ReadyPlanet.com


เรียนท่านที่ปรึกษา


มีเรื่องรบกวนค่ะ คือว่าพนักงานขับรถ ได้ขับรถส่งผู้บริหารชาวต่างชาวไปตีกอร์ฟตอนเช้ามืด เมื่อได้ส่งนายแล้วก็ได้ขับรถออกไปทานอาหารข้างนอก เกิดอุบัติเหตุรถเสียหายทั้งคันไม่สามารถซ่อมให้เหมือนเดิมได้ต้องขายเป็นเศษเหล็ก คนขับรถก็บาดเจ็บสาหัสแต่ยังพอให้การได้ เขาบอกว่าได้ทำอย่างนี้ประจำเพราะอาหารในสนามกอร์ฟมีราคาแพงจึงต้องออกไปทานข้างนอก แต่ไกลจากสนามกอร์ฟมาก ผู้บริหารให้เลิกจ้างและให้ชดใช้ค่าเสียหายด้วย ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรคะ รบกวนด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ bk :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-12 07:42:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3217353)

1. ควรต้องสอบสวนหาสาเหตุ ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ว่า เหตุการณ์เป็นอย่างไร และสามารถดูได้จากบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ถ้ามี) และบันทึกของประกันว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร

2. หลังจากได้ข้อเท็จจริงแล้วก็มาวินิจฉัยว่า เป็นความประมาทเลินเล่อของพนักงาน หรือเป็นเหตุสุดวิสัย แล้วค่อยดำเนินการ

3. เรียนผู้บริหารไปว่าการเลิกจ้างไม่ใช่วิธีที่แก้ปัญหา พนักงานก้ได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อเลิกจ้างไปแล้ว และต้องการค่าเสียหายด้วย ลูกจ้างจะเอาที่ใดมาจ่าย หากยังทำงานอยู่ พนักงานก็สามารถผ่อนชำระได้ และเป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานยังมีความรู้สึกที่ดีกับบริษัท หากเลิกจ้างแล้วให้จ่ายค่าเสียหายด้วย ภาพของบริษัท ก็จะไม่ดีและหันไปทางสหภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารชาวต่างประเทศ

4. ส่วนใหญาเป็นเรื่องธรรมดาที่พนักงานขับรถของผู้บริหารที่ไปตีกอล์ฟ เมื่อส่งแล้วก็จะออกไปหาอาหารทานข้างนอก เพราะอาหารราคาแพงจริง และในอดีตคนขับรถผมก็เหมือนกันเมื่อส่งแล้วก็ขับออกไปทานข้าวแล้วก็กลับมารับเมื่อตีกอล์ฟเสร็จ ไม่มมีปัญหาหากไม่มีอุบัติเหตุ

5. ผมว่าทะแนะก็คงจะเข้ามายุ่งเกี่ยวหากเขาเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ในส่วนที่เราจ่ายไม่ถูกต้อง เช่น O/T ในช่วงที่ไปตีกอล์ฟ ฯลฯ อาาจจะเสียมากกว่าได้ครับ และความเห็นอกเห็นใจกันก็จะเพิ่มขึ้น สหภาพก็จะถือโอกาสนี้หาความเชื่อถือมากขึ้นด้วย

แต่หากต้องการเลิกจ้างจริงก็สามารถทำได้ ในเรื่องของประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างเสียหายอย่างร้ายแรงครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-10-12 08:26:30


ความคิดเห็นที่ 2 (3217361)

ขอบพระคุณมากค่ะที่ให้คำแนะนำ ท่านคะ ในสัญญาคนขับรถของผู้บริหารชาวต่างชาวระบุว่าเวลาเริ่มงานคือ 05.00น. ถึง 19.00 น. แต่ก่อน 08.00 น. และหลัง 17.00 น. ก็จ่ายเป็นค่าล่วงเวลาค่ะ อย่างนี้ไม่ผิดใช่มั้ยคะ

 เคยปรึกษาท่านเกี่ยวกับการเตือนสหภาพแรงงานเรื่องบันทึกการเจรจาของกรรมการลูกจ้าง ได้ยื่นเรื่องขอเตือน ศาลท่านก็ให้เตือนค่ะมีเหตุผลบอกว่า เป็นคำสั่งโดยชอบของนายจ้างค่ะ แต่ก็ให้เตือนด้วยวาจาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรค่ะ ผลที่ตามมาก็คือทำให้บริหารงานง่ายขึ้น แต่พวกเขาระมัดระวังในการที่จะบันทึกมากค่ะจะพยายามไม่ให้มีข้อความที่เป็นบทลงโทษเลยค่ะ

ตอนนี้สหภาพได้ยื่นข้อเรียกร้องมาเห็นแล้วก็ปวดหัวค่ะ ขอมาเยอะแยะมากมาย แต่มีอยู่ข้อหนึ่งเกี่ยวกับเงินค่าครองชีพ ของเดิมจะหมดอายุลงสิ้นเดือนนี้แล้วค่ะ หากเจรจาไม่จบในเดือนนี้จะต้องจ่ายเบี้ยตัวนี้หรือเปล่าคะ ผู้บริหารบอกว่าจะไม่ให้เบี้ยตัวนี่อีกแล้วค่ะเพราะทางสหภาพเรียกขอเงินขึ้นและโบนัสเยอะมาก ส่วนตัวคิดว่าคงจะจบลงยากและอาจมีการนัดหยุดงานค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-10-12 08:46:02


ความคิดเห็นที่ 3 (3217390)

1. ต้องระวังเรื่องของชั่วโมงการทำงานตามกฎหมายไว้ด้วยครับที่เวลาทำงานปกติต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง หากสัญญาว่าจ้างตั้งแต่ 05-19 น. = 13 ชม ต่อวัน หากทำงาน 5 วันก็เกินกว่าเวลาทำงานปกติตามกฎหมาย ที่สามารถทำได้คือ ทำสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายคือ 08.00 - 17.00 แต่เพิ่มในเรื่องของข้อปฎิบัติของพนักงานขับรถทีที่ต้องถึงบ้านนายในเวลา 05.00 การที่ไปส่งนายตามเวลาที่เป็นจริงและจ่ายค่าล่วงเวลาตามนั้น เป็นข้อปฎิบัติจะปลอดภัยกว่าที่เขียนไว้ว่า เวลาทำงานปกติคือ 05-19 ซึ่งเป็นการเกินกว่ากฎหมายอย่างชัดแจ้งครับ

2. การลงบันทึกในเรื่องของการเตือนด้วยวาจานั้น ควรต้องให้รอบคอบไม่ต้งอไปเกรงสหภาพแรงงาน ว่าตามข้อเท็จจริง มีข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น พนักงานฝ่าฝืนเรื่องอะไร ข้อใดในระเบียบ บริษัทจึงตักเตือนด้วยวาจามา ณ ที่นี้ ให้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น...... คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หากพนักงานไม่ยอมลงนามรับทราบการเตือนด้วยวาจา ก็อ้างคำสั่งศาล และให้พยานลงนามรับรองไว้ก็ถือว่าเป็นการใช้ได้ครับ บางแห่งนายจ้างให้ลูกจ้างร่วมเขียนระเบียบข้อบังคับลูกจ้างเขียนเละเลย ไม่สามรรถลงโทษลูกจ้างได้เพราะดีกว่ากฎหมายมาก เช่น ต้องเผาโรงงาน 2 ครั้งถึงเลิกจ้างได้ เช่นนี้

3. การเจรจาต่อรองอยู่ที่พื้นฐานของความเข้าใจ การเห้นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน หากคุณต้องการลดบางตัวลง ก็ต้องให้บางตัวเป้นการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นทางออกที่ทางสหภาพจะไปออกตัวกับสมาชิกได้ ส่วนเงินค่าครองชีพที่ยังคาอยู่ที่ข้อตกลงเก่าคงต้องจ่ายไปจนกว่าจะตกลงกันได้ และต้องเขียนไว้ในข้อตกลงว่าสิ้นสุดเมื่อไรและข้อตกลงใหม่ให้ชัดเจนครับ ไม่ต้องไปเกรงเรื่องจะนัดหยุดงานหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คุณต้องจัดการทำ strike plan เพื่อรองรับหากมีการนัดหยุดงาน จะทำอย่างไรให้บริษัทเสียหายน้อยที่สุดและสามารถดำเนินการต่อไปได้ เป็น normal procedure ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-10-12 10:09:54


ความคิดเห็นที่ 4 (3217397)

ขอบพระคุณมากค่ะที่ให้คำแนะนำ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-10-12 10:33:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.