ReadyPlanet.com


พนักงานลาออกไม่แจ้งล่วงหน้า และฟ้องร้องค่าเสียหาย


พนักงานประจำ ทำงานติดต่อกันมา 1 ปีกว่าๆ มีกรณีว่ากล่าวและน้อยใจกับเจ้านาย 2-3 ครั้งค่อนข้างรุนแรงตั้งแต่ทำงานมา ล่าสุดลูกจ้างคนนี้ลาออกเนื่องจากไม่พอใจที่เจ้านายประกาศ (ในอีเมลล์) ว่าต้องมาทำงานตรงเวลา หากใครรับกฎนี้ไม่ได้อาจมีโทษให้ออก เจ้านายเตือนเช่นนี้อยู่ 3-4 ครั้ง สุดท้ายลูกจ้างลาออก แล้วยังมีจดหมายคิดค่าจ้างเต็มเดือน (แต่ทำงานไปได้แค่ 1 อาทิตย์ในเดือนที่ลาออก) และคิดค่าเสียหายเป็นเงินเดือนล่วงหน้าอีก 3 เดือน เจ้านายต่อรองด้วยการจ่ายค่าจ้างตามที่ทำงานไปตามจริง และให้โบนัสอีก 10,000 บาทเป็นการตอบแทน (เมื่อครั้งไปทำงานที่ต่างประเทศเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อเรื่องจะได้จบและไม่ติดใจ) แต่กลับได้รับหมายศาลเนื่องจากเขาไปฟ้องร้องกับกรมแรงงานค่ะ อย่างนี้นายจ้างควรทำอย่างไรคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ส้ม :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-08 20:16:27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3188391)

ขออนุญาตสอบถามท่านผู้รู้  กรุณาช่วยตอบด้วยนะครับ

คำถามมีอยู่ว่า   ผมทำงานที่บริษัทแห่งหนึ่งมานานมาก ก่อนก็สนิทกับนายจ้างเป็นอย่างดี ถือเป็นมือขาวก็ว่าได้   แต่สภาพปัจจุบันเปลี่ยนไปมากจนเกิดเหตุคือวันหนึ่งนายจ้างได้คุยเชิงบังคับโดยอ้างความไว้เนื้อเชื่อใจที่เคยทำงานร่วมกันมา   เพื่อใช้ลงชื่อเซ็นต์ใบลาออกไว้ก่อน  ผมก็ด้วยความซื่อ ก็ลงชื่อ   ต่อมานายจ้างได้เอาประเด็นนี้มาให้ฝ่ายบุคคลนำมาคุยกับผมว่า ขอลดเงินเดือนลง 50%และให้ลดตำแหน่งไปทำงานที่ต่ำลง  เพื่อลูก เมีย  บ้าน  รถ ที่ต้องรับผิดชอบอยู่ผมจึงยอมทำไปก่อนแต่ยังไม่พบทางออกที่เหมาะสมเคย  ผมไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายเลยครับ ขอความกรุณาด้วย

   อยากถามผู้รู้ว่า  ผมควรจะทำอย่างไรดี  ถ้าจะแจ้งกรมคุ้มครองแรงก็เกรงว่านายจ้างจะเอาใบลาออกที่เซ็นต์แต่ยังไม่ได้ใส่วันที่มาดัดหลัง   ตอนนี้ผมไม่เข้าใจเจ้านายจริง  เปลี่ยนไปมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น โอโน่ วันที่ตอบ 2010-06-08 23:01:26


ความคิดเห็นที่ 2 (3188464)

1. หากลูกจ้างไปร้องกรมแรงงาน คงไม่ใช่หมายศาล คงเป็นเพียงหนังสือเรียกให้นายจ้างไปพบเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ว่าลูกจ้างลาออกเอง หรือนายจ้างให้ออก หรือมีเงื่อนไขการจ้างอื่นอีหหรือไม่ หากเป็นเพียงหนังสือเชิญพบ ก็นัดหมายไปพบเจ้าหน้าที่แรงงาน เอาเอกสารใบลาออกไปยืนยันด้วย ว่าลูกจ้างลาออกจริง และเป็นใบลาออกที่ลูกจ้างเขียนในช่วงที่ต้องการลาออก หากนายจ้างไม่สามารถไปพบได้ก็แต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจที่รู้เรื่องนี้ดีไปให้ปากคำแทน

2. หากลูกจ้างไปฟ้องศาล จึงจะมีหมายศาลมา นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจต้องไปศาลตามนัด และควรต้องทำคำให้การจำเลยไปด้วยพร้อมกับเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไปให้การตามความเป็นจริง หากศาลเชื่อว่าลูกจ้างลาออกเอง เรื่องก็จบภายในวันเดียว

3. ค่าจ้างคิดถึงวันสุดท้ายที่มาทำงาน ในกรณีลาออกเอง

4. กรณีคุณโอโน่ ใบลาออกที่ลงนามไว้ล่วงหน้านั้น ไม่มีความหมายหากนายจ้างนำมาใช้ภายหลัง เดี๋ยวนี้ไม่ทำกันแล้ว เพราะสามารถพิสูจน์ได้ว่า ในขณะที่เขียนใบลาออกนั้น ยังไม่มีเจตนาที่แท้จริงต้องการลาออก หากนายจ้างเอามาใช้ถือว่า เป็นการเลิกจ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-06-09 09:40:22



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.