ReadyPlanet.com


นายจ้างทำการร่างสัญญาขึ้นใหม่


เนื่องจากลูกจ้างทำงานในบ.แฟ่งหนึ่งมาเป็นเวลานาย แล้วอยู่ๆนายจ้างก็จัดทำสัญญาขึ้นใหม่ โดยมีเนื้อหาว่า

1.ลูกจ้างลาออกต้องแจ้งล่วงหน้า30วัน แต่ถ้านายจ้างงไม่ไล่ออกไม่ต้องแจ้ง (ไม่มีข้อกำหนดด้านท้ายเกี่ยวกับความผิดที่จะโดนไล่ออก) ไม่ควรเซ็นสัญญาใช่ไหมคะ

2.ลูงจ้างที่ออกจากบ.นี้ห้ามไปบ.อื่นที่มีเนื้องานเหมือนที่เดิมหรืออาชีพเดิม (แล้วยังงี้จะทำมาหากินอะไร งงมาก)

3 ใน1 เดือนห้ามลาเกิน2วัน ไม่งั้นจะโดนพิจารณา(ไม่บอกว่าพิจารณาอะไร) หรือโดนหักเงินเดือน

คือสัญญาใหม่กำลังจะมาให้เซ็ยจึงอยากปรึกษาว่า อยากจะเปลี่ยนหรือให้ระบุลงไปให้ชัดเจนกว่านี้จะทำไงดีคะ (เป็นบ.ฝรั่งค่ะ)



ผู้ตั้งกระทู้ เดือดร้อนกันทั่วหน้า :: วันที่ลงประกาศ 2011-03-28 13:34:46


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3241275)

หากไม่เห็นด้วยและไม่เป็นธรรม ทำให้คุณเสียผลประโยชน์ ก็ไม่จำเป็นต้องลงนามครับในสัญญาใหม่ และรอดูว่านายจ้างจะทำอะไรต่อไป

1. ลาออกปกติตามกฎหมายการบอกเลิกสัญญาจ้าง ก็ต้องบอกล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้างหรือ 30 วัน เป็นเรื่องปกติ และการเลิกจ้างเนื่องจากการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในสถานร้ายแรง  ก็ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายอยู่แล้ว

2. การห้ามไม่ให้ไปทำงานประเภทเดียวกันนั้น ต้องมีกำหนดระยะเวลา ที่ผ่านมาศาลให้ไม่เกิน 2 ปี หรือดูจากตำแหน่งหน้าที่การงานด้วย หากไม่มีผลกระทบต่อนายจ้างเก่าเลย ก็อาจจะยกข้อนี้ออกไป

3. เป็นข้อกำหนดของนายจ้าง นายจ้างสามารถทำได้ แต่ควรแยกแยะให้ชัดเจนว่า จะพิจารณาอะไร ขึ้นเงินเดือนหรือลงโทษทางวินัย

เมื่อได้ความชัดเจน คุณยอมรับได้ก็ลงนามไปครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-03-28 16:34:23


ความคิดเห็นที่ 2 (3241276)

ขอบคุณค่า 

ผู้แสดงความคิดเห็น สงสัย วันที่ตอบ 2011-03-28 17:06:34


ความคิดเห็นที่ 3 (3241277)

อยากถามเพื่อข้อ 1  อะค่ะ คือถ้าเราไม่ได้ทำผิดร้ายแรง หรือผิดต่อข้อบังคับเลย แล้วโดนไล่ออก นายจ้างต้องมีค่าชดเชยให้ไหมคะ แล้วถ้ามีกี่เดือน พิจารณาจากอะไร

2 ในกรณีที่ไม่มีผล เช่น เปลี่ยนออฟฟิต แต่มีสายงานเดียวกันเช่น นักออกแบบ ตรงนี้คิดว่านายจ้างไม่อยากให้ไปทำงานให้กับคู่แข่งนะคะ (ซึ่งไม่ทำอาชีพนี้คงไม่ได้อีก) เราควรระบุในสัญญาว่ายังไงดีคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สงสัย วันที่ตอบ 2011-03-28 17:12:34


ความคิดเห็นที่ 4 (3241329)

1. แม้ความผิดไม่ร้ายแรง แต่หากนายจ้างได้ตักเตือนเป้นหนังสือแล้ว ภายใน 1 ปีหากทำผิดเช่นเดียวกันนั้นขึ้นอีก ความผิดที่ไม่ร้ายแรงก็กลายเป็นร้ายแรงได้ นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ตามมาตรา 119 (4) พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 แต่หากไม่เข้าข่ายนี้เป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างก็จะได้ค่าชดเชย ตามกฎหมาย ค่าชดเชยได้มากน้อยขึ้นกับอายุงานของพนักงานผู้นั้น หากไม่ถึง 120 วัน ไม่ได้ค่าชดเชย 120 - 1 ปี ได้ 30 วัน 1 -3 ปี ได้ 90 วัน 3-6 ปี ได้ 180 วัน 6-10 ปี ได้ 240 วัน 10 ปีขึ้นไปได้ 300 วัน

2. อาจระบุว่า ภายใน 2 ปี หลังจากพ้นสภาพของพนักงาน ห้ามไม่ให้ไปปฏิบัติงาน หรือดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกับนายจ้าง อะไรทำนองนี้ ซึ่งหากเป็นวิชาชีพเฉพาะ ก้อาจร้องศาลว่าขอให้สัญญาเป็นโมฆะได้ หากไม่ให้ทำงานในอาชีพนั้นแล้ว เขาจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร เช่นเป็นสถาปนิก จะให้ไปขายอาหารคงทำไม่ได้  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-03-29 07:52:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.