ReadyPlanet.com


การแจ้งป่วย


ถ้าบ.ระบุให้พนักงานที่ต้องการลาป่วย ให้แจ้งลาป่วยกับผู้บังคับบัญชาก่อนเวลาเข้างาน (8.30 น.) ไม่เช่นนั้นจะถือว่าลาพักร้อน หรือลาโดยบ.หักเงินได้หรือไม่ค่ะ เนื่องจากผู้บังคับบัญชารอพนักงานขับรถมารับในตอนเช้า แต่ปรากฏว่าพนง.ขับรถโทรแจ้งขอลาป่วยในเวลากระทันหัน ทำให้ผู้บังคับบัญชามาเข้าประชุมสาย จึงอยากใช้บังคับกฏที่ว่าหากพนง.ลาป่วย ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนเวลาเข้างานครึ่งชม. ไม่เช่นนั้นจะถือว่าลาพักร้อน หรือลาโดยบ.หักเงินกับพนง.ทุกคนได้หรือไม่ค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ น้อย :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-15 10:53:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3255988)

คงลำบาก เพราะการป่วยไม่สามารถคาดเดาได้ว่าป่วยเมื่อไร หรือย่างไร หากตั้งระเบียบแล้วพนักงานมีเหตุเพียงพอที่ไม่สามารถแจ้งได้ จะถือว่าเป็นความผิดพนักงานคงไม่ได้ การที่พนักงานป่วยก็ต้องให้ลาป่วยครับ แต่หากะนักงานผิดวินัยเรื่องการแจ้งการลาป่วย ก็สามารถลงโทษได้ แต่ต้องเป็นธรรมนะครับ

ป่วยถือเป็นพักร้อนไม่ได้ ป่วยคือป่วย แต่หากะนักงานป่วย แต่หากลาป่วยแล้วเสียสิทธิ เช่นเบี้ยขยัน พนักงานอาจใช้พักร้อนแทนได้ ถ้าผู้บังคับบัญชาอยุญาต

ลงโทษทางวินัยดีกว่าตัดค่าจ้างครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-09-15 12:34:29


ความคิดเห็นที่ 2 (3256070)

ขอบคุณนะค่ะ ทีนี้ขอถามต่อนิดนึงค่ะว่า ถ้าจะทำเป็นหนังสือเวียนขอความร่วมมือให้แจ้งก่อนเวลาเข้างาน จะได้หรือไม่ค่ะ เพราะถ้าเอาผิดทางวินัย น่าจะเป็นเรื่องการแจ้งป่วยเป็นเท็จ ซึ่งจับผิดยากมากเลยค่ะ ที่ปรึกษามีข้อคิดเห็นในเรื่องของการเอาผิดทางวินัยว่าอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนแนะนำด้วยค่ะ

คือก็เห็นใจทั้งพนง.ที่อาจจะไม่สามารถลุกขึ้นมาโทรแจ้งกับผู้บังคับบัญชาได้ แต่ในอีกด้านนึง ก็เข้าใจว่าผู้บังคับบัญชาเขารอคนขับรถอยู่อย่างกระวนกระวายใจเพราะกลัวจะไปประชุมไม่ทัน แล้วแถมยังติดต่อคนขับรถไม่ได้อีกเพราะไม่รับสาย นี่ผู้บังคับบัญชาถึงขนาดจะให้ไล่ออกเพราะพนักงานขับรถไม่ยอมรับสายด้วยนะค่ะ กลุ้มใจค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น น้อย วันที่ตอบ 2011-09-16 10:10:30


ความคิดเห็นที่ 3 (3256091)

ส่วนใหญ่นะครับ ระเบียบเกี่ยวกับการลาจะให้พนักงานแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบในทันทีที่ทำได้ น่าจะ flexible มากกว่า และมาสอบสวนทวนความกันทีหลัง เพราะหากระบุไปว่าไม่เกิน 08.30 ก็ยังอาจมีข้อโต้แย้งได้ และนายจ้างเองก้ไม่มีข้อพิสูจน์อย่างแน่ชัด

การสอบสวนหาข้อเท็จจริงออกมา จะสามารถสรุปได้ครับ ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ หากไม่สมเหตุสมผล ก็อาจลงโทษทางวินัยได้

ทางออกคือ ทะหนังสือให้พนักงานขับรถลงนามรับทราบ ว่า หากวันนั้นไม่สามารถมาปฎิบัติงานได้ ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบทันที เพื่อจะได้จัดรถคันอื่นหรือคนอื่นไปแทน และต้องสามารถติดต่อได้ตลอดเวลาด้วย ถือเป็นวินัยในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานขับรถ

การไล่ออกก็ทำได้แต่ต้องถามผู้บังคับบัญชาว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยด้วยนะ เพราะหากไม่ได้เป็นความผิดร้ายแรง หากเขามีข้อพิสูจน์ว่าป่วยด้วยแล้ว เป้นอันแพ้แน่นอน

ทำหลังสือแจ้งให้ทราบอีกครั้ง เมื่อทำเช่นนี้อีกก็ลงโทษทางวินัยง่ายกว่าครับ

ผมมีคนขับรถเหมือนกัน หากวันใหนมีประชุมด่วนตอนเช้า ขนขับรถไม่แสดงตัว ผมก็ขับไปเอง หรือเรียกแท็กซี่ไป แล้วค่อยมาว่ากันอีกทีหนึ่ง การโกรธคนขับรถไม่มีประโยชน์อะไร แต่ลงโทษทางวินัยได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-09-16 13:19:49


ความคิดเห็นที่ 4 (3256298)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำดี ๆ หากกำหนดว่า "ต้องสามารถติดต่อได้ตลอดเวลา" บ.ต้องจัดหามือถือ หรือออกค่าโทรศัพท์ให้คนขับรถด้วยหรือไม่ค่ะ 

จากการสอบถามคนขับรถ ๆ แจ้งว่า เขารู้สึกเป็นไข้เลยกินยาตั้งแต่เมื่อคืน จึงทำให้รู้สึกตัวอีกทีก็สายกว่าเวลาทำงาน แต่พอเจ้าหน้าที่บ.โทรไปเพื่อสอบถามอาการ และความพร้อมในการทำงานในวันต่อไปว่าจะมาทำงานได้หรือไม่ คนขับรถก็ไม่ยอมรับสาย โดยคนขับรถชี้แจงว่าไม่ได้รับสายใครเลย เพราะนอนทั้งวัน เลยไม่ได้โทรกลับด้วย จึงทำให้บ.ต้องจัดคนขับรถไปอีกคนหนึ่งเพื่อไปรับเจ้านายเผื่อพนง.คนนั้นจะขอลาป่วยต่อเนื่อง ถ้าบ.จะเอาผิดทางวินัยกับพนง.คนนั้นว่าติดต่อไม่ได้ หรือ ไม่ยอมโทรกลับได้หรือไม่ค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้อย วันที่ตอบ 2011-09-19 09:10:41


ความคิดเห็นที่ 5 (3256398)

หากคุณจัดหาโทรศัพท์ให้ก้เป็นเรื่องที่ดี และให้พนักงานต้องเปิดโทรศัพท์ตลอดเวลา และให้ลงนามรับทราบถึงการใช้โทรศัพท์ที่ต้องให้มีการติดต่อได้ หากไม่สามารถติดต่อได้ ก็จะพิจารณาโทษทางวินัยได้ครับ ไม่มีข้ออ้างอย่างอื่นอีก และให้พนักงานขับรถลงนามในระเบียบปฏิบัติของพนักงานขับรถ โดยระบุเรื่องที่ต้องปฏิบัติแล้วให้ลงนามรับทราบไว้ หากฝ่าฝืนก็สามารถลงโทษทางวินัยได้ทันทีครับ เตือนเป็นหนังสือ อีกครั้งก็เลิกจ้างได้ครับ

  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-09-20 07:11:50


ความคิดเห็นที่ 6 (3256415)

จำเป็นหรือไม่ค่ะว่าต้องออกจม.เตือนสองครั้งก่อน ครั้งที่สามค่อยเลิกจ้างได้น่ะค่ะ กฏบ.ระบุแค่ เตือนทางวาจา ,ออกจม.เตือน และ เลิกจ้าง เท่านั้น ไม่ได้ระบุจำนวนครั้งไว้ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น น้อย วันที่ตอบ 2011-09-20 10:23:23


ความคิดเห็นที่ 7 (3256441)

พรบ คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 (4 ) ไม่ได้ระบุว่าต้องเตืนสองครั้งก่อน เพียงแต่บอกว่า ผิดซ้ำคำเตือนก็ถือว่าเป้นเรื่องร้ายแรง สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ก็แล้วแต่นายจ้างจะพิจารณาครับ หากครั้งแรกออกหนังสือเตือน ครั้งต่อไปก็สามารถลงโทษโดยการเลิกจ้างได้ แต่หนังสือเตือนนั้นต้องเข้าด้วยคุณลักษณะที่ถูกต้องของหนงสือเตือนครับ

และหนังสือเตือนมีอายุเพียง 1 ปี นับแต่วะนที่ทำผิดนะครับ ไม่ใช่ ณ วันที่ออกหนังสือเตือน

หากระเบียบเขียนไว้ก็สามารถทำได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-09-20 14:07:06


ความคิดเห็นที่ 8 (3304935)

ขอสอบถามเป็นความรู้ค่ะ มีพนักงานขับรถ 2คนต่อ1คัน วิ่งกะกลางวันและกะกลางคืน ในกรณีคนหนึ่งหยุด เราต้องให้อีกคนควงกะ ในกรณีที่เขาป่วยเราสามารถหักเงินเขาได้มั้ยค่ะเพื่อที่จะจ่ายให้คนควงกะแทนเขา เพราะเราจ้างแบบเหมาเดือน เฉลี่ยวันหนึ่งก็ 500 บาท ผิดกฎหมายแรงงานข้อไหนค่ะ เพราะพนักงานบอกจะฟ้องกรมแรงงาน ไม่เข้าใจค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น บริษัทรถขนส่ง วันที่ตอบ 2012-12-23 20:33:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.