หากว่าตามข้อกฎหมาย หากนายจ้างปิดโรงงานลอยแพลูกจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินตามกฎหมายมาตรา 118 ให้ลูกจ้าง แต่หากนายจ้างประสพกับการขาดทุนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ มาต่อรองกับลูกจ้างที่จะจ่ายเท่านั้นเท่านี่ หากลูกจ้างเห็นว่านายจ้างขาดทุนจริง ปิดโรงงานไปแล้วจริง ก็สามารถตกลงกันได้ว่าจะรับเท่าไร หรือไม่รับเท่าไร ระยะเวลาในการจ่าย เมื่อตกลงกันก็เป็นความยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่ายก็สามารถทำได้
แต่หากลูกจ้างไม่ยินยอม ต้องการเต็มจำนวนก็สามารถไปร้อง พนักงานตรวจแรงงานได้ก็จะพิจารณาใน 60 วัน แล้วมีคำสั่งให้จ่าย หากไม่มีจ่ายก็ยึดทรัพย์จับเชลย ทรัพย์สินนายจ้างมาเฉลี่ยให้ ซึ่งอาจได้เท่ากฎหมาย หรือน้อยกว่ากฎหมายมาก ก็ขึ้นกับทรัพย์ที่เหลืออยู่ แต่ต้องขึ้นกับเจ้าหนี้ที่มีสิทธิก่อนนะครับ เช่น เครื่องจักร ไปจำนองไว้ ก็ยึดไมได้ ที่ดินจำนองไว้ก็ยึดไม่ได้
หากไมาพอใจไปฟ้องศาล ศาลไกล่เกลี่ย ซึ่งในทำนองเดียวกันกับแรงงงาน อาจมีคำพิพากษาเร็ว เพราะข้อเท็จจริงง่ายๆ แต่กว่าจะถึงที่สุดคือ 30 วันนั้บแต่มีคำพิพากษา หากนายจ้างไม่พอใจฎีกาต่อ ก็อีกโน่นครับ 2 -2.5 ปี ตอนนั้นโรงงานไม่มีอะไรเหลือแล้วครับ
ดูสถานะการณ์ของนายจ้าง ว่าเท็จหรือจริง ปิดเพราะล้มบนฟูกไหม หากนานจ้างพยายามทำทุกอย่างเพื่อแก้สถานะการณ์แล้วไม่ดีขึ้น ก็ต้องพิจารณาเองว่าจะรับน้อย น้อยกว่า หรือไม่ได้รับอะไรเลยครับ |