![]() |
|
|
การลา ของลูกจ้างที่ทำหน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบ | |
เรียน ท่านที่ปรึกษาครับ | |
ผู้ตั้งกระทู้ อาคม :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-06 15:55:24 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3247407) | |
1. ตามมาตรา 14/3 พรบ จัดตนั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ในวันที่ผู้พิพากษาสมทบมาปฏิบัติหน้าที่ ให้ถือว่าเป้นวันทำงานแล้อำนวยความสะดวกให้ตามสมควร ... แต่การไปปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างนั้น ปกติต้องมีหนังสือเชิญจากศาลแรงงานว่า จะให้ไปปฏิบัติงานในวันใดเวลาใด แต่ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของนายจ้างเรื่องการลาด้วย โดยแสดงหนังสือเชิญ และเป็นการลาพิเศษ ที่ไม่ถือว่าเป็นวันลาครับ 2. การหายไปเลย โดยมิได้ลานั้น ย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง การมาอ้างภายหลังว่าไปปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลแรงงานนั้นย่อมฟังไม่ขึ้น ต้องว่ากันทางวินัยครับ 3. ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานนั้น คือ พนักงานบริษัท ก็ยังต้องปฏิบัติตัวในฐานะของลูกจ้างที่ดีด้วย ไม่มีอภิสิทธิที่จะมาทำงานก็ได้ ไม่มาทำงานก็ได้ 4. หากลูกจ้างลาล่วงหน้า ก็ต้องเป้นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจัดคนแทนครับ ในวันที่ลูกจ้างไปปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่ไปก่อน ลาทีหลัง 5. และเมื่อปลายปี ก้จะมีผลต่อการพิจารณาเงินเดือนขึ้น โบนัส ได้ หากลาไม่ถูกต้อง และหากไปปฏิบัติงานบ่อย จนไม่มีเวลาทำงานประจำ ผลงานเมื่ออกมาเทียบกับคนที่ทำงาน 100 % ก็คงเทียบกันไม่ได้ 6. บางบริษัท เคยลงโทษเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ที่ไปเป้นผู้พิพากษาวมทบศาลแรงงาน ในกรณีที่หายไปบอกว่าไปทำหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบ แต่ไม่มีรายงานการมาปฏิบัติงานจากศาล ถือว่าละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานโดยไม่มีเหตุอันควรครับ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-06-07 09:56:23 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3247424) | |
ขอบคุณมาก จะได้แจ้งให้ทราบเพื่อความเข้าใจระหว่างกันต่อไป ขอแสดงความนับถือ
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น อาคม วันที่ตอบ 2011-06-07 13:40:01 |
ความคิดเห็นที่ 3 (3903238) | |
ทางบริษัทสามารถกำหนดจำนวนวันที่ให้ลาไปปฏิบัติหน่าที่ผู้พิพากษาสมทบปีละไม่เกิน30วันจะได้ไหมคะ | |
ผู้แสดงความคิดเห็น วดี (Wadeejit-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-11-22 18:18:47 |
[1] |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
Visitors : 317215 |