ReadyPlanet.com


ยกเลิกสัญญาการทำงาน


สวัสดีครับผมจะปรึกษาเกี่ยวกับการยกเลิกสัญญาการจ้างงานครับ

รายละเอียดของสัญญาจ้างมีดังนี้ครับ (ผมจะพูดข้อที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา เนื่องจากข้ออื่นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฏของบริษัทเท่านั้น)

1.ผู้ว่าจ้างตกลงจ้าง และผู้รับจ้างตกลงรับจ้างเข้าทำงานในตำแหน่ง ....................... มีหน้าที่รับผิดชอบ.............. อัตราเงินเดือน ....................... มีกำหนดระยะเวลาว่าจ้าง 3 ปี เริ่มตั้งแต่ ............... เป็นต้นไป

2.ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างในรูปแบบของเงินเดือน โดยผ่านธนาคาร .................. สาขา............. ทุกวันสุดท้ายของเดือน โดยผู้รับจ้างจะเป็นผู้ถือบัตร ATM ไว้เอง ทั้งนี้ผู้ว่าจ้างจะดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฏหมายกำหนดไว้ ณ เวลาจ่ายเงินเดือนผ่านทางธนาคาร

3.ข้อ (3) ถึง ข้อ (5) เป็นกฏระเบียบที่ต้องทำตาม

6.เพื่อเป็นหลักประกันในการเข้าทำงานกับผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้างได้ทำประกันภัยการค้ำประกันสำหรับการทำงานของผู้รับจ้างไว้เป็นเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) กับบริษัท................................. จำกัด (มหาชน) สำหรับเบี้ยประกันภัยฝ่ายผู้รับจ้างเป็นฝ่ายรับผิดชอบ ซึ่งผู้รับจ้างยินยอมที่จะให้ผู้ว่าจ้างเรียกร้องค่าสินไหมจากกรมธรรม์ประกันภัยการค้ำประกันสัญญาได้เต็มจำนวนโดยผู้รับจ้างไม่มีสิทธิคัดค้านใดๆ

7.ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้
7.1 ริบหลักประกันตามสัญญานี้
7.2 เรียกค่าเสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้น

สัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความดีโดยตลอดแล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ และเก็บไว้ฝ่ายละฉบับ

**** สัญญาฉบับนี้ไม่สมบูรณ์ครับ(อาจจะเข้าใจผิด) เนื่องจากไม่มีบริษัทไหนมารับค้ำประกันการทำงานให้ ผู้ว่าจ้างจึงเปลี่ยนเป็นหักเงินเดือน ๆ ละ 1,000 บาท แทน ถ้าอยู่ครบสัญญาจะคืนเงินที่หักไปให้ครบตามจำนวน แต่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือสัญญาครับ แต่มีการหักเงิน 1,000 บาท ทุกๆ เดือน (หลักฐานดูได้จากการโอนเงินเข้าบัญชี) และสัญญาฉบับนี้ทำไว้แค่ของทางบริษัท ไม่ได้ทำไว้สองฉบับตามสัญญา

ปัญญามีอย่างนี้ครับ คือ ผมต้องการลาออกจากบริษัท เนื่องจากได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับสัญญา คือมีการจ่ายเงินเดือนไม่ตรงตลอด โดยจ่ายหลังจากสิ้นเดือนแล้ว 5 วันบ้าง 1 อาทิตย์บ้าง 20 วันบ้าง (ดูได้จากการโอนเงินเข้าบัญชี) และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 บริษัทประสบปัญหาการเงิน จึงขอจ่ายเงินเดือนครึ่งหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจะใช้คืนให้ทีหลัง (ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ) แต่มา 4 เดือนนี้กลับไม่ได้รับเงินเดือนเลย ผมจึงเข้าไปคุยกับเขาว่าจะจ่ายให้เมื่อไหร่ ตกลงจะจ่ายเงินเดือนประมาณเดือนตุลาคม 2552 หรือ พฤศจิกายน 2552 นี้

ในกรณีที่ผมได้รับเงินคืนทั้งหมดแล้ว จะสามารถลาออกได้หรือเปล่าครับ เพราะสภาพคล่องของบริษัทไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้อีก (ผมเคยปรึกษากรมแรงงานแล้วเขาให้ร้องเรียนให้จ่ายค่าจ้าง แต่ผมกลัวว่าจะไม่ได้รับเงินเดือนทั้งหมด เนื่องจากเป็นหลักแสน จึงใช้วิธีให้เขามีเงินมาจ่ายก่อน แล้วค่อยลาออก)

ผมได้ยื่นเรื่องลาออก แต่กลับถูกอ้างถึงสัญญาที่ทำไว้ ว่าจะริบเงิน 200,000 บาท ทั้งที่จริงเปลี่ยนเป็นหักเงินเดือน ๆ ละ 1,000 บาทแทน แต่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ และไม่มีบริษัทไหนมารับค้ำประกันการทำงานให้ (สัญญาฉบับนั้นปัจจุบันก็เว้นช่องผู้ค้ำประกันไว้อยู่) ทางบริษัทจะอ้างถึงสัญญานี้ได้หรือเปล่าครับ

ผมมีวิธีไหนที่จะลาออกได้โดยที่ไม่ถูกฟ้องร้องครับ และสัญญาดังกล่าวจะสมบูรณ์อยู่หรือเปล่าครับ
รบกวนผู้รู้ทุกท่านช่วยแนะนำด้วยครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ



ผู้ตั้งกระทู้ maxzimus :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-18 22:49:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3065843)

การค้ำประกันตามกฎหมาย ให้ทำค้ำประกันได้ในงานเงินไม่เกิน 60 เท่าของค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน คือประมาณไม่เกิน 2 เท่าของเงินเดือน และหน้าที่งานที่ต้องทำค้ำประกันนั้น เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้างเท่านั้น งานอื่นนายจ้างไม่สามารถให้ทำค้ำประกันหรือเรียกหลักประกันได้

ต้องพิจารณาว่า หน้าที่การงานที่ทำสัญญาไว้นั้น เป็นงานเกี่ยวข้องกับการเงิน หรือ ทรัพย์สินหรือไม่ และหากใช่หลักประกันไม่เกิน 2 เท่าของเงินเดือน หากไม่เข้าข่ายก็ไมาสามารถเรียกเงินค้ำประกันได้ หากนายจ้างฝ่าฝืน นายจ้างอาจถูกดำเนินคดีทางอาญาได้ แม้เซ็นไปแล้ว สัญญานั้นก็ถือเป็นโมฆะเพราะขัดกับกฎหมายเรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ในเรื่องของการหักเงินเดือนนั้น  ไม่สามารถทำได้หากไม่ได้รับคำยินยอมจากลูกจ้าง 

หากต้องการเงินก็ควรพูดคุยกับนายจ้าง หากยังพูดกันไม่รู้เรื่องก็คงต้องพึ่งบารมีจากศาล

นายจ้างหลายรายที่ใช้สถานะการณ์ทางเศรษฐกิจ เอาเปรียบลูกจ้าง ทั้งที่นายจ้างบางรายยังไม่ถึงกับขาดทุน หรือประสพภาวะเศรษฐกิจอย่างรุนแรง แต่เพียงต้องการเอาเปรียบให้มากที่สุดเท่านั้น

การลาออก นายจ้างอาจฟ้อง แต่ก็ไม่ห้ามที่จะไม่ให้ลูกจ้างฟ้องนายจ้างได้ด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-10-19 16:55:20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.