ReadyPlanet.com


การกล่าวหาลูกจ้าง


1. ลูกจ้างหลายคนเป็นพนักงานขาย มีหน้าที่ขายสินค้าเงินสด

2. ลูกจ้างขายสินค้าให้กับลูกค้าคนรู้จัก (ทำงานที่เดียวกันแต่คนละบริษัท)

3. การรับจ่ายเงินคนรู้จัก เป็นผู้ช่วยจัดการให้ (ด้วยความไว้วางใจ)

4. คนรู้จักนำเงินจากลูกค้าไปหมุน ไม่สามารถนำมาเคลียร์ได้

5. บริษัทฯ จับได้เนื่องจากไม่มียอดเงินมาเคลียร์เป็นเวลานาน

6. ด้วยความละอายคนรู้จักจึงออกจากงาน และหลบหน้าหนีไป ตามหาไม่เจอ

7. บริษัทฯให้ลูกจ้างทั้งหลายรับผิดชอบเคลียร์เงินให้บริษัทฯตามจำนวน ตามส่วนที่ตนเองเกี่ยวข้อง (ลูกจ้างนำมาจ่ายครบทุกคน)

8. พอบริษัทฯได้เงินครบ บริษัทฯ เลิกจ้างลูกจ้างที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

9. ด้วยเซ็นต์ทางการขายที่สะสมมา ลูกจ้าง(เดิม) ไปรับสินค้าจากลูกค้า(รายใหญ่)บริษัทฯ ไปขายปลีกย่อย ตามพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ

10. อาจไม่มีเสื้อผ้าที่ดูดีใส่ ลูกจ้าง(เดิม) จึงใส่ชุดฟอร์มของบริษัทฯ

11. ด้วยความผูกพันธ์ จึงตัดโลโก้บริษัทฯ ติดรถของตนเอง

12. การซื้อขายต่อรองเป็นไปตามดุลพินิจ

13. บริษัทฯ รู้ เกรงว่าจะมีปัญหา จึงทำจดหมายถึงลูกค้า (มีรูปถ่าย)  พร้องทั้งติดประกาศภายใน ว่ากลุ่มลูกจ้างดังกล่าว ทุจริตด้วยการยักยอกทรัพย์ และได้ทำการเลิกจ้าง

  ขอให้ที่ปรึกษา และผู้คงวิชา กรุณาตอบทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทั้งได้ - ไม่ได้ ถูก - ผิด วิธีที่ถูกต้อง หนทางแก้ไข



ผู้ตั้งกระทู้ z^hlk :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-26 16:48:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3194016)

ต้องดูระเบียบในเรื่องการนำเงินมาเคลียร์ว่าเป็นอย่างไร หากพนักงานขายไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องเงิน ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง การที่ไม่เอาเงินมาเคลียร์ภายในกำหนด แม้จะเอามาเคลียร์ภายหลังก็ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว แต่การเลิกจ้างนั้นถือว่าทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่

การทุจริต คือ การแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหนือผู้อื่นโดยใช้อำนาจหน้าที่ของตนเอง การที่ไม่สามารถ เคลียร์เงินได้เพราะไว้วางใจผู้อื่นให้เก็บเงิน ถือเงิน แล้วสูญหายไป ไม่ได้ถือว่าพนักงานทุจริต แต่น่าจะเป้นการประมาทเลินเล่อ แต่บริษัทได้รับเงินคืนทั้งหมดแล้ว ถามว่าบริษัท ได้รับความเสียหายหรือไม่ ก็เป็นเรื่องน่าคิด

การที่ให้พนักงานออกไปแล้ว และมีการใช้เครื่องแบบและตามนายจ้างติดรถโดยไม่มีสิทธิ เพื่อหวังให้ผู้อื่นเข้าใจผิดนั้น เข้าข่ายการหลอกลวง น่าจะเรียกคนเหล่านั้น มาคุยและให้หยุดการกระทำนั้น มิฉะนั้นจะแจ้งความดำเนินคดี น่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่า

การออกหลังสือประกาศ ใดๆที่ทำให้บุคคลเสียหาย และข้อความนั้น ไม่เป็นความจริง ผู้ประกาศก็อาจจะประสพกับข้อหาหมิ่นประมาทได้ ไม่น่าจะออกประกาศแจ้งทั้งลูกค้า หรือ คนภายในทราบ

การประจานคนไม่ใช่ของดี น่าจะหาวิธีที่ละมุนละม่อมและไห้ยอมรับกันได้ทุกฝ่ายจะดีที่สุด

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-06-30 12:01:15



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.