ReadyPlanet.com


งงเกี่ยวกับภาษีฉบับที่ 45 และ 73


ฉบับที่ 45

ข้อ 2  เงินได้พึงประเมินตามข้อ 1 ที่ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรได้ จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้

                          (ก) เป็นเงินได้ที่จ่ายให้เนื่องจากออกจากงานที่มีระยะเวลาทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี

                          (ข) ในกรณีที่มีการจ่ายเงินได้ตามข้อ 1 จากผู้จ่ายรายเดียวกันหลายครั้ง ไม่ว่าจะแบ่งจ่ายจากเงินประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะเงินได้ที่ได้จ่ายในปีภาษีแรกที่มีการจ่ายเงินได้ดังกล่าวเท่านั้น

                          “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่มีการจ่ายเงินได้ตามข้อ 1 ให้แก่ข้าราชการซึ่งได้ลาออกจากราชการตามโครงการที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้เงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการซึ่งลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ”

(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 83) ใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป)

ฉบับที่ 73 

ข้อ 1  ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                          “(ข) เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ”

 

                ข้อ 2  ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะหตุ ออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

                “ข้อ 3  การเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับ เงินได้ตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้

                            (1) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสีย ภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรได้ทั้งจำนวน

                            (2) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน นอกจากกรณีตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ประเภทเดียวหรือหลายประเภท ก็ตาม โดยจ่ายให้พร้อมกันหรือทยอยจ่ายให้แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกัน หากเงินได้พึงประเมินนี้ รวมกันแล้วไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงานให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มาเลือกเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้งจำนวน

 

อยากทราบว่า ปี2550 ผมได้ใช้จำนวนปีที่ทำงานในการคำนวณภาษีสำหรับเงินชดเชยตามกฏหมายแรงงานและเงินชดเชยที่ออกจากงานแล้ว

แต่ในปี2551 ผมรับเงินสะสมจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาจำนวนหนึ่งทางสรรพากรเขตได้ช่วยคำนวณให้โดยใช้ใบแนบและมีการคำนวณจำนวนปีที่ทำงานและมีภาษีคืน แต่พอไปพบสรรพากรพื้นที่ เขาแจ้งว่าห้ามนำจำนวนปีที่ทำงานมาใช้ เมื่อมาอ่านเกี่ยวกับภาษีฉบับที่ 73 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมก็ไม่มีการระบุว่าใช้ได้เฉพาะปีภาษีแรก

จึงเรียนมาเพื่อขอความกระจ่างว่าผมสามารถนำจำนวนปีที่ทำงานมาคำนวณได้หรือไม่เพราะเป็นเงินคนละข้อและคนละปีภาษีด้วย

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ อรรณพ (damtalue-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-06-26 21:17:04


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.