ReadyPlanet.com


เรียนท่านที่ปรึกษา


พนักงานตั้งครรภ์โดยไม่แจ้งให้บริษัททราบ และตลอดระยะที่ตั้งครรภ์ไม่มีใครทราบว่าพนักงานตั้งครรภ์ยังคงทำงานล่วงเวลาและเข้าทำงานกะดึกจนกระทั่งครบกำหนดคลอดเขาจึงส่งใบลาคลอด ทำให้ผู้บริหารชาวต่างชาติไม่พอใจมากจึงให้ลงโทษวินัยและอาจถึงขั้นเลิกจ้าง พนักงานผู้นี้เป็นหัวหน้างานด้วยค่ะ ผู้บริหารชาวต่างชาติให้ออกประกาศว่าหากพนักงานตั้งครรภ์แล้วไม่แจ้งให้บริษัททราบจะต้องุถูกลงโทษเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น ท่านที่ปรึกษามีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไรคะ หากเลิกจ้างพนักงานจริงแล้วพนักงานไปฟ้องศาล ศาลจะถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่คะ และประกาศนี้จะมีผลตามกฎหมายหรือเปล่าคะ ขอบคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ bk :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-21 08:55:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3234687)

การที่พนักงานหญิงตั้งครรภ์แล้ว ไม่แจ้งให้นายจ้างทราบหากไม่มีเขียนไว้ในระเบียบ พนักงานผู้นั้นก็ไม่มีความผิด ในทำนองเดียวกันนายจ้างก้ไม่มีความผิดหากให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ท่านั้นทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และทำงานเกินกว่าที่ก็หมายกำหนดสำหรับหญิงมีครรภ์ นายจ้างไม่เสียหายใดๆ

การเลิกจ้างหญิงที่มีครรภ์นั้น เป็นการฝ่าฝืนพรบ คุ้มครองแรงงาน มาตรา 43 แม้ว่าพนักงานท่านนั้นจะคลอดแล้วก็ตาม แต่การเลิกจ้างมีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์ก้ต้องห้าม ผมเห็นว่าไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง หากพนักงานท่านนั้นไปฟ้องศาลแน่นอนว่านายจ้างแพ้แน่นอน ซึ่งปกติศาลมักเห็นอกเห็นใจลูกจ้างอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นการเลิกจ้างมาจากสาเหตุนี้ หากลูกจ้างเรียกค่าเสียหายมาเท่าใด ศาลอาจพิจารณาให้เต็มที่

หากต้องการลงโทษดูในระเบียบของนายจ้างเป็นหลัก แต่ต้องพิจารณาว่า การทำเช่นนั้นเหมือนกับติดปีกให้เสือ คือจะเข้าทางสหภาพที่ต้องการได้ ชื่อเสียงและได้สมาชิกเพิ่มแน่นอน หากสหภาพยื่นฟ้องให้แล้วชนะ

คุยกับผู้บริหารคิดถึงผลดีผลเสีย อย่าเอาแต่อารมย์ครับ หากถามถึงผลตามกฎหมาย หากลูกจ้างชนะคดี ก็อาจเป็นคดีอาญาได้ตามมาตรา 144

เรื่อวร้ายแรงต้องพิจารณาว่า ฝ่าฝืนระเบียบหรือไม่ นายจ้างเสียหายหรือไม่ ค่าความเสียหายนั้นเป้นอย่างไรด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-01-24 08:32:17


ความคิดเห็นที่ 2 (3234700)

มีระเบียบเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าหากลูกจ้างตั้งครรภ์ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบทันที่ที่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ มีแบบฟอร์มให้กรอกด้วยค่ะ  ทั้งนี้ก็เพราะต้องการให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยขณะตั้งครรภ์ เพราะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหนักและต้องยืนตลอดเวลา การทำงานเข้ากะมีสามกะค่ะ

ทางผู้บริหารเกรงวาหากเกิดอะไรขึ้นกับพนักงานก็จะเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีกับบริษัทและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับพนักงานคนอื่น

ทางบริษัทเคยถูกสหภาพร้องเรียนว่าไม่ดูแลพนักงานที่ตั้งครรภ์ให้พนักงานทำล่วงเวลาและเข้ากะและให้ยืนทำงานค่ะ ก่อนหน้านั้นไม่มีแบบฟอร์มให้กรอกว่าตั้งครรภ์ ทางบริษัทก็เลยได้ตกลงร่วมคณะกรรมการความปลอดภัยว่าต่อไปจะต้องไม่ให้พนักงานที่ตั้งครรภ์ยืนทำงาน ทำงานล่วงเวลาและเข้ากะหากพนักงานฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษสถานหนัก ซึ่งก็ได้ปฏิบัติเรื่อยมาค่ะจนกระทั่งมีกรณีนี้เกิดขึ้นค่ะ

หากพิจารณาถึงความเสียหายของบริษัทแล้วก็ไม่สามารถที่จะคิดเป็นตัวเงินได้เพราะการทำงานเป็นลักษณะสายพานลำเลียงและพนักงานก็จะทำงานต่อ ๆ กันไปค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่ให้คำแนะนำ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2011-01-24 09:42:57


ความคิดเห็นที่ 3 (3234716)

หากมีระเบียบเรื่องนี้แล้ว ก็สามารถลงโทษทางวินัยได้ว่าไม่แจ้งให้นายจ้างทราบตามระเบียบ แต่ไม่น่าถึงขั้นเลิกจ้างครับ เพราะลูกจ้างไม่ได้มีเจตนาที่จะให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ การจะลงโทษพนักงานนั้นต้องดูเจตนาของลูกจ้าง มีการสอบสวนถึงสาเหตุที่ลูกจ้างฝ่าฝืน แล้วค่อยลงโทษ ลูกจ้างน่าจะมีเหตุผลที่ไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบ

ผมต้องขอโทษที่มีความเห็นไม่ตรงกับที่เขียนมา แต่การบริหารงานแบบไทยๆนั้น ความเห็นอกเห็นใจกันเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการตั้งครรภ์และการมีบุตร ความเสียหายที่ว่านั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ยังไม่ได้เกิด หากจะลงโทษกันจริงๆ ก็น่าจะพ่วงหัวหน้างานไปด้วย เพราะหัวหน้างานน่าจะเห็นความผิดปกติของลูกน้อง แต่ก๋ไม่ได้รายงาน

คงให้คำแนะนำได้ไม่มากนักครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-01-24 10:46:30


ความคิดเห็นที่ 4 (3234759)

ขอบคุณท่านที่ปรึกษามากค่ะ หนูเข้าใจที่ท่านได้ให้ความเห็นมาจะพยายามทำตามที่ท่านได้แนะนำมานะคะ ท่านที่ปรึกษาคะคนที่ตั้งครรภ์ก็คือหัวหน้างานค่ะ ไม่ใช่พนักงาน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็เลยทำให้ผู้บริหารชาวต่างชาติไม่พอใจค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ เท่าที่ท่านแนะนำมาก็เป็นพระคุณอย่างสูงค่ะและช่วยทำให้มีมุมมองที่กว้างมากขึ้นในการบริหารงานค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2011-01-24 17:19:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.