ReadyPlanet.com


การประท้วงไม่ทำ OT โดยการนำของตัวแทนสหภาพแรงงาน


สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องจำนวน 15 ข้อ วันที่ 2 พย. 53 ขณะนี้ทางบริษัทกำลังอยู่ในช่วงเจรจากับตัวแทนเจรจาของสหภาพแรงงาน แต่พนักงานได้หยุดทำ OT โดยการชักนำของตัวแทนสหภาพฯและได้รวมตัวกันหน้าบริษัททำการปลุกระดมพนักงานให้เกิดความคิดติดลบกับริษัทฯ ในเรื่องข้อเรียกร้องที่ยังตกลงกันไม่ได้เป็นระยะๆ ไม่ได้ทำทุกวันแต่จะทำเวลาที่ผู้บริหารมีการประชุมกันหรือประชุมกับตัวแทนเจรจาของสหภาพฯ

อยากทราบว่ากรณีนี้ทางบริษัทได้รับความเสียหายเนื่องจากการผลิตไม่ทัน การบริการลูกค้าไม่ทันความต้องการ บริษัทจะสามารถร้องขอต่อหน่วยงานไหนได้เพื่อให้สั่งให้พนักงานกลับเข้าทำงาน OT ได้ (บริษัทไม่เคยบังคับให้พนักงานทำ OT มีแต่พนักงานลงชื่อทำเอง)



ผู้ตั้งกระทู้ อัญชลี มหกิจไพศาล (anchalee-dot-maha-at-thaidnt-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-11-26 18:22:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3226521)

1. การทำงานล่วงเวลา นายจ้างไม่สามารถบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้ ดังนั้นการปฏิเสธ การทำงานล่วงเวลาก็เป็นสิทธิของลูกจ้างที่นายจ้างคงต้องยอมรับ แต่ในทางกลับกัน หากลูกจ้างมาทำงานโดยนายจ้างไม่สั่งให้มาทำ ก็ไม่ต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาให้ลูกจ้างได้

2. ในกรณีที่มีสหภาพและอยู่ระหว่างการเจรจา เป็นเรื่องปกติที่แทบทุกสหภาพ นิยมทำกัน คือ ไม่ทำงานล่วงเวลา ไม่ทำงานในวันหยุด slow down ทั้งนี้ เพื่อเป้นการกดดัน นายจ้างให้รีบตกลงตามที่สหภาพร้องขอโดยเร็ว และก็จะปลุกระดมมวลชนกันในวันที่มีการเจรจา

3. สหภาพทราบดีว่าการทำเช่นนี้ ทำให้นายยจ้างได้รับความเสียหาย แต่ยังอยู่ในกรอบของกฏหมาย นายจ้างคงไม่สามารถดำเนินการในทางกฎหมายได้ แม้นายจ้างจะรู้ตัวก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่น ายจ้างควรต้องทำคือ

3.1 ในการเจรจา ทุกครั้ง เมื่อเจรจา จบในแต่ละครั้ง ก็ควรจะมีคำชี้แจงจากบริษัท ถึงความคืบหน้าในการเจรจาที่เป็นความจริงออกมาให้พนักงานได้ทราบ และขอให้พนักงานกลับเข้าทำงานล่วงเวลาตามปกติ

3.2 จัดประชุมผู้บริหาร แล้วอธิบายเหตุผลเพื่อให้ผู้บริหารไปอธิบายให้ลูกน้องรับทราบ

3.3 จ้องพิจารณาแนวทางเดินของนายจ้างให้ชัดเจน ว่าจะเป็นไปในแนวทางใดและมีกลยุทธ์อย่างไร 

3.4 หากพบว่า มีบางหน่วยงาน ทำการ slowdown กล่าวคือ งานที่ออกมาควรจะเป็น100% กลับออกมาเพียง 40 % ก็คงต้องจับตามดู หากพบว่าพนักงานมีการ slow down จริงก็ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง สามารลงโทษทางวินัยได้ แต่ก้อาจทำให้การแรงงานสัมพันธ์ที่ดีเสียไป

หากยังอยู่ในขั้นตอนของกฎหมาย หน่วยงานของรัฐ คงไม่สามารถเข้ามาเกี่ยวข้องเต็มตัวได้ แต่สามารถไปพูดคุยขอความช่วยเหลือได้ แต่จะได้รับความช่วยเหลือหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง เพราะหน่วยงานนั้นเป็นหน่วยงานที่ช่วยแรงงานมากกว่า นายจ้างอยู่แล้ว 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-11-29 08:57:17



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.