ReadyPlanet.com


ลูกจ้างร้องแรงงานเขตบริษัทเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย


ประเด็นคือลูกจ้างกระทำผิดโดยการทำงานโดยประมาทเลินเล่อทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย ( มีหลักฐานพิสูจน์ได้จากผลการเช็คสต๊อกซึ่งลูกจ้างเป็นผู้ควบคุมอยู่คนเดียว ) มูลค่าประมาณ 8 หมื่นบาท   โดยทำข้อตกลงยินยอมให้หักค่าจ้างและเงินอื่นๆ โดยลูกจ้างขอผ่อนชดใช้ค่าเสียหายเป็นงวดๆ จนถึง ปี 2554 หลังจากนั้นเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกเช่น ขายของผิดราคา และประกอบกับทางห้างฯ ไม่ต้องการลูกจ้างคนนี้แล้วรวมๆ คือละทิ้งหน้าที่ ไม่อยู่ประจำจุดขายบ่อยๆ  ประกอบด้วยหลายๆ ประการ เรียกลูกจ้างเข้ามาคุยและยอมรับ และขอให้บริษัทลดหย่อนค่าเสียหายให้  สรุปคือ หัวหน้างานได้มีการพูดคุยและให้โอกาสโดย

1.ให้พนักงานทำบันทึกยินยอมให้หักค่าจ้าง และเงินอิ่นใดที่ได้รับเป็นงวดๆ คืนบริษัทฯ

2.พนักงานเขียนใบลาออกไว้เพื่อแสดงว่าหากทำพลาดอีกคงไม่ต้องพูดกันอีกโดยเขียนไว้ในวันที่ทำข้อตกลงชดใช้ค่าเสียนี้

3.หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์ ทำการขายของผิดราคาอีก  ทางหัวหน้างานสั่งพักงานเพื่อทำการเช็คสต๊อก และให้พนักงานพ้นสภาพตั้งแต่วันที่ 1 /9/53 เป้นต้นไป โดยยึดใบลาออกที่ลูกจ้างเขียนเอาไว้

ประเด็นคือ พนักงานๆปฟ้องแรงงานว่าถูกบริษัทหักค่าจ้าง และถูกเลิกจ้าง ?  

 ซึ่งบริษัทก็ได้ทำการเรียกลูกจ้างเข้ามาคุยหาข้อยุติแล้วโดยการทำข้อตกลงเพื่อจ่ายค่าจ้างงวดสุดท้ายของลูกจ้างพร้อมทั้งไม่ติดใจและยกประโยชน์ค่าเสียหายให้ เพื่อที่จะได้จบๆ กันไป แต่พนักงานไม่ยอมและอ้างว่ารอถามที่ปรึกษาก่อน ยังไงก็ไม่ยอมทั้งๆ ที่มีผิดพลาดจริงๆ

ขอรบกวนสอบถามว่ากรณีนี้บริษัทฯ พอจะมีทางออกอย่างไรได้บ้าง?  

ขอแนะนำแนวทาขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ Mon :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-14 10:58:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3211766)

เรื่องธรรมดาที่ลูกจ้างต้องมีที่ปรึกษา และส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมรับที่ตนเองทำความผิดขึ้นมา ก็คงต้องว่ากันไปที่ศาลเพราะ ฟ้องศาลแรงงานไปแล้ว น่าจะต้องหาทนายมาช่วยเหลือในเรื่องนี้

1. หากมีบันทึกการยินยอมให้หักค่าจ้าง เพื่อชดใช้ค่าเสียหาย จากลูกจ้าง ก็ถือว่า นายจ้างสามารถหักค่าจ้างได้ตามกฎหมาย มาตรา 76 พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 นายจ้างได้เปรียบ

2. หนังสือลาออกนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย เพราะในขณะเขียนใบลาออก ลูกจ้างยังไม่มีเจตนาลาออก หากนายจ้างเอาใบลาออกมาใช้ และไม่ให้ลูกจ้างทำงานอีก ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง

3. คุยกับลูกจ้าง หากไม่ถอนฟ้องและยุติเรื่องราวต่างๆ นายจ้างคงต้องดำเนินการตามกฎหมาย ฟ้องแพ่งเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-09-14 12:10:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.