ReadyPlanet.com


ข้อบังคับบริษัท ไม่มีเรื่องวินัยการลงโทษ การร้องทุกข์ การเลิกจ้าง อยากทราบว่าจะออกหนังสือเตือนได้?


เนื่องจากว่าบริษัทของดิฉัน มีพนักงานเกินกว่า 20 คน มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เนื้อหาในนั้น มีระบุ เรื่อง  ต่อไปนี้ คือ วันทำงาน เวลาทำงาน เวลาพัก วันหยุดและหลักเกณการหยุด  หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด วันลาและหลักเกณฑ์การลา  เท่านั้น   โดยไม่มีเรื่องของ วินัย การลงโทษ การร้องทุกข์ การเลิกจ้าง ค่าชดชเยและค่าชดเชยพิเศษ..

คำถาม

1.ไม่ทราบว่า กรณีอย่างนี้ หากพนักงานของบริษัท กระทำความผิด อย่างใดๆ  ไม่ทราบว่าทางบริษัทฯจะออกหนังสือเตือนพนักงานได้หรือไม่  และจะมีผลบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

2. ในระหว่างที่ข้อบังคับการทำงานยังไม่สมบูรณ์ทุกข้อนั้น ทำให้ข้อความในหนังสือเตือน  ไม่สามารถระบุความผิดว่าผิดจากข้อยังคับการทำงานในข้อใดได้ อย่างนี้ หากเขียนว่า "การกระทำของลูกจ้างโดยการ.....................เป็นการกระทำความผิดต่อศีลธรรมอันดี อย่างควรที่ลูกจ้างควรประพฤติ" นั้นจะได้หรือไม่  

3.หากบริษัทฯ ยังไม่ได้นำข้อบังคับการทำงานไปแจ้งต่อ ผู้ตรวจแรงงานประจำสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในเขตที่บริษัทตั้งอยู่  ข้อบังคับการทำงานดังกล่าวจะใช้ได้หรือไม่ จะมีผลบังคับตามกฎหมายหรือไม่ และหากว่าข้อบังคับดังกล่าวได้ลอกตามพรบ คุ้มครองแรงงานและแรงงานสัมพันธ์มาเลย จะสามารถบังคับใช้ได้หรือไม่ 

4.เนื่องจากว่า บริษัทเห็นว่ามีพนักงานท่านนึง ที่มักจะไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในฐานะลูกจ้างอย่างสม่ำเสมอ ทำให้บริษัทเสียหาย และเอือมระอาต่อพฤติกรรมดังกล่าวของลูกจ้าง อย่างนี้ บริษัทควรทำอย่างไร ขอให้ท่านได้แนะนำให้กับทางบริษัท ในฐานะนายจ้างด้วยค่ะ

ขอบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง

นายจ้าง



ผู้ตั้งกระทู้ ติ๊ก (croissant_63-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-07-20 15:34:32


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3032404)

วินัยเป็นสิ่งสำคัญท่จะทำให้พนักงานอยู่ร่วมกันได้และเป็นไปในทางเดียวกัน และเป็นเครื่องมือที่จะใช้ดำเนินการกับพนักงานที่ไม่ชอบอยู่ในกรอบระเบียบ หากไม่ระบุไว้ การลงโทษทางวินัย เป็นไปได้ลำบากมาก เพราะพนักงานสามารถอ้างว่าไม่มีระเบียบกำหนดไว้ และเมื่อขึ้นศาล ศาลก็จะถามว่า ฝ่าฝืนระเบียบข้อใด ซึ่งนายจ้างจะเสียเปรียบในเรื่องนี้

แต่ก็ไม่ทั้งหมด มีกฎหมายหลายฉบับที่สามารถมาประยุกต์ใช้ได้ เช่น พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119, ประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 583 หรือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตราต่างๆก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ เป็นต้น โดยปรับให้เข้าตามมาตราต่างๆ เหล่านั้นก็สามารถลงโทษทางวินัยได้

ระเบียบข้อบังคบในการทำงาน เมื่อทำเสร็จแล้วสามารถประกาศใช้ได้แต่ต้องส่งสำเนาให้เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานพิจาณา บางแห่งใช้เวลาเป็นปี กว่าจะตรวจเสร็จ แต่ถามว่าใช้บังคับได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าได้ ส่วนจะเหมาะสมหรือไม่ก็ต้องไปว่ากันที่ ศาลต่อไป

หากลูกจ้างมีการกระทำที่ประมาทเลินเล่อ และไม่ปฏิบัติตนสมกับเป็นลูกจ้างที่ดี ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย  ก็เข้าข่าย ฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 583 และ เข้าข่ายมาตรา 119 คุ้มครองแรงงาน (๒) และ (๓)ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้ แต่ต้องไม่เป็นการเจตนากลั่นแกล้งพนักงาน

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-07-21 09:21:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.