ReadyPlanet.com


กรณีออกกฏข้อบังคับว่าลงโทษลดเงินเดือน/ลดตำแหน่ง ทำได้หรือไม่


ดิฉันเป็นนายจ้าง

 

และอยากเรียนถามท่านที่ปรึกษาว่า กรณีบริษัทดิฉันเองจะเขียนในข้อบังคับการทำงานว่า

ลำดับการลงโทษ ได้แก่ ครั้งที่ 1 ตักเตือน  ครั้งที่ 2 ออกหนังสือเตือน ครั้งที่ 3 ลงโทษ

ประเภทการลงโทษ ได้แก่ 1.ลดเงินเดือน  จำนวนเงินที่ลด ยอดการลดใน 1 ครั้ง ไม่เกินครึ่งหนึ่งของฐานเงินเดือน ในช่วงเวลาไม่เกิน6เดือน

2.ลดตำแหน่ง  การลดตำแหน่งและหยุดการจ่ายค่าตำแหน่ง

3.เลิกจ้างโดยชี้แจงเหตุผล  แม้ในกรณีที่มีความประพฤติที่เข้าข่ายการเลิกจ้างแบบลงโทษ แต่จะมีการแนะนำให้ยื่นใบลาออก และถือเป็นการเลิกจ้างแบบชี้แจงเหตุผลได้เป็นกรณีๆไป อนึ่งหากไม่ยื่นใบลาออกภายใน7วันหลังจากที่ได้รับการลงโทษนี้ จะให้เป็นการเลิกจ้างแบบลงโทษ

4.การเลิกจ้างแบบลงโทษ เลิกจ้างทันทีโดยไม่มีการกำหนดช่วงเลาบอกกล่าวล่วงหน้า

 

ไม่ทราบว่าจะผิดกฎหมายหรือไม่ จะสามารถบังคับใช้กับลูกจ้างในองค์กรได้หรือไม่ และท่านมีอะไรแนะนำเพิ่มเติมบ้าง  ค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ จะรอคำตอบนะคะ



ผู้ตั้งกระทู้ NISA :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-17 16:43:55


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3051911)

หากเขียนลำดับการลงโทษไว้ชัดเจน ก็ต้องเป็นไปตามนั้น

แต่การลโทษโดยการลดเงินเดือนนั้น ยังไม่มีกฎหมายอะไรมารองรับให้เป็นที่แน่ชัดว่า ว่าสามารถทำได้หรือไม่ แต่เมื่อระบุไว้ในระเบียบแล้วก็คงต้องว่าตามนั้น แต่การลดเงินเดือน เพื่อการลงโทษจริงๆแล้ว น่าจะต้องคำนึงว่า ด้วยเงินเพียง ครึ่งหนึ่งนั้น ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ซึ่งลดถึง 6 เดือนน่าจะไม่ค่อยเป็นธรรมนักสำหรับพนักงานและอาจเหมือนกับเป็นการบีบให้พนักงานออกจากงานได้ ซึ่งปกติจะไม่ใช้การลงโทษทางวินัยโดยการลดเงินเดือน อาจลงโทษโดยใช้มาตรการอื่นน่าจะเหมาะสมกว่า

ส่วนการลดตำแหน่งและลดค่าตำแหน่งลงนั้น เช่นเดียวกันหากเขียนไว้ในระเบียบแล้วพนักงานรับทราบโดยทั่วกันแล้ว ก็สามารถดำเนินการได้ แต่ไม่ค่อยมีใครทำกัน แต่อาจจะมองว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างก็สามารถมองได้เหมือนกัน 

ส่วนการเลิกจ้าง หากเป็นเรื่องของความผิดร้ายแรง เข้าข่าย มาตรา 119 ก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ร้ายแรงเป็นอาจิณ ไม่ทำตัวให้สมกับเป็นลูกจ้างที่ดี เมื่อเลิกจ้างก็ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย 

การที่จะใช้มาตรการทางวินัยนั้น เพื่อเป็นการลงโทษให้ลูกจ้างที่ฝ่าฝืน ไม่ทำการฝ่าฝืนเช่นนั้นอีก แต่มาตรการต่างๆ ควรต้องชัดเจนและเป็นธรรม ไม่ใช่ให้ลูกจ้างไม่ต้องการอยู่กับบริษัทอีก หรือเกิดความคับข้องใจ มาตรการทางวินัย เมื่อมีการเริ่มต้น ก็ต้องมีการสิ้นสุด เช่นการพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง อาจจะเป็น 3 วัน 5 วัน แค่นี้ลูกจ้างก็แย่แล้ว หรือการลดค่าจ้าง ต้องให้ลูกจ้างอยู่รอดได้ในสังคมด้วย การลดค่าจ้าง 6 เดือน ลูกจ้างยิ่งแย่ลงอีก ในขณะเดียวกัน เพื่อนร่วมงานแทนที่จะเข้าข้างและเห็นใจบริษัท กลับกลายเป็นเห็นใจลูกจ้างมากกว่า morale ก็จะเสียไป

การเขียนระเบียบในเรื่องการลงโทษทางวินัยนั้น ไม่ควรมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ควรจัดให้พอดีแมเหตุผล และให้พนักงานเข้าใจว่าไม่ได้เป็นการบีบบังคับพนักงานจนเกินไป

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-09-18 08:39:01



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.