ReadyPlanet.com


การหักค่าแรงพนักงานวิธีนี้สามารถทำได้หรือไม่


เนื่องจากที่บริษัทใช้สูตรการคิดค่าล่วงเวลาให้พนักงาน ซึ่งเมื่อคิดเล้วจะได้ค่าโอทีมากกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อพนักงาน

สูตรที่บริษัท : เงินเดือน x 12 / 50 / 40 = ค่าแรงต่อชั่วโมง ที่จะนำมาคำนวณค่าล่วงเวลาในแต่ละประเภท
เช่นพนักงาน เงินเดือน 9,000 บาท จะได้ค่าแรงต่อชั่วโมงคือ 9000 x 12 / 52 / 40 = 51.92 บาท
และถ้าพนักงานทำงานล่วงเวลาหลังเวลาทำงานปกติ พนักงานจะได้รับค่าล่วงเวลา 1.5 เท่า = 77.88 บาท/ชม.
  
แต่ในกรณีที่พนักงานลาประเภทไม่ได้รับค่าแรง( เช่นกิจไม่จ่าย) และลาไม่ถึงครึ่งวัน ทางบริษัท จะนำค่าแรงต่อชั่วโมงที่ใช้ในการคำนวณโอที มาหักค่าแรง
เช่น พนักงานเงินเดือน 9,000 ลากิจไม่ได้รับค่าจ้าง 3 ชั่วโมง พนักงานจะถูกหักเงิน 155.76 บาท ( 51.92 x 3)
ซึ่งถ้าหักตามปกติ พนักงานจะถูกหักเพียง 112.50 บาทเท่านั้น ในกรณีที่หักค่าแรงเช่นนี้บริษัทสามารถทำได้หรือไม่


ผู้ตั้งกระทู้ employee :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-03 17:11:30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3046592)

จ่าย O/T เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไม่ทักท้วง แต่เวลาที่ต้องโดนไม่จ่ายค่าจ้าง เสียประโยชน์ กลับมาท้วง ก็แปลกดี

หากนายจ้างคิดตามสูตรที่นายจ้างคิดให้ตามปกติแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ต้องเปลี่ยนแปลง เคยได้เท่าไร ก็ควรเสียเท่านั้น นายจ้างทำได้

การคิดค่าจ้างต่อชั่วโมง ตามกฎหมายให้คิดตามที่เวลาทำงานจริงเฉลี่ยต่อวัน หากคิดว่าทำงาน 50 สัปดาห์ต่อปี สัปดาห์ละ 40 ชม" นายจ้างก็สามารถทำได้ไม่ผิดกฎหมายอะไร 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-09-04 08:50:37


ความคิดเห็นที่ 2 (3046677)

ขอบคุณครับที่ตอบ ผมไม่ได้มาทักท้วงหรอกครับ เพียงแต่ไม่เข้าใจเท่านั้นครับ

เพราะผมคิดว่า เงินเดือนกับเงินโอทีมันไม่น่าจะเกี่ยวกัน 

ถ้าเป็นตามที่คุณบอก พนักงานคนที่ลา แต่เขาไม่ได้ทำโอที เขาก็ต้องเสียเปรียบซิครับ 

ที่ทำงานเก่าผมก็มีสูตรการคิดโอทีให้กับพนักงานให้ได้รับค่าโอทีเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เหมือนกัน แต่เขาก็หักค่าแรงตามความเป็นจริง 

เพราะเช่นนี้ไงครับผมถึงไม่เข้าใจว่าว่าอันไหนถูกอันไหนผิด ช่วยแนะนำหน่อยครับว่าผมสามารถอ้างอิงได้จาก พรบ.คุ้มครองแรงงานที่มาตราไหนครับ 

   

 

ผู้แสดงความคิดเห็น employee วันที่ตอบ 2009-09-04 12:48:15


ความคิดเห็นที่ 3 (3187988)

สวัสดีค่ะ คืดดิฉันมีข้อสงสัยในการหักค่าแรงลูกจ้างหลายข้อขอตั้งกระทู้ถามเป็นข้อ ๆ นะค่ะ

1. การหักค่าแรงคนงาน ทีละ 3-4 แรงทำได้ในกรณีใดบ้างค่ะ

2. ถ้าไม่มีสํญญาจ้าง ไม่ได้ทำข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแล้วนายจ้างหักค่าแรงลูกจ้างทีละ 3 แรงนายจ้างผิดหรือไม่

3. การจ้างแรงงานในอัตราที่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำนายจ้างผิดหรือไม่

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ชิมิชิมิ วันที่ตอบ 2010-06-07 16:10:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.