ReadyPlanet.com


ถาม เรือ่งค่าล่วงเวลา ครับ


 

กรณีของผมคือ บริษัท ทำธุรกิจเกี่ยวไอที โปรแกรมเมอร์   ซ่อมระบบไอที

คำถามมีดังนี้

1.บริษัทกำหนดการเข้างาน 9.00 เลิก 18.00 แต่หลายครั้งที่ ต้องทำงานต่อไปเรื่อยๆให้จนเสร็จ  อย่างนี้บริษัทจำเป็นต้องขอความยินยอมจากพนักงานอย่างผมก่อนหรือไม่ ว่าต้องทำงานติดต่อกันนี้ให้เสร็จ  หรือว่าถ้าผมทำเองต่อไปก็จะถือเป็นการยินยอมโดบปริยายของผมไปเลย

2.และหากว่าผมทำงานเกิน 18.00 น.  ในส่วนงานแบบนี้ ผมจะได้โอที หรือไม่ครับ

3.และหากเป็นอย่างนี้แทบทุกวัน เมื่อนับรวมกันแล้ว โอที มีการทำงานเกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ อย่างนี้จะถือว่าบริษัท ทำผิดกฎหมายหรือเปล่าครับ หรือว่า ผมสามารถทำโอทีเกิน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาได้ หากผมทำหนังสือยินยอมให้บริษัท หรือผมสมัครใจทำเกินเอง โดยที่ไม่ได้ทำหนังสือยินยอมให้บริษัทได้

4.ขอบรบกวนท่านที่ปรึกษา ช่วยอธิบายเรื่องโอที นี้ด้วยครับ บริษัทควรทำอย่างไร ผมจะได้แนะนำฝ่ายบุคคลได้ถูกครับ ส่วนผมเองก็จะได้คิดเป็นครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ



ผู้ตั้งกระทู้ กิตติพัฒน์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-02 13:29:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3058794)

งาน IT ไม่ใช่งานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง หรืองานฉุกเฉิน หากหยุุดแล้วจะเสียหายกับงาน วันนี้ทำไม่เสร็จ พรุ่งนี้ก็สามารถมาทำได้ ดังนั้นจะไม่เข้าข่ายข้อบังคับตามมาตรา 24  fดังนั้นงาน IT ถือว่าเป็นงานปกติ ที่หากทำงานเกินกว่าเวลาทำงานปกติก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา และการทำงานล่วงเวลา จะต้องมีเงื่อนไขคือ

1. มีงานที่จำเป็นต้องทำ

2. นายจ้างสั่งให้ทำ

3. ลูกจ้างตกลงทำ โดยลงนามยินยอมเป็นคราวๆไป

เข้า 3 องค์ประกอบนี้ ถือว่าได้มีการทำงานล่วงเวลา

ตามเงื่อนไขที่ถามมา

1. หากนายจ้างไม่สั่งให้ทำ คุณทำเอง เพราะมีความรับผิดชอบสูง ก็ไม่ถือว่าคุณทำ O/T นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา แต่จะจ่ายให้ก็แล้วแต่นายจ้าง ไม่เข้าองค์ประกอบข้างต้น

2. หากนายจ้างสั่งให้ทำและคุณตกลงทำ คุณก็มีสิทธิได้เงิน O/T

3. กฎหมายกำหนดว่าการทำงานล่วงเวลาอนุญาตไม่เกิน 36 ชั่วโทงต่อสัปดาห์ หากนายจ้างให้ทำเกิน ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องร้ายแรงที่จะเอาผิดทางกฎหมายกัน หากนายจ้างจ่ายเงินค่าล่วงเวลาอย่างถูกต้อง

ที่นายจ้างควรทำคือ จัดทำใบขอการทำงานล่วงเวลา ที่มีรายละเอียดของงานที่ทำ เวลาที่ทำ วันที่ทำ ชื่อพนักงานที่จะทำ และให้พนักงานลงนามยินยอมรับทราบทุกวันที่มีการทำงาน หัวหน้างานลงนามอนุมัติในฐานะนายจ้าง ก็ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-10-02 15:06:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.