ReadyPlanet.com


สลับวันหยุด


1. หากลูกจ้างขอสลับวันหยุด กับวันทำงานเพื่อไปติดต่อราชการในวันธรรมดา โดยจะมาทำทดแทนในวันหยุด เช่นนี้ต้องจ่ายค่าทำงานในหยุดหรือไม่คะ

2. หากบริษัทหยุดเสาร์เว้นเสาร์ วันที่ขอแลกเป็นเสาร์ที่หยุด ผลเป็นอย่างไรคะ

3. ลูกจ้างขอสลับวันกันเอง โดยแลกวันกันเองระหว่างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหรือไม่

รบกวนด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ T :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-17 15:53:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3191483)

1 - 2 การให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด ต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา

3 การมาทำงานในวันหยุด โดยนายจ้างไม่ได้สั่ง ไม่ต้องจ่ายค่่าทำงานล่วงเวลา

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2010-06-19 17:31:35


ความคิดเห็นที่ 2 (3191846)

1. หากลูกจ้างประสงค์ที่จะขอแลกวันหยุด และยื่นความจำนงมายังนายจ้าง และนายจ้างตอบสนองความต้องการของลูกจ้าง ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยความสมัครใจของลูกจ้างเอง ดังนั้นมีผลใช้บังคับได้ และไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่ลูกจ้าง เพราะสภาพการจ้างเปลี่ยนแปลงไปชั่วคราว เช่นเดียวกับ ในวันสงกรานต์ ลูกจ้างต้องการหยุดยาวขอเปลี่ยนแปลงวันหยุดตามประเพณีก็สามารถทำได้เพราะเป็นการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

2. ข้อ2 ก็เช่นเดียวกัน

3. หากลูกจ้างขอสลับกันเอง ลูกจ้างมาทำงานในวันหยุดของตนโดยนายจ้างไม่ได้สั่งให้มาทำงาน ก็ไม่ถือว่าเป็นการทำงานในวันหยุด ไม่ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-06-21 08:15:42


ความคิดเห็นที่ 3 (3191980)

ขอบคุณมากค่ะ แต่ข้อ 1 คำตอบยังแย้งกันอยู่ ตกลงควรทำอย่างไรดีคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น T วันที่ตอบ 2010-06-21 16:45:37


ความคิดเห็นที่ 4 (3192229)

ตามความเห็นของผมเอง เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้าง หรือระเบียบข้อบังคับในการทำงาน หากพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องให้การยินยอมเป็นหนังสือข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอไม่ได้มาจากนายจ้างแต่เป็นความประสงค์ของลูกจ้าง เมื่อเปลี่ยนแล้ว หากระบุไว้ในข้อตกลงถึงกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อครบกำหนดก็สามารถย้อนกลับไปเป็นข้อตกลงเดิม สามารถทำได้

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-06-22 08:07:49


ความคิดเห็นที่ 5 (3192250)

ขอบคุณมากค่ะ คิดอย่างนี้เหมือนกัน

แต่โทรถามกรมแรงงานเค้าก็ถามว่าแล้วเปลี่ยนถาวรเลยมั้ย ถ้าไม่ก็ไม่ได้ งงไปใหญ่เฮ้อ

ผู้แสดงความคิดเห็น T วันที่ตอบ 2010-06-22 09:10:18


ความคิดเห็นที่ 6 (3192323)

เจ้าหน้าที่แรงงานไม่เคยที่จะตอบให้ชัดเจนลงไปว่าได้หรือไม่ได้ เพราะจะมีผลกับอนาคตของตนเองเหมือนกัน หากมีผู้ร้องเรียนก็โดนดอง ส่วนใหญ่ก็จะให้ศาลเป็นผู้ตัดสินให้แทน

กรณีต้นปี 2551 บางนายจ้างประสพปัญหา ลูกจ้างก็ขอลดค่าจ้างตนเองลง 10% เป้นเวลา 8 เดือน หลังจากนั้นก็ขอเป็นเงินเดือนเดิม นายจ้างตกลงด้วยความตื้นตัน ถามว่ามีผลใช้บังคับหรือไม่ คือมีผลใช้บังคับ

ข้อตกลงสภาพการจ้าง ที่มาจากข้อตกลงกับสพภาพ ยังสามารถกำหนดเป็นระยะเวลาได้ และมีผลใช้บังคับตามกฎหมาย เช่น เงินโบนัส ปีนี้จ่ายเท่าไรเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปีหน้า ค่อยมาว่ากันใหม่

บางเรื่องเป็นข้อตกลงปลายเปิด มายุข้อตกลง 3 ปี แต่เปิดไว้ว่าวสามารถเจรจา โบนัสและเงินขึ้นปีต่อปี แรงงานจังหวัดยังรับจดทะเบียนให้ แถมบอกว่าปีถัดไปหากตกลงกันไม่ได้ ก็มีสิทธินัดหยุดงานได้ ทั้งๆที่สภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับ เช่นนี้เป้นการฝ่าฝืนกฎหมายหากมีการนัดหยุดงาน ก็ยังรับจดทะเบียนให้ เหตุผลคือ ให้จบๆลงไป ไม่ให้มีปัญหา หากมีปัญหาในปีถัดไปค่อยมาว่ากัน หรือ ตนเองไม่อยู่ที่จังหวัดนั้นไปแล้ว

หากต้องการคำตอบที่ชัดเจน ถูกต้องมีเหตุผล support ต้องไปที่ศาลแรงงานจะดีที่สุด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-06-22 12:40:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.