ReadyPlanet.com


การจ่ายค่าจ้างของโรงงานที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม


เรียน ท่านที่ปรึกษา

บริษัทอยู่ในเขตเสี่ยงของอุทกภัย แต่โชคร้ายที่ลูกค้าหลักถูกน้ำท่วมไปเกือบหมดแล้ว และยอดสั่งซื้อเกือบจะไม่มีแล้ว จึงขอเรียนปรึกษาดังนี้

1. บริษัทจำเป็นต้องลดการผลิต และหยุดงานในบางแผนก บริษัทสามารถจ่ายค่าแรง 75% ให้พนักงานที่ไม่ต้องมาทำงานได้หรือไม่

2. หากบริษัทถูกน้ำท่วมจนพนักงานไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ ซึ่งไม่มีรายได้อย่างแน่นอน บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างให้พนักงานเต็มจำนวนเหมือนเดิมหรือไม่

ขอบคุณครับ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้บริหาร :: วันที่ลงประกาศ 2011-10-19 09:30:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3266897)

เรียน ท่านผู้บริหาร

            มีคำพิพากษาศาลฎีกาในเรื่องมาตรา 75 พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศง 2541 ที่ 5266/2548 กับ 8678/2548 เป็นแนวทางวางไว้ครับ ในกรณีืั้นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด อันเนื่องมาจาก ยอดการสั่งซื้อที่ลดลงจนแทบไม่มี เพราะลูกค้าถูกน้ำท่วมเสียหายหนัก วึ่งไม่ได้เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของนายจ้าง นายจ้างสามารถสั่งหยุดการผลิตบางแผนกโดยไม่เลือกปฏิบัติได้ แต่ควรต้องมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนติดต่อกันพอสมควร เช่นนี้ เข้าข่ายมาตรา 75 นายจ้างสามารถจ่ายค่าจ้าง 75% ได้ โดยแจ้งลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานให้ทราบไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ

            มีคำประกาศจากกรมสัวดิการและคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2554 ขอความร่วมมือในกรณีที่พนักงานไม่สามารถมาทำงานได้ด้วยเหตุน้ำท่วม ขอให้จ่ายค่าจ้างเต็ม ไม่ถือว่าเป้นวันลา ฯลฯ แต่ก็มีคำพิพากษาเก่าๆมากปี 2525 ให้จ่ายค่าจ้างให้ครับ แต่หลายท่านก็มีความเห็นว่าเป็นบาปเคราะห์ของทั้งสองฝ่าย ไม่ต้องจ่ายก้ได้ แต่หลายท่านก็บอกว่า ลูกจ้างเดือดร้อนมาก เพราะไม่มีที่อยู่ ที่กิน ที่ทำงาน ไม่มีรายได้ แล้วลูกจ้างจะอยู่อย่างไร ส่วนนายจ้างแม้ขาดทุนก็ยังดีกว่าลูกจ้าง จึงสมควรจ่าย ซึ่งยังไม่มีคำพิพากษาที่ update เรื่องนี้ครับ หากจ่ายก็จะได้ใจจากลูกจ้าง ต่อไปก็คุยกันง่ายครับ

           หากไม่จ่ายแล้ว เมื่อนายจ้างพร้อมที่จะเปิดดำเนินการ จะเรียกลูกจ้างเดิมกลับมา คงจะเป็นปัญหาพอสมควรครับ ก็ขึ้นกับท่านจะำพิจารณาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-10-19 11:12:43


ความคิดเห็นที่ 2 (3268007)

เรียนท่านที่ปรึกษา

โรงงานของบริษัทตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งเกิดเหตุน้ำท่วมและเป็นเหตุสุดวิสัย เกินการป้องกันของบริษัทและตัวนิคมอุตสาหกรรมเอง ตอนนี้น้ำท่วมทั้งด้านนอก และด้านในโรงงานทำให้ไม่สามารถปฏิบัติการใดๆได้ เครื่องจักร และวัตถุดิบต่างก็จมอยู่ในกระแสน้ำเกือบทั้งหมด

บริษัทเองก็ลำบากมากๆเลยครับ เนื่องจากว่ามีภาระหนี้สินที่ต้องชำระค่าวัตถุดิบและเครื่องจักรอยู่มาก และหากต้องรับภาระค่าแรงในขณะที่ไม่มีรายได้อีก บริษัทอาจขาดทุนหนักขึ้นไปอีก หรือดำเนินการต่อไปไม่ได้เลย

ในแง่กฏหมายแล้ว บริษัทไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานใช่หรือไม่ครับ (ตามมาตรา ป.พ.พ.219)

แต่ทั้งนี้บริษัทจะพยายามอย่างสุดความสามารถอยู่แล้วในการให้ความช่วยเหลือพนักงาน เท่าที่กำลังเราสามารถทำได้

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าอย่างสูงสำหรับคำแนะนำครับ

ผู้บริหาร

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้บริหาร วันที่ตอบ 2011-11-01 12:41:45


ความคิดเห็นที่ 3 (3268008)

เรียน ท่านผู้บริหาร

ปัญหาจากการปิดกิจการชั่วคราวเพราะเหตุสุดวิสัย เช่นน้ำท่วม ที่นายจ้างเองก็พยายามป้องกันอย่างสุดฤทธิ์แล้วแต่ก็ไม่ได้ผลเช่นนี้ เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถโทษนายจ้างได้ ต้องถือว่าการที่นายจ้างไม่อาจมอบหมายงานให้กับลูกจ้าง เป็นกรณีการชำระหนี้ตามสัญญาจ้าง ตกเป็นการพ้นวิสัย เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นภายหลังก่อหนีี้ ซึ่งนายจ้างไม่ต้องรับผิด  นายจ้างย่อมหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ มาตรา 219 เมื่อไม่มีการทำงานโดยโทษนายจ้างไม่ได้ นายจ้างไม่ต้องรับผิดครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-11-01 12:57:03


ความคิดเห็นที่ 4 (3268494)

 อย่างนี้ก็น่าสงสารลูกจ้างนะคะ  

ไม่ได้รับอะไรเลย บริษัทยังมีกำไร มีเงินเก็บอยู่บ้าง แต่ลูกจ้างนี่ซิ หาเช้ากินค่ำ กลับไม่ได้อะไรเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น สุดใจ วันที่ตอบ 2011-11-09 11:30:05


ความคิดเห็นที่ 5 (3276273)

เรียนท่านที่ปรึกษา

  โรงงานมี 4 โรงยังไม่ทำการ 3 โรงดำเนินการผลิตแล้ว 1 โรง โรงงานจ่ายค่าจ้างพนักงานที่ไม่ถูกเรียกให้ไปทำงาน 50% ได้หรือไม่ครับถ้าได้จะตอ้งจ่ายได้กี่เดือนครับ รบกวนตอบด้วยครับมีพนักงานที่เดือดร้อน 400 คนครับไปไหนก็ไม่ได้เพราะโรงงานไม่เลิกจ้างแต่จ่าย 50% ของค่าจ้างอยู่อย่างนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้าง วันที่ตอบ 2012-02-10 09:52:23



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.