ReadyPlanet.com


การลดอายุเกษียน


เรียน  ท่านที่ปรึกษา และผู้รู้ทุกท่าน

         บริษัทฯ มีระเบียบเกษียณอายุ ที่ 60 ปี ทุกตำแหน่งทั้ง หญิงและชาย  แต่ปัญหาคือ บางตำแหน่งใช้ความคิด บางตำแหน่งใช้กำลัง

         จึงอยากเรียนถามว่า

         1. จะลดอายุการเกษียณ จาก 60 เป็น 55 หรือ 50  ทุกตำแหน่งในมุมมองท่านที่ปรึกษาและผู้รู้ทุกท่าน จะถือว่าเป็นคุณกับพนักงานหรือไม่

         2. จะลดอายุการเกษียณ จาก 60 เป็น 55 หรือ 50  ตามความเหมาะสมของตำแหน่งในมุมมองท่านที่ปรึกษาและผู้รู้ทุกท่าน จะถือว่าเป็นคุณกับพนักงานหรือไม่

         3. ถ้าคงระเบียบการเกษียณไว้ที่ 60 ปี เหมือนเดิม แต่เพิ่มระเบียบให้สิทธิ์ ในแต่ละตำแหน่ง มีสิทธิ์ขอเกษียณอายุได้  เช่น ตำแหน่ง ก.มีสิทธิ์ขอได้เมื่ออายุครบ...บริบูรณ์  ตำแหน่ง ข. มีสิทธิ์ขอได้เมื่ออายุครบ...บริบูรณ์

         4. ผู้ที่เกษียณตามกำหนด จะได้รับเงินชดเชยตามมาตรา 118 แต่ผู้ขอสิทธิ์เกษียณตามตำแหน่ง ต้องตามมาตรา  118  หรือตามตกลงกันได้หรือไม่ (น้อยกว่ามาตรา 118) / ถ้าทำเป็นระเบียบข้อบังคับอย่างชัดเจน

         5. สำนักสวัสดิการคุ้มครองแรงงานจะรับจดทะเบียนหรือไม่

         จึงเรียนมาเพื่อขอรับคำปรึกษา

         แพรวา



ผู้ตั้งกระทู้ แพรวา :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-13 09:09:21


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3233468)

1. การลดอายุเกษียณ นั้นไม่สามารถทำได้ด้วยบริษัท ฝ่ายเดียว คงต้องมีการเจรจาชี้แจงกับลูกจ้าง และให้ลูกจ้างลงนามยินยอมตกลง และจะใช้บังคับกับผู้ที่ตกลงยินยอมไว้กับทางนายจ้างเท่านั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอมก็คงต้องเกษียณตามระเบียบเก่า การลดอายุเกษียนมีทั้งที่เป็นคุณและไม่เป็นคุณ การจะถือว่าเป็นคุณต้องเป็นคุณ 100% ไม่ใช่ 60% ก็จะสามารถเหมาเอาทั้งหมดได้

2. เช่นเดียวกันแม้ว่าเราจะพิจารณามาตรา 15 ประกอบกับการพิจารณาตำแหน่งงาน คุณลักษณะของงาน เอามากำหนดว่าใครจะเกษียณได้เมื่อไร คุณก็ยังต้องทำให้พนักงานลงนามยินยอมอยู่ดี ที่ยากคือการระบุตำแหน่งและลักษณะของงานที่จะต้องชัดเจน ว่าตำแหน่งนี้ ลักษณะอย่างนี้ สามารถทำงานได้เพียงอายุเพียงเท่านี้เท่านั้น เช่น บางบริษัท กำหนดอายุของพนักงานช่างเชื่อม ไว้ ว่างานช่างเชื่อมจะเกษียณอายุ เพียง 45 ปี  เพราะทำงานนานกว่านั้น จะเป็นอันตรายกับสุขภาพของพนักงาน ตาอาจบอด เช่นนี้มีหลักฐานอย่างชัดเจน ก็สามารถยอมรับได้ ดังนั้นคุณต้องหาเหตุผลและหลักฐานมา support อย่างจริงจังและมั่นคง จึงจะเกิดการยอมรับได้

3. หลายบริษัท ไม่แตะต้องเรื่องข้อตกลงสภาพการจ้าง แต่เพิ่มเรื่องที่คุณถามมาคือ โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ซึ่งนายจ้างสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบและตกลงจากลูกจ้าง ซึ่งโครงการนี้ไม่ใช่เป็นการที่บริษัทให้เกษียณอายุ แต่เป็นพนักงานร้องขอเข้าโครงการ ดังนั้นจึงไม่ใช่การเลิกจ้าง แต่เป็นการลาออกโดยมีเงื่อนไขขอเงินช่วยเหลือเมื่อเข้าโครงการ ซึ่งนายจ้างอาจกำหนดเงื่อนไขต่างๆไว้ ได้เอง แต่ต้องคำนึงว่า เป็นธรรมกับพนักงานหรือไม่ พนักงานพอใจหรือไม่ ผลประโยชน์ที่ได้รับน่าสนใจหรือไม่ 

4. ที่ถามมาข้อ 1-3 ไปจดทะเบียนที่แรงงานคงจะไม่รับจดให้เพราะเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างแน่นอน แตjที่ตอบไปในข้อ 3 ไม่ต้องนำไปจดทะเบียบ เพราะไม่เป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างแต่อย่างใด  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-01-14 12:13:08



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.