ReadyPlanet.com


กฎการหักเงินพนักงานเมื่อกระทำผิดกฎ (สมเหตุ สมผลแค่ไหน????)


 

                                 ประกาศ
 
ตามมติที่ประชุมวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552  ใด้มีการแก้ใขการกำหนดค่าปรับพนักงานกรณีต่างๆ  ดังต่อไปนี้ คือ/-
 
กรณีเข้างานสาย
1)    สายไม่เกินครึ่งชั่วโมง (ส) ปรับเป็นเงิน 30  บาท
2)    สายเกินครึ่งชั่วโมง แต่ไม่เกินหนึ่งชั่วโมง (สส) ปรับเป็นเงิน 50  บาท
3)    สายเกินหนึ่งชั่วโมง (สสส) ปรับขั้นต้นที่ 50  บาท  +  ค่าแรงต่อชั่วโมง
      (เศษของชั่วโมงนับเป็น 1 ชั่วโมง)ปรับจนถึงเวลาที่มาสแกนนิ้วเข้างาน
4)    ถ้าไม่มีการสแกนนิ้วทั้ง เข้า และ ออก  ตัดเป็นขาดงาน
5)    หากเครื่องไม่ตอบสนองในการสแกนเวลาเข้า และ ออก งาน ผู้จัดการฝ่ายฯ
นั้นๆ ต้องพิจารณาเวลาเซ็นต์อนุมัติให้พนักงาน
6)    เอกสารต่างๆที่ต้องนำส่งฝ่ายทรัพยากรบุคคล  (ไม่เกินวันที่ 16 ของทุกๆเดือน)  หากพนักงานส่งเกินกำหนดเวลา และมีผลให้พนักงานโดนหักเงิน
ทางบริษัทฯ จะคืนเงินที่หักให้พนักงานเพียง  90%  ของจำนวนเงินที่หักไป
เท่านั้น  โดยจะคืนให้ในรอบถัดไป
7)    เงินค่าปรับในการเข้าทำงานสาย และ/หรือ ไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบ
บริษัทฯ จะนำไปใช้ในการเลี้ยงประจำปีให้พนักงาน  รวมทั้งซื้อของ
รางวัลในงานประจำปี
 
ทั้งนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ รอบ 16  ตุลาคม  2552   ถึง  15  พฤศจิกายน  2552
เป็นต้นไป  จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
 
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

จากข้อความประกาศด้านบน ผมขอปรึกษาดังนี้

1) กฎการหักเงินต่าง ๆ ถือเป็นการขัดต่อกฎหมายแรงงานมาตราที่ 76 หรือไม่

2) กรณีการคืนเงินกลับให้พนักงานไม่เต็มจำนวนถือเป็นการยักยอกทรัพย์หรือไม่

3) กฎที่ออกมาประกาศทาง Email นั้น ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ จึงถือเป็นกฎที่สมบูรณ์ การออกกฎลักษณะนี้ ถือเป็นการละเมิดได้หรือไม่ เพราะเป็นการเข้าใจเพียงฝ่ายเดียว (นายจ้าง)

ขอปรึกษาปัญหากฎหมายเพียงเท่านี้ครับ ขอขอบคุณล่วงหน้า และขอให้เว๊บไซด์นี้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไปเพื่อเป็นที่ปรึกษาปัญหาแรงงานแก่พนักงานชั้นผู้น้อยต่อไป

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ



ผู้ตั้งกระทู้ พนักงานชั้นผู้น้อย :: วันที่ลงประกาศ 2009-11-22 10:39:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3132250)
การหักเงิน ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับ หรือจะเรียกอะไรก็ตาม ยกเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จะหักได้ต้องได้รับคำยินยอมจากลูกจ้างก่อนเท่านั้น ไม่สามารถหักเงินหรือกำหนดมาโดยลูกจ้างไม่บินยอม ไม่ได้
ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-11-26 13:07:55



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.