ReadyPlanet.com


ตรวจร่างกายประจำปี


เรียนปรึกษาเรื่องบ.จัดให้มีสวัสดิการตรวจร่างกายประจำค่ะ บริษัทกำหนดหัวข้อให้ตรวจว่าจะต้องตรวจอะไรบ้าง โดยบ.เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่เมื่อผลตรวจออกมา ปรากฏว่าพนักงานท่านนึงปฏิเสธที่จะตรวจอุจจาระ โดยให้ข้ออ้างว่าวันนั้นไม่ปวดห้องน้ำเลยปฏิเสธที่จะตรวจกับทางรพ.ไปโดยไม่แจ้งกับบ.เลย จนกระทั่งผลตรวจออก จึงจะรู้ว่าพนักงานปฏิเสธการตรวจไปโดยพละการ เช่นนี้แล้ว จะเอาผิดกับพนักงานท่านนั้นยังไงได้บ้างค่ะ จะหักเงินค่าตรวจนั้นจากเงินเดือนพนักงานโดยให้พนักงานเซนต์ยินยอมได้หรือไม่ค่ะ และจะให้ใบเตือนฐานขัดคำสั่งบริษัทได้หรือไม่ค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เกด :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-04 17:14:55


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3244256)

1. ควรมีการสอบสวนดูก่อน และให้ลงนามรับทราบในวันสอบสวน ถึงสาเหตุของการไม่ตรวจนั้น ซึ่งในเบื้องต้นก็บอกว่าไม่ปวด ซึ่งคุณจะบังคับให้เบ่งออกมาคงจะลำบาก

2. การตรวจอุจจาระนั้น ตรวจเพื่อต้องการทราบอะไรครับ หากผลของการตรวจจะมีผลกระทบอันสำคัญกับการทำงาน การดำเนินงานของบริษัท หรือ ทำให้ผลผลิตของบริษัท เสียหาย หากพนักงานไม่ตรวจโดยไม่มีเหตุผลคุรก็สามารถลงโทษทางวินัยได้ แต่หากเป็นการตรวจหาพยาธิ หรือ อื่นๆ ที่มีผลกับตัวเองเท่านั้น ก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง

3. คุณสามารถทำได้โดยการส่งพนักงานไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้ง แต่ไม่น่าถึงกับต้องลงโทษทางวินับย ตัดค่าจ้าง 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-05-06 08:15:25


ความคิดเห็นที่ 2 (3244296)

เรื่องตัดสินใจเองโดยพละการโดยไม่แจ้งหัวหน้างานนี่จะถือเป็นความผิดได้มั้ยค่ะ แล้วที่จะหักเงินค่าจ้าง หมายถึงหักเท่ากับจำนวนที่บ.จ่ายค่าตรวจในด้านอุจาระเท่านั้นน่ะค่ะ อยากจะทำโทษกับพนักงานท่านนี้ที่ชอบตัดสินใจตามลำพังอยู่บ่อย ๆ มากกว่าน่ะค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เกด วันที่ตอบ 2011-05-06 15:33:35


ความคิดเห็นที่ 3 (3244348)

หากการตรวจร่างกายนั้น เป็นไปเพื่อการป้องกันผลผลิต ป้องกันพนักงานอื่นจากการติดเชื้อ เพื่อประโยชน์ของนายจ้างและเพื่อนร่วมงานเช่นนี้ สามารถลงโทษทางวินัยได้

ในกรณีของคุณการออกหนังสือเตือนเรื่อง ฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างน่าจะทำได้ แต่ตัดเงินคงไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับคำยินยอมของลูกจ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-05-07 07:39:15


ความคิดเห็นที่ 4 (3244479)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ ส่วนเรื่องการหักค่าใช้จ่ายที่บ.เสียไปนั้น เรียนชี้แจ้งว่า ก่อนให้พนักงานเข้ารับการตรวจสุขภาพ ได้มีการทำหนังสือให้พนักงานแต่ละคนเซนต์รับรองแล้วว่าจะต้องตรวจสุขภาพในหัวข้ออะไรบ้างค่ะ และพนักงานก็ได้เซนต์ยินยอมแล้วว่าจะตรวจ เช่นนี้แล้วถ้าพนักงานไม่ยอมตรวจในหัวข้อที่กำหนด ซึ่งบ.ได้ชำระเงินกับทางรพ.ไปแล้ว จะนำมาเป็นหลักฐานในการหักเงินกับพนักงานได้หรือไม่ค่ะ ด้วยเหตุว่าถ้าพนักงานไม่เซนต์ยินยอมที่จะตรวจตั้งแต่คราวแรก บ.จะได้ไม่ต้องเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ค่ะ หรือท่านที่ปรึกษาเห็นว่าเป็นสวัสดิการที่พนักงานทุกคนต้องได้รับอยู่แล้ว บ.ไม่สามารถเรียกร้องอะไรจากพนักงานได้หรือไม่ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เกด วันที่ตอบ 2011-05-09 10:31:35


ความคิดเห็นที่ 5 (3244519)

การหักเงินค่าจ้าง ฯลฯ ตามมาตรา 76 นั้น หากจะหักได้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน แต่สิ่งที่ไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของกฎหมายเช่น ค่าเบี้ยขยัน ฯลฯ ก็สามารถหักได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง  

หากในสัญญาของคุณระบุว่า หากไม่ตรวจตามนี้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ยินยอมให้หักค่าจ้าง เพื่อชดเชยกับค่าใช้จ่ายเป็นรายการๆไปเช่นนี้ ทำได้ ถือว่าพนักงานให้ความยินยอมไว้แล้ว

การหักเงิน กับการลงโทษทางวินัย ผมว่าการลงโทษทางวินัย ร้ายแรงกว่า หากเตือนเป้นหนังสือแล้ว ครั้งต่อไปยังฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอีก ก็ลงโทษถึงเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ตามมาตรา 119 (4) แต่หากคุรหักเงินเป็นการชดเชยค่าใช้จ่าย ถือได้ว่า นายจ้างไม่ได้รับความเสียหาย คุณก้ไม่สามารถลงโทษทางวินัยได้

บางครั้งเราคิดจะ recover ค่าใช้จ่าย แต่มองระยะยาวคุณก็ต้องจ้างพนักงานผู้นั้นต่อไป และความเสียหายก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีก หากเอามาลงโทษทางวินัยหลังจากตัดเงินไปแล้ว ก็จะกลายเป็นการลงโทษซ้ำซ้อน การลงโทษทางวินัยครั้งหลังอาจถือว่าเป้นโมฆะได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-05-09 16:03:22


ความคิดเห็นที่ 6 (3244545)

ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เกด วันที่ตอบ 2011-05-09 16:57:03


ความคิดเห็นที่ 7 (3244625)

ขออ้างอิง ความเห็นท่าที่ปรึกษานะครับ

การหักเงินค่าจ้าง ฯลฯ ตามมาตรา 76 นั้น หากจะหักได้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน แต่สิ่งที่ไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของกฎหมายเช่น ค่าเบี้ยขยัน ฯลฯ ก็สามารถหักได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง  

หากในสัญญาของคุณระบุว่า หากไม่ตรวจตามนี้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ยินยอมให้หักค่าจ้าง เพื่อชดเชยกับค่าใช้จ่ายเป็นรายการๆไปเช่นนี้ ทำได้ ถือว่าพนักงานให้ความยินยอมไว้แล้ว

การหักเงิน กับการลงโทษทางวินัย ผมว่าการลงโทษทางวินัย ร้ายแรงกว่า หากเตือนเป้นหนังสือแล้ว ครั้งต่อไปยังฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอีก ก็ลงโทษถึงเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ตามมาตรา 119 (4) แต่หากคุรหักเงินเป็นการชดเชยค่าใช้จ่าย ถือได้ว่า นายจ้างไม่ได้รับความเสียหาย คุณก้ไม่สามารถลงโทษทางวินัยได้

บางครั้งเราคิดจะ recover ค่าใช้จ่าย แต่มองระยะยาวคุณก็ต้องจ้างพนักงานผู้นั้นต่อไป และความเสียหายก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีก หากเอามาลงโทษทางวินัยหลังจากตัดเงินไปแล้ว ก็จะกลายเป็นการลงโทษซ้ำซ้อน การลงโทษทางวินัยครั้งหลังอาจถือว่าเป้นโมฆะได้ครับ

 ขอเพิ่มเติมความเห็นนะครับ

เวลาดิวกับฝ่ายขายโรงพยาบาลกับทำไมเราไม่ดิวเป็นหัวเป็นเครสละครับ  และให้สรุปยอดตรวจจริง สำหรับจ่ายจริงได้ภายหลังนี่ครับ บริษัทฯผมก็ทำแบบนี้ (ความเห็นเรื่องค่าใช้จ่ายนะครับ) แต่เรื่องขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชานี่ก็ลองพิจารณาดูแล้วกัน เพราะปวดท้องอึนี่บังคับกันยากนะครับ เราแก้โดยไปตรวจภายหลังได้หรือไม่ ลองพิจารณาดู  ใช้หัวใจพิจารณาดู ว่าหัวใจสวยขนาดใหน เพราะการทำงานไม่ใช่การทำสงครามต้องให้ตายไปข้างหนึ่ง และสุดท้ายเขาก็ยังทำงานให้กับเราอยู่ดี

ผู้แสดงความคิดเห็น วุฒิ วันที่ตอบ 2011-05-10 14:05:26


ความคิดเห็นที่ 8 (3952864)

 บริการตรวจสุขภาพประจำปีแบบเคลื่อนที่ และเช่าเครื่องแพทย์ เครื่องตรวจการได้ยิน,เครื่องตรวจสมรรถปอด และบริการอื่นๆ

โปรแกรมตรวจสุขภาพมาตรฐานและเพิ่มเติมตามปัจจัยเสี่ยง และเป็นการดูแลสุขภาพเชิงรุก ในการส่งและป้องกันโรคให้แก่พนักงานและบุคลากรภายในบริษัท

โรงพยาบาลจุฬาเวช  เทพารักษ์  สมุทรปราการ                                                                           

ผลตรวจแม่นยำ สรุปผลละเอียด ให้คำปรึกษาหลังจากตรวจสุขภาพ

มีที่ตั้งแน่นอน เป็นสถานพยาบาล 25 เตียง สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

แผนกการตลาด 086-324-7608,02-758-2099,02-758-2501-4 หรือ

E-mail ; marketing@chulavej.com  http://www.chulavej.com

ผู้แสดงความคิดเห็น โรงพยาบาลจุฬาเวช (marketing-at-chulavej-dot-com)วันที่ตอบ 2016-02-29 15:55:52


ความคิดเห็นที่ 9 (3954713)

 เรียน  ผู้จัดการฝ่ายบุคคล/เจ้าหน้าที่ จป. ท่านที่เกี่ยวข้อง

 

โรงพยาบาลสายหยุด ร่วมกับ ศูนย์บริการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ กรุงเทพควอลิเมด แล็บบอราทอรี่  ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล เลขที่ 10107000852 ก่อตั้ง : ปี 2541 ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2008 ทั้งระบบ เป็นหน่วยงานที่รวบรวมบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ ที่มีประสบการณ์มากว่า 17 ปี มีความมุ่งมั่นในการให้บริการทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และบริการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ ตามมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ และให้ความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพเพื่อให้  ผู้บริหารและพนักงานมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยโรงพยาบาลมีทีมงานไปให้บริการถึงหน่วยงานของท่าน จำนวนผู้เข้าตรวจตั้งแต่ 30 ท่านขึ้นไป รับงานได้มากถึง 10000 คน ทั้งนี้ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าตรวจในแต่ละครั้ง

หากหน่วยงานของท่านมีโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีอยู่แล้ว สามารถแจ้งรายการตรวจ จำนวนผู้เข้าตรวจเบื้องต้น และส่งเมลล์กลับมา ทางเราจะได้จัดทำใบเสนอราคาให้พิจารณา  
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสให้บริการตรวจสุขภาพผู้บริหารและพนักงานในหน่วยงานของท่าน

ขอแสดงความนับถือ
บัญชา  บุญใหญ่ 
โทร. 089-676-4311 / 084-097-0790 หรือ 02-956-8074 (อัตโนมัติ)
E-mail: bangkokqualimed@hotmail.com
ผู้แสดงความคิดเห็น ฺBancha (todtikub-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-03-02 14:31:58


ความคิดเห็นที่ 10 (4094181)

 เรื่องหักเงิน พนักงาน แม้พนักงานจะยินยอมก็ทำไม่ได้ เพราะกำหนดให้ตรวจสุขภาพ นายจ้างต้องเป็นผู้จัดให้มีการตรวจ(ประการที่สำคัญ หนังสือยินยอมให้หัก ถึงแม้ลูกต้างจะยินยอมก็ขัดต่อกฎหมาย ที่บังคับมิให้หักเงิน ค่าจ้าง ตาม ม. 9 พรบ.คุ้มครองแรงงาน เพระถือว่านายจ้างอยู่ในสภาพภาวะที่บังคับ ที่มีเหนือลูกจ้าง)

ผู้แสดงความคิดเห็น นามสมุติ วันที่ตอบ 2016-11-18 09:20:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.