ReadyPlanet.com


กลยุทธ์บีบพนักงานออก จ้างคนที่ไม่เห็นด้วยออก ผิดใหมครับ


ครับผม sirm เจ้าประจำ มี case ใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มีทุกที่ แก้ไม่ตก

กล่าวคือ นายจ้างพยายามลด ปรับต้นทุนต่างๆ ส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจพนักงาน (สมมุติว่ากลยุทธ์นั้นไม่ผิดกฏหมาย)

ฝ่ายพนักงานก็ไม่พอใจ ต่อต้านต่างๆ แสดงความไม่พอใจให้เห็นบ้าง จับกลุ่ม(เวลาพักบ้างป ปฏิเสธงานปลีกย่อย หรือต่อรองงานกับหัวหน้ามากขึ้นมาก

ทางนายจ้างก็มีความคิดที่จะ จ้างออก สำหรับคนที่ไม่เห็นด้วย (ตัวหลักๆ)

ไม่ทราบว่าผิดหรือไม่อย่างไรครับผม

-----------------------------------------------------

เพิ่มเติมหากกลยุทธ์ดังกล่าวของนายจ้างผิดต่อกฏหมาย แต่พนักงานไม่กล้าร้องเรียน เกรงว่าจะส่งผลเสียมากกว่าได้  ในลักษณะเช่นนั้นควรทำอย่างไรครับ ต้องมีคนกล้าสักคนร้องเรียน หรือ ฝ่ายบุคคลต้องออกตัวมาสู้ให้พนักงาน แต่แน่นอนฝ่ายบุคคลส่วนใหญ่ย่อมทำงานตามใบงาน หากผิดก็อธิบายนายจ้าง ๆ ยืนยันจะทำ ฝ่ายบุคคลก็ทำงานใบสั่ง ถือว่าทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว

 - พนักงานควรดำเนินการอย่างไร

- ฝ่ายบุคคลควรมีบทบาทอย่างไร

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ sirm :: วันที่ลงประกาศ 2011-08-27 14:34:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3254374)

สาเหตุที่พนักงานออกมาจับกลุ่มแสดงความไม่พอใจต่างๆนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รู้และไม่เข้าใจ นายจ้างส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการ communication กับทางด้านลูกจ้าง แม้ว่า นายจ้างจะอธิบายให้ผู้จัดการฟัง แต่เราทราบได้อย่างไรว่า สารนั้นถึงลูกจ้าง 100% เมื่อลุกจ้างไม่เข้าใจย่อมเกิดความรู้สึกต่อต้าน หากไม่ต้องการให้เกิดความรู้สึกในทางไม่ดี ทำไมไม่เรียกพนักงาน หรือจัดประชุมพนักงานทั้งหมดแล้วอธิบายให้พนักงานฟังถึงความจำเป็น ของการที่ต้องลดต้นทุน เพื่อความอยู่รอดของบริษัท และของพนักงานทุกคน ขอความร่วมมือ ขอความเห็น บางทีอาจได้ solution ที่ดีกว่าที่ นายจ้างคิดไว้ก้ได้

การที่ลูกจ้างมีอคติต่อนายจ้าง เพราะความไม่รู้และคิดเข้าตัวเองว่า การกระทำของนายจ้างนั้นต้องการเพียงรักษากำไรเอาไว้ ให้พนักงานทำงานหนักเพื่อนายจ้างเอง หากคุยกัน ให้เกียรติกัน ผมว่า สามารถทำให้เรื่องที่แย่ๆอยู่คลายตัวขึ้นมาได้

การเลิกจ้าง หรือจ้างออกไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดี รากยังฝังอยู่ในดิน ความคิดถูกกดไว้ รอวันระเบิดออกมา ควรต้องหาทางปลดชะนวนระเบิดนั้นโดย สร้างความเข้าใจ และหาทางทำงานร่วมกันน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

สำหรับฝ่ายบุคคลเอง ควรต้องนำเสนอในเรื่องที่ดีพร้อมทั้งสองฝ่าย ให้นายจ้างและลูกจ้างไม่เสียเปรียบและได้เปรียบกัน วิเคราะห์ปัญหา จัดทำทางเลือก และเสนอแนะวิธีที่ดีที่สุด ให้นายจ้างพิจารณาตัดสิน บอกผลได้ผลเสียที่เกิดขึ้น และให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ฝ่ายบุคคลมีหน้าที่หลักอยู่ 3  ประการ คือ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษากับทั้ง ผู้บริหารและพนักงงาน ฝ่ายบุคคลเอง ไม่สามารถนั่งอยู่บาโต๊ะ โดยไม่เลือกฝ่ายไม่ได้ ฝ่ายบุคคลปกติอยู่ข้างนายจ้าง แต่ต้องรู้จักวิธีที่ทำให้นายจ้างและลูกจ้าง สามารถทำงานด้วยกันได้ ด้วยความพอใจสูงสุด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-08-29 10:42:35


ความคิดเห็นที่ 2 (3254375)

หวังว่าคงเข้าใจในข้อเสนอแนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-08-29 10:44:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.