ReadyPlanet.com


ขอความเห็นครับ


ที่บริษัทมีพนักงานชกต่อยกันในเวลาทำงานซึ่งผิดระเบียบข้อบังคับการทำงาน โทษคือถูกเลิกจ้าง แต่เวลาที่ฝ่ายบุคคลเรียกมาสอบสวนพนักงานทั้งสองคนกับอ้างว่าไม่มีการชกต่อยกัน(ฝ่ายบุคคลได้รับรายงานเหตุจาก รปภ.ว่ามีการชกต่อย) แผลที่เห็นเกิดจากการหกล้ม เหตุที่พนักงานแก้ต่างอย่างนี้เพราะกลัวถูกลงโทษเลิกจ้าง  กระผมจึงขอถามว่าถ้าพนักงานอ้างอย่างนี้เราจะสามารถลงโทษตามระเบียบของบริษัทได้หรือไม่โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  เพราะฝ่ายบุคคลยึดถือตามบันทึกรายงานของ รปภ. และบาดแผล(ได้โทรถามที่โรงพยาบาลแล้วบาดแผลเกิดจากการทำร้ายร่างกาย)



ผู้ตั้งกระทู้ ฝ่ายบุคคล :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-07 13:38:42


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3232393)

ระหว่างคดียังไม่ตัดสินเราจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนประวัติอาญากรหรือป่าวครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อรรถพล วันที่ตอบ 2011-01-07 15:01:42


ความคิดเห็นที่ 2 (3232404)

การทะเลาะวิวาทกันนั้น แม้จะมีระเบียบข้อบังคับในการทำงานที่เข้มงวดที่จะลงโทษถึงการเลิกจ้าง คุณสามารถทำได้ตามระเบียบ โดยอาศัยหลักฐานที่มีอยู่ เช่น รายงานของรปภ หรือหลักฐานทางการแพทย์ แต่น่าจะมีการสอบสวนหาผู้รู้เห็นหรือพยานหลักฐานให้แน่นหนาที่มากกว่านี้ และหากว่านายจ้างเชื่อว่ามีความผิดจริง ก็สามารถลงโทษทางวินัยได้

แต่ก็ไม่ห้ามที่ลูกจ้างจะไปฟ้องร้องต่อศาลที่จะเรียกค่าชดเชย เพราะศาลอาจจะมีความเห็นที่แตกต่าง อาจพิจารณาว่าความผิดที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องร้ายแรงที่ไม่ต้องตักเตือนก่อนได้ มีหลายคดีที่ศาลเห็นว่าการทะเลาะวิวาทกันนั้น ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง หากไม่ทำความเสียหายให้นายจ้าง เช่นกรณีของพนักงานขายน้ำอัดลม ชกต่อยกัน แต่ไม่เกิดความเสียหายกับนายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้

ควรต้องพิจารณาให้ดีและศึกษาคำพิพากษาเก่าๆ เรื่องนี้ หากเลิกจ้างแล้วต้องจ่ายค่าชดเชย ผู้เสียหายคือนายจ้างที่ต้องเสียหน้าเสียตาไป

การทะเลาะวิวาท เป็นเรื่องคดีอาญาก็จริง แต่เป็นลหุโทษ มีโทษเพียงการปรับ หากไม่มีการบาดเจ็บมากมาย ไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ เป็นหลักฐานครับ ไม่มีชื่อในทะเบียบประวัติอาญาแน่นอน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-01-07 15:46:18


ความคิดเห็นที่ 3 (3232703)

ขอบคุณครับที่ให้ความเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น ฝ่ายบุคคล วันที่ตอบ 2011-01-09 16:30:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.