ReadyPlanet.com


เกษียณอายุ


เรียน ที่ปรึกษา

1. ตามข้อบังคับในการทำงานเดิมได้กำหนดอายุในการเกษียณของพนักงานเอาไว้ ชายและหญิงไม่เท่ากัน แต่ต้องการปรับปรุงข้อบังคับในการทำงานใหม่ ให้เท่ากัน  จะมีเกณฑ์ในการวิธีพิจารณากำหนดอย่างไร และเมื่อกำหนดได้แล้วมีการส่งเรื่องให้กับเจ้าหน้าที่สวัสดิการคุ้มครองแรงงานพิจารณาแล้ว มีผลบังคับใช้กับพนักงานที่ทางบริษัทรับเข้าทำงานใหม่ หรือมีผลกับพนักงานเดิมทั้งหมด และถ้ามีผลกับพนักงานเดิมทั้งหมดจะต้องปฏิบัติอย่างไร 

2. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องระบุการเกษียณของพนักงาน

ขอบคุณคะ



ผู้ตั้งกระทู้ เมย์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-03 22:30:52


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3231443)

เรียน คุณเมย์

1. ตามพรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา 15 ให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน ยกเว้นลักษณะงานหรือสภาพของงานไม่อาจปฎิบัติเช่นนั้นได้ ดังนั้น การกำหนดอายุเกษียนที่ต่างกันในงานที่เหมือนกัน ระเบียบนั้นถือว่าเป็นโมฆะ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011-6017/2545 ซึ่งต้องคำนึงถึง พรบ แรงงานสัมพันธ์ 2518 มาตรา 20 ด้วยประกอบกัน ดังนั้นการพิจารณากำหนดอายุเกษียณ นายจ้างสามารถกำหนดใหม่ได้โดยต้องเป็นคุณกับพนักงานมากกว่า นายจ้างจึงสามารถทำประกาศออกไปได้ เลยว่าเกษียนอายุพนักงานหญิง จาก 50 เป็น 55 เท่ากับพนักงานชาย ถือว่าเป็นคุณกับพนักงานมากกว่า เพราะลูกจ้างหญิงสามารถทำงานต่อไปได้และยังมีรายได้อยู่ แต่จะกำหนดว่า ให้ลูกจ้างชายมีอายุเกษียณลดลงจาม 55 เหลือ 50 ปี ไม่ถือว่าเป็นคุณกับพนักงานมากกว่า - เพิ่มได้แต่ลดไม่ได้ครับ ประกาศที่ประกาศออกไปมีผลกับพนักงานทุกคน ไม่ว่าเก่าหรือไหม่

ถ้าจะ play save ก็ควรให้พนักงานทุกคนลงนามตกลงยอมรับในประกาศของบริษัท ก็จะราบรื่นกว่า แต่ก็ไม่จำเป็น เพราะหากพนักงานบอกว่า ต้องการเกษีนณ 50 เพื่อจะนำเงินไปใช้ ก็ตั้งโครงการเกษียนอายุก่อนกำหนดขึ้นมารองรับก็สามารถทำได้

2. ควรจะต้องทำครับ เพราะหากไม่มีการกำหนดอายุเกษียณไว้ พนักงานก็ต้องทำงานไปเรื่อยๆ จนตายจากกันไป พนักงานอาจจะดูว่าบริษัท เอาเปรียบเพราะไม่ต้องการจ่ายเงินชดเชย และไม่เป็นผลดีกับการบริหารงานบุคคล การเลื่อนตำแหน่ง การโยกย้าย พนักงานไม่สามารถมีความชำนาญเพิ่มขึ้น ความหวังลดลง

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-01-04 12:04:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.