้ามาทำงานในบริษัท B อีก 
 
A  ได้นำข้อความนั้น บอกกล่าว นาย C นาย C รับทราบ แต่ก็เกิดครั้งสุดท้ายขึ้น นาย C โทรมาแจ้ง A ว่าไม่สบายมาก ลุกขึ้นมาทำงานไมได้ในตอนเช้าของวันทำงานนั้นๆ และโทรมาในเวลา 6:30  A  จึงรายงานไปยัง B  แต่ B บอกผ่าน A ว่านาย C ต้องมายืนยันด้วยตัวเองว่าไม่สบาย จะมาด้วยวิธีใดก็ได้ หรือให้ A ไปหาที่พักเพื่อยืนยันว่านาย C ได้ป่วยจริง มิเช่นนั้นจะ ถือว่า ทำผิดข้อตกลง คือ ไม่แจ้งล่วงหน้า 1 วัน เนื่องจากเป็นครั้งสุดท้ายแล้วแต่นาย C ไม่ปฏิบัติตามนั้น   B จึงระงับสิิทธิการเข้ามาทำงาน โดยแจ้งผ่าน A 
 
วันรุ่งขึ้น นายC มาทำงาน เมื่อได้ทราบจึงเกิดความไม่พอใจ กล่าวหาว่าถูกกลั่นแกล้ง ข่มขู่ว่าจะไปฟ้องกรมแรงงาน ทั้งที่ตัวเองแจ้งล่วงหน้าแล้ว แต่ทำไมถึงผิด และที่ตัวเองไม่สามารถมาลาได้ เพราะไม่สบายมาก ลุกไม่ได้ ไปหาหมอมีใบรับรองแพทย์  ว่า เป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน ต้องพักต่ออีก 10 วัน  ซึ่งหาก นาย C เป็นโรคนี้จริงตามที่กล่าวอ้าง กับการทำงานที่ต้องใช้แรงงาน ในการยกของขึ้นลง หรือการควบคุมเครื่องจักร จะมีผลหรือไม่คะ 
เนื่องจากว่า นาย C เป็นพนักงานประจำ  ที่มีอายุงานเกิน 1 ปี แต่ยังไม่ถึง 2 ปี  ทำให้มี กม คุ้มครอง อยู่ในเรื่องของการจ่ายค่าชดเชย 
 
ซึ่งอยากจะสอบถามว่า ถ้านายจ้าง ของ นาย C ต้องการเลิกจ้าง จะสามารถทำได้วิธีไหนบ้างไหมคะ  จากเหตุการณ์ที่เล่ามา 
 
สำหรับตัวเกศราเอง ที่เห็นชัดเจนคือ  ในข้อของการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

ทั้งในส่วนของรายได้ที่หายไปของวันที่นาย C หยุดงาน และ ชื่อเสียงที่โดนบริษัท B ตำหนิ มา ตรงนี้เพียงพอที่จะเลิกจ้างนาย C โดยไม่ขัดต่อกฏหมายได้หรือไม่คะ? 

สำหรับ กม แรงงานเข้าใจว่า ต้องการคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ แต่หากลูกจ้างมีประวัติที่ไม่ดีในเรื่องของการมาทำงาน ทำให้นายจ้างต้องสูญเสียรายได้บ่อยครั้ง ในกรณีนี้ นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้อย่างชอบธรรมทาง กม หรือไม่ ? 

หรือว่าต้องเลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น?
 

เนื่องจาก นาย C  ไม่ยอมรับว่าตัวเองได้ทำผิด จะให้เลิกจ้าง โดยจ่ายค่าชดเชยลูกเดียว 
รบกวนขอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้วยนะคะ


ผู้ตั้งกระทู้ K :: วันที่ลงประกาศ 2016-02-21 10:10:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3949260)

1. ในกรณีของท่าน เรียกว่า บริษัท A เป็นผู้รับเหมาแรงงาน คัดเลือกคนไปทำงานในบริษัท B ทั้งรายเดือนและรายวัน แต่นายจ้างจริงๆ ของนาย C คือ บนิษัท A ในการจ่ายค่าจ้างก็จ่ายเป็นการเหมาตามจำนวนพนักงานที่มาทำงาน และบริษัท A ก็นำไปจ่ายให้ นาย C อีกครั้งหนึ่ง ในกรณีนี้ทางบริษัท A ที่เป็น subcontractor ต้องรับผิดชอบต่อการทำงานของนาย C

2. ปรกติทั่วไปนั้น การที่บริษัท B ไม่พอใจลูกจ้าง อาจเป็นเพราะความสามารถในการทำงาน การหยุดงานบ่อย มาทำงานสาย ก็ดี บริษัท B สามารถส่งตัวนาย C กลับคืนให้บริษัท A ได้เลยและขอให้บริษัท A ส่งคนใหม่มาแทน ส่วนบริษัท A จะส่งนาย C ไปทำงานที่ใดก็แล้วแต่บริษัท A ส่วนการเลิกจ้างจะจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของบริษัท A ไม่ใช่ B

3. หากท่านเป็นเจ้าหน้าที่ของ B ก็ทำเรื่องส่งคืนไป แล้วให้ B ส่งคนมาแทนเท่านั้น การที่ บริษัท A เลิกจ้างไปก็ไม่ใช่เรื่องของ B หากมีเรื่องฟ้องร้องขึ้นมา B ก็ต้องเตรียมเอกสารที่มีไปที่ศาลหรือสำนักงานตรวจแรงงาน

4. ในกรณี B ไม่ได้เป็นนายจ้างโดยตรงของ C การฟ้องก็ต้องฟ้อง A เท่านั้น อย่าไปเลิกจ้าง C โดยตรงให้ นายจ้างเขาเป็นผู้เลิกจ้างจะดีกว่าครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2016-02-23 18:14:09


ความคิดเห็นที่ 2 (3949680)
ขอบคุณมากค่ะ สำหรับคำแนะนำ ดิฉันเป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในบริษัท A ค่ะ ซึ่งในส่วนนี้ เราเข้าใจกันเป็นอย่างดีค่ะ ว่า เป็นเรื่องระหว่างบริษัท A กับ นาย C ส่วนบริษัท B ที่เป็นนายจ้าง แจ้งมาว่า ไม่ให้นาย C เข้ามาทำงานอีก แต่ก็ไม่ได้มีการแจ้งเพิ่มเติมว่า ให้ส่งคนไปทดแทน เท่ากับว่า ตัดคนของบริษัท A ไป _1 คน สำหรับการเหมาแรงงานนั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ค่ะ คือ บริษัท A มีทั้งพนักงานประจำและพนักงานรายวัน พนักงานประจำและรายวันก็จะเรียกเก็บกับบริษัท B คนละราคา เพราะพนักงานประจำจะอยู่ในระดับของหัวหน้างาน ทางบริษัท A เราไม่ต้องการเลิกจ้างนาย C ค่ะ แต่เนื่องจากว่า เราเป็นบริษัทเปิดใหม่ ไม่ถึงสองปี จำนวนพนักงานประจำและรายวันไม่ถึงสิบคน เราจึงมีลูกค้าเพียงแค่บริษัทเดียวคือ บริษัท B เพราะฉะนั้นารจะให้นาย C ไปทำงานที่อื่น ตอนนี้ยังคงทำไม่ได้ ทางนายจ้างพยายามเจรจา ไกล่เกลี่ย นาย C ไม่ฟัง บอกให้เลิกจ้าง อย่างเดียว B เท่ากับเป็นลูกค้าของ A ทำให้ B ตำหนิมายัง A พร้อมไม่ให้ A หาคนมาแทนในส่วนที่หายไป A ทั้งที่ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ครั้งสุดท้าย นายจ้างของ C ได้บอก C ว่า จะลาไม่ได้อีกแล้ว เพราะถ้าหากลาอีก จะต้องบอกล่วงหน้าหนึ่งวัน แต่ C บอกว่า ป่วยมากลุกไม่ไหว ไม่สามารถคาดเดาได้ ก่อนหน้านี้ เตือนด้วยวาจาหลายครั้งแล้ว พอครั้งสุดท้าย ทาง B ไม่ยอมให้นาย C เข้าทำงานต่อ เพราะไม่ไหวกับการลาหยุดของนาย C นาย C โต้กลับมาว่า แค่ลาป่วย มันจะรุนแรงถึงขั้นไม่ให้ทำงานเลยเหรอ มีที่ไหนทำแบบนี้บ้าง ทางเรามีความคิดเห็นว่า ถ้านาย C มีความตั้งใจำงานมาโดยตลอด แต่อาจจะมีปัญหาในช่วงหลัง เรารับได้ แต่นาย C มีการขาดงานบ่อยอยู่แล้ว ทั้งติดต่อกัน และไม่ติดต่อ แต่มีความถี่ บริษัท B จะตัดนาย C ออกนายแล้ว ทุกครั้งนายจ้างเข้้าไปพูด ทำให้ B ยอมให้ทำงานต่อ จนกระทั่งครั้งนี้ มันไม่ไหวแล้ว เนื่องจากบริษัทเราอยู่กันอย่างครอบครัว เพราะจำนวนคนไม่เยอะ มีอะไรเราช่วยเหลือกัน บางครั้งเราก็ช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจจริงๆ แต่พอถึงเวลาแบบนี้ นาย C พูดถึงแต่เรื่องเงินอย่างเดียว โดยไม่ยอมรับความผิดตนเอง พออธิบายให้ฟังก็หาว่า จะให้เค้าเป็นคนผิด ถ้าหากว่า จะให้ทางแรงงานเค้าไกล่เกลี่ยให้ โดยยังไม่ถึงขั้นฟ้องร้องได้มั้ยคะ
ผู้แสดงความคิดเห็น K วันที่ตอบ 2016-02-24 14:03:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.