ReadyPlanet.com


จะฟ้องบริษัทได้หรือไม่


พ่อของหนูถูกบ.แจ้งให้เกษียณอายุ55ปีทั้งที่บ.มีกฎเกษียณอายุที่60ปีซึ่งทางบ.ได้อ้างให้ทำสัญญาต่ออายุงานเป็นปีต่อปีหลังจาก55ปีที่เกษียณและเงินชดเชยตอนเกษียณยังไม่ได้รับ(ซึ่งตามกม.ต้องได้รับอะไรบ้างหนูไม่ทราบ)โดยอ้างว่าจะรวบรวมให้ทีเดียวหลังจากอายุครบ60ในวันที่10/12/51ซึ่งจะจ่ายในเงินเดือนงวด12/2551(พ่อทำงานที่นี่รวมแล้วก็20ปีค่ะ)แต่เนื่องด้วยพ่อป่วยเรื้อรังตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาพ่อไปหาหมอโดยใช้สิทธิ์ประกันสังคมแต่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นแค่ไข้หวัดบ้างกล้ามเนื้ออักเสบบ้างและถึงแม้บางครั้งใบรับรองแพทย์แจ้งให้หยุดงานเพื่อพักผ่อนแต่ทางบ.ไม่อนุญาติให้หยุดทำให้ร่างกายของพ่อแย่ติดต่อกันจนถึงวันที่พ่อนอนไม่ได้สติที่ทำงานเพื่อนพ่อจึงนำพ่อส่งตัวไปรพ.หลังจากตรวจอย่างละเอียดพบว่าพ่อมีเนื้องอกในสมองและแพทย์วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นเนื้อร้ายผู้จัดการทั่วไปของบ.ได้มาเยี่ยมและพอทราบอาการว่าพ่อต้องผ่าตัดและอาจพิการหรือเสียชีวิตทางบ.รีบดำเนินการให้สหภาพแรงงานมาแจ้งว่าจะยกเลิกสัญญาจ้างและจ่ายเงินให้ซึ่งแจ้งว่าเป็นเงินเดือน1เดือนพย. โอทีของเดือนพย.และเงินช่วยเหลือ(อ้างว่าช่วยค่ารักษา)และเดือนธค.จะจ่ายเงินค่าชดเชยให้ทั้งหมดแต่หลังจากพ่อเซ็นรับรับเงินของเดือนพย.มาแล้วประมาณ2วันทางสหภาพก็ได้นำใบยกเลิกจ้างมาให้พ่อ(ซึ่งหนูไม่เห็น)พ่อได้เสียชีวิตหลังจากการผ่าตัด20วันพ่อเสียวันที่20/12/2551บ.ได้มาเป็นเจ้าภาพให้1วันและประธานบ.ก็ให้เกียรติมาในวันเผาหลังงานเผาศพทางครอบครัวได้ถามถึงเงินช่วยเหลือกรณีพนักงานเสียชีวิตและเงินชดเชยต่างต่างกับทางบ.แต่กลับถูกปฏิเสธโดยบอกว่าพ่อพ้นสภาพการเป็นพนักงานแล้วจึงไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใดใดซึ่งพ่อพ้นสภาพการเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่30/11/2551แต่ไม่มีลายเซ็นพ่อเซ็นรับทราบเหมือนตอนเกษียณนะคะทางครอบครัวหนูสามารถฟ้องเรียกร้องค่าอะไรกับทาง บ. ได้บ้างคะ และมีขั้นตอนอย่างไร

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ลูกรัก :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-27 14:40:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2954857)

ลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนเข้ารับการผ่าตัดและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ลูกจ้างย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมาย

เงินช่วยเหลือกรณีลูกจ้างเสียชีวิตต้องพิจารณาตามระเบียบของนายจ้าง ซึ่งระเบียบน่าจะหมายถึงเสียชีวิตขณะเป็นลูกจ้าง การที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างก่อนเสียชีวิต ย่อมไม่ได้รับสิทธิในเงินช่วยเหลือดังกล่าว เซนต์รับทราบการพ้นสภาพหรือไม่ไม่สำคัญ

ค่าชดเชยถือเป็นมรดกตกทอดแก่บุตรผู้เป็นทายาท บุตรย่อมมีสิทธิฟ้องนายจ้างให้จ่ายค่าชดเชยได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2008-12-29 21:38:11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.