การปรับโครงสร้างการบริหารนั้น ถือได้ว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของนายจ้าง แต่ก็ต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิจองลูกจ้างมากนักด้วย บางตำแหน่งหายไปนั้นไม่ได้เป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง แต่ก็ต้องมีตำแหน่งรองรับสำหรับคนที่เคยทำงานในตำแหน่งนั้นๆ ที่จะได้ผลตอบแทนที่ไม่น้อยกว่าเดิม ยกเว้นสวัสดิการที่เขียนผูกไว้ตับตำแหน่ง เช่น ผู้จัดการฝ่ายขาย มีรถประจำตำแหน่ง แต่หากปรับตำแหน่งนี้ออกไปใช้ outsource มห้มาทำการขายและการตลาดให้ ตำแหน่งนี้ก็หายไป คนที่เป็นผู้จัดกาฝ่ายขาย ก็ต้องย้ายไปทำงานในหน้าที่อื่น เช่น ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ที่ไม่มีรถประจำตำแหน่งเช่นนี้ นายจ้างสามารถทำได้โดยไม่ได้เป้นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
ส่วนใหญ่การปรับโครงสร้างองค์กร ทำขึ้นเพื่อความอยู่รอดขององค์กร การกระชับการทำงาน ดังนั้นเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาในเรื่องนี้มาหลายคดีที่ บอกว่าการปรับโครงสร้างที่ไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้งลูกจ้าง นายจ้างสามารถทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการฝ่ายฝืนต่อกฎหมาย
|