ReadyPlanet.com


การจ่ายเงินชดเชย กรณีเลิกจ้าง


ดิฉันเป็นฝ่ายบุคคลเข้ามาทำงานใหม่ค่ะ มาทำต่อจากคนเก่าที่ลาออกไป แต่มีคดีเลิกจ้างค้างอยู่จะต้องไปขึ้นศาลต่อ คือเรื่องมีอยู่ว่า พนักงาน(เงินเดือน 28,000) ขอลางานในช่วงวันที่ 29 - 30 ธันวาคม 2552 แต่เจ้าของบริษัทฯ ไม่อนุมัติ เขาจึงไปให้ Suppervisor ซึ่งไม่ตรงกับสายงานของเขาเซ้นต์ให้ และได้หยุดงานไป ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม ครึ่งวัน วันหยุดบริษัท ฯ คือ 31 ธ.ค. 52 - 3 ม.ค. 53  วันที่ 4 ม.ค. ไม่มาทำงาน และไม่มีการโทรมาแจ้ง แต่กลับมาอีกครั้งวันที่ 7 แจ้งว่าป่วย และนำใบรับรองแพทย์ วันที่ 5 - 6 ม.ค. มายื่น แต่บริษัทฯ ได้ทำเรื่องเลิกจ้างไปแล้วตั้งแต่วันที่ 5  พนักงานจึงได้ไปยื่นฟ้อง อยากจะถามต่อไปนี้ค่ะ

1.  มีคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานฯ สั่งให้จ่ายแยกเป็นกรณีดังนี้ ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า จำนวนเงิน 31,733.33  บาท ค่าชดเชย 28,000 บาท อยากจะทราบว่า ค่าสินจ้างล่วงหน้า คำนวณยังไงคะ

2.  พนักงานเริ่มงาน 7 ก.ย. 52 และถ้าคำนวณถึง 6 ม.ค. 52  รวมระยะเวลา 122 วัน แต่ในระหว่างทำงาน พนักงานได้ขาดงานโดยไม่มีใบลา และไม่มีการแจ้ง รวม 9.5  วัน ซึ่งถ้าหักลบแล้ว คงเหลือวันทำงาน 112.5 วัน เราสามารถนำมาแย้ง ไม่จ่ายเงินชดเชยได้หรือไม่

ดิฉันมีเรื่องรบกวนเพียงแค่นี้ หวังว่า คงจะได้รับคำตอบนะคะ ขอบคุณมา ณ โอกาสนี้.



ผู้ตั้งกระทู้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-24 14:39:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3225908)

1.  ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าว คำนวนได้จาก เงินเดือนคิดเป็นวัน แล้วคูณจำนวนวันที่บอกเลิกจ้าง

ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือนออกทุกวันที่ 10 การบอกเลิกจ้างต้องบอกล่วงหน้าก่อนเงินเดือนออก 1 งวด แต่ถ้าบอกและเลิกจ้างวันที่ 6 เลย ก็จะต้องนับ วันที่ 6 ถึงวันที่ 10 คือ 4 วัน และถึงงวดเงินเดือนออกครั้งหน้าคือ 30 วัน รวม 34 วัน อย่างคำถาม ดูจากเงินชดเชย เงินเดือน 28000 หารแล้วตกวันละ 933.33 บาท และจากที่คำนวนดูแล้วเงินเดือนน่าจะออกวันที่ 10 ก็จะเท่ากับ 933.33 x 34 = 31,733.33 บาท

2.  จะขาดงานกี่วันก็แล้วแต่ ถ้าเราไม่ออกหนังสือเตือน ให้ถือว่าเรายอมรับ และกฎหมายแรงงานถือว่าเป็นการทำงานต่อเนื่องค่ะ ไม่สามารถนำมาแย้งได้ เพราะฉะนั้นหากพนักงานขาดงานบ่อย ๆ ควรออกหนังสือเตือนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

ผู้แสดงความคิดเห็น เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล วันที่ตอบ 2010-11-25 14:23:54


ความคิดเห็นที่ 2 (3225909)

และเมื่อมีคำสั่งจากพนักงานตรวจแรงงานแล้วว่าให้จ่าย ยังไงก็ต้องจ่าย

ผู้แสดงความคิดเห็น ฝ่ายบุคคล วันที่ตอบ 2010-11-25 14:28:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.