ReadyPlanet.com


ไปสอบบรรจุข้าราชการจึงถูกเรียกไปเขียนใบลาออก แต่ให้เขียนว่า ออกไปทำธุรกิจส่วนตัว


สอบถามค่ะ ช่วยตอบก่อนวันจันทน์นะค่ะ

ดิฉันเป็นครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งค่ะ  และเนื่องจากวันที่ 12-13 พ.ค. นี้ จะมีการสอบบรรจุครูผู้ช่วย ซึ่งครูที่โรงเรียนและตัวดิฉันได้ไปสมัครสอบไว้แล้ว อ่านหนังสือเตรียมสอบ  แต่เมื่อวานมีเรื่องแจ้งว่า ทางเจ้าของโรงเรียนได้บอกว่า หากครูคนใดที่ไปสอบบรรจุให้มาเขียนใบลาออกไว้ก่อน(ทางโรงเรียนมีรายชื่อครูที่ไปสมัครไว้) ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นการริดรอนสิทธิ์อย่างมาก เพราะทางโรงเรียนไม่มีกฏข้อใดระบุว่า บุคลากรทุกคนห้ามสอบบรรจุข้าราชการ ดิฉันจึงคิดว่าเรามีสิทธิ์ในการสอบแน่นอน  และทางโรงเรียนจะแจ้งให้ทราบอย่างเป็นทางการในวันจันทร์หน้านะค่ะ   จึงอยากถามว่า  1. เราจะสามารถเอาผิดกับทางโรงเรียนได้มั้ย และจะพูดอย่างไร แต่ที่แน่ๆดิฉันจะไม่ยอมเขียนใบลาออกเด็ดขาด (กลัวสู้คดีไม่ได้ เพราะเจ้าของโรงเรียนเป็นผู้มีชื่อเสียงมาก)

2. เราจะทำอย่างไรให้เขาจ่ายเงินชดเชยให้ (เพราะคิดว่าทางโรงเรียนต้องไม่ยอมเสียเงินเป็นแน่) และโรงเรียนต้องจ่ายให้เราในกรณีใดบ้าง และจ่ายเท่าไหร่ค่ะ เราะหากดิฉันออกจากงานก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้งานทำ เพราะการรับสมัครครูทุกโรงเรียนเขารับกันช่วงปิดเทอม และการแข่งขันก็สูงด้วยค่ะมีเด็กจบใหม่เยอะด้วย ตอนนี้ก็เปิดเทอมแล้ว ( 17 พ.ค. เปิดทุกโรง) จึงคิดว่าเป็นไปได้ยากที่จะได้งานใหม่ทันที  เพราะการสอบบรรจุเราไม่รู้ว่าเราจะสอบติดหรือไม่  และถ้าสอบติดถ้าไม่ได้อันดับ 1 ก็ต้องรอเรียกตัวอีกที ให้ขึ้นบัญชีรายชื่อไว้ก่อน เป็นเวลา 2 ปีเท่านั้น หาก 2 ปี แล้วไม่ถึงลำดับเราก็ถือว่ายกเลิกทันที

**เคยมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วค่ะ  เมื่อ 3 -4 ปีก่อน ก็มีครูบางคนที่ยอมอยู่ไม่กล้าไปสอบ  และส่วนครูที่ไปสอบเขาก็ไล่ออกจริงๆแต่คงให้ครูไปเขียนใบลาออกนะค่ะ ก็เลยไม่เห็นมีเรื่องคดีใดๆเลย  จึงอยากหาทางป้องกันนะค่ะ เพราะทางโรงเรียนจะทำเช่นกรณีนี้จริงๆ และตัวดิฉันก็จะไปสอบแน่นอนค่ะเพราะมันเป็นสิทธิ์ของเรา 

  แต่ปีนี้ การสอบเลื่อนมาเป็นวันทำงาน คือวันพุธกับวันพฤหัสฯ เราจะมีวิธีการอย่างไรเพื่อไม่ให้ทางโรงเรียนนำมาเป็นข้ออ้างในการไล่ออก ดิฉันคิดว่าจะเขียนใบลา 2 วัน และแจ้งเหตุผลที่แท้จริงว่าไปสอบบรรจุนะค่ะ ดิฉันทำถูกแล้วใช่มั้ยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ความทุกข์ครูเอกชน :: วันที่ลงประกาศ 2010-05-08 15:28:06


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3177572)

ตามกฏหมาย หากลากิจไปสอบแล้วนายจ้างไม่อนุมัติแล้วยังไปสอบอยู่ ก็ถือว่าขาดงาน  แต่ถ้าขาดไป 2 วันจะได้มั้ย นายจ้างมีสิทธิ์ไล่ออกมั้ย  แล้วจะทำไงดี......

ผู้แสดงความคิดเห็น noppawan วันที่ตอบ 2010-05-08 20:18:32


ความคิดเห็นที่ 2 (3177829)

การลาออกเป็นสิทธิของลูํกจ้าง นายจ้างบังคับไม่ได้ เพียงแค่เรียกให้ลูกจ้างลาออกไม่ถือว่านายจ้างกระทำผิด

หากนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุลาไปสอบนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2010-05-09 23:12:47


ความคิดเห็นที่ 3 (3178678)

นายจ้างมีสิทธิให้พนักงานออกได้ตลอดเวลา ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่การเลิกจ้างนั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยหรือไม่นั้นก็ต้องเป็นเหตุที่นายจ้างให้ออก หากลาไปสอบ 2 วัน นายจ้างไม่ให้ไป แต่ละทิ้งหน้าที่ไป ก็ถือว่าฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้าง นายจ้างสามารถลงโทษทางวินัยได้ แต่ไม่ถึงกับเลิกจ้าง แต่หากนายจ้างเคยเตือนเป็นหนังสือเรื่องละทิ้งหน้าที่มาแล้วไม่เกิน 1 ปี นายจ้างก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

หากละทิ้งหน้าที่ครั้งแรกแล้วนายจ้างเลิกจ้าง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-05-13 08:23:51


ความคิดเห็นที่ 4 (3185877)

 

          ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นในฐานะเจ้าของโรงเรียนเอกชน ตามที่ได้อ่านข้างต้น ทางโรงเรียนได้แจ้งให้ทราบเรื่องระเบียบของโรงเรียน หากบุคลากรครูผู้ใดมีความประสงค์จะสอบบรรจุ ต้องทำการลาออกให้เรียบร้อย เพื่อทางโรงเรียนมีสิทธิในการจ้างครูที่สามารถทำการเรียนการสอนได้อย่างน้อยตลอดปีการศึกษา เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และประโยชน์ของผู้เรียนเองไม่ต้องเปลี่ยนครูกลางปี หากมีการเรียกบรรจุ ซึ่งทางโรงเรียนดิฉันก็ได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันกับโรงเรียนที่ครูผู้ที่โพสลง มีกรณีครูหลบหนีไปทำการสอบ ทางโรงเรียนจึงให้มีการเรียกครูมาเขียนใบลาออก เพราะทำผิดระเบียบของโรงเรียน โดยปราศจากเงินชดเชย เนื่องจากครูผู้นั้นควรลาออกสองเดือนก่อนการสอบบรรจุ   เพื่อในเวลานั้นทางโรงเรียนจะสามารถสรรหาครูใหม่มาปฏิบัติงานในปีการศึกษาใหม่ได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นข้อตกลงระหว่างครูและฝ่ายเจ้าของตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน และได้รับความเห็นชอบเป็นข้อปฏิบัติตลอดมา ครูไม่สมควรเอาเหตุผลส่วนตัว เพื่อเห็นประโยชน์แก่ตนมาอ้างฝ่ายเดียว ควรเห็นแก่นักเรียน และโรงเรียนบ้าง 

ผู้แสดงความคิดเห็น นายจ้าง วันที่ตอบ 2010-06-01 09:07:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.