ReadyPlanet.com


เรื่องโอนย้ายกิจการค่ะ


 สวัสดีค่ะ

 

ดิฉันมีเรื่องรบกวนจะปรึกษาค่ะ คือทางบริษัทของดิฉันต้องการที่จะโอนย้ายกิจการไปอยู่อีกบริษัทนึง โดยที่บริษัทเดิม (ขอเรียกว่าบริษัืท A) มีการค้างจ่ายภาษีเป็นเงินจำนวนแสนกว่าบาท ซึ่งค้างจ่ายเป็นเวลาหลายเดือน นายจ้างต้องการที่จะปิดบริษัท A เพื่อที่จะลดดอกเบี้ยภาษีที่จะต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินหลักหมื่นในแต่ละเดือน และโอนย้ายพนักงานในบริษัท A ที่มีอยู่ไปอยู่ที่บริษัทใหม่ (บริษัท B) โดยมีอัตราค่าจ้างและตำแหน่งคงเดิม แต่กรรมการบริษัทจะมีการเปลี่ยนแปลงค่ะ

กรรมการบริษัท A มี นาย ก นาง ข

กรรมการบริษัท B มี นาย ก นาง ค และ นาง ง โดยนาง ค จดทะเบียนสมรสกับ นาย ก ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ และ นาง ง คือผู้ดำเนินการค่ะ

ทางเจ้านายแจ้งว่า บริษัทไม่ได้ปิดแบบถาวรแต่ทำเสมือนว่าบริษัท A ไม่ได้ดำเนินการแล้ว ซึ่งทำให้มีการหยุดการเรียกเก็บเงินค่าดอกเบี้ยของภาษี ทางเจ้านายบอกว่า การหยุดการดำเนินการแบบนี้ เมื่อเราไปแจ้งกับทางหน่วยงานแล้ว เราจะมีเวลาจ่ายภาษีที่ค้างอยู่ให้หมดภายใน 1 ปี 

 

ดิฉันมีคำถามดังนี้ค่ะ

1. หนี้สินที่ทางบริษัท A ค้างอยู่ ทางเจ้าหนี้จะสามารถเรียกให้จ่ายชำระหนี้ภายหลังได้หรือไม่คะ

2. หากพนักงานไม่ยินยอมที่จะโอนย้ายไปบริษัท B พนักงานมีสิทธิที่จะได้ค่าชดเชยหรือไม่คะ

3. ทางบริษัืท A มีคดีที่ศาลแรงงานกลางเรื่องไม่จ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง หากโอนย้ายไปเป็นบริษัท B ลูกจ้างคนนั้น จะมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินการเรียกค่าชดเชยต่อได้หรือไม่คะ

 

ทางพนักงานบริษัท เห็นว่า การที่นายจ้างจะโอนย้ายกิจการไปเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ยภาษีเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ดิฉันและเพื่อนร่วมงานจึงคิดหาวิธีแ้ก้ปัญหาตรงนี้ค่ะ รบกวนช่วยชี้แนะดว้ยค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ อรอนงค์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-23 14:29:23


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3246143)

1. การโอนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ตามมาตรา 13 นั้น นายจ้างใหม่ต้องรับทั้งภาระและหน้าที่ของลูกจ้างเดิมไปทั้งหมด ส่วนกรรมการหรือผู้บริหารจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่นั้น คงไม่ต้องสนใจครับ เพราะไม่เกี่ยวกับเรา เกี่ยวเพียงเป็นนายจ้างเก่ากับนายจ้างใหม่เท่านั้น หากมีภาระหนี้สินติดค้างกันอยู่กับนายจ้างเก่า แต่นายจ้างใหม่ไม่รับภาระนี้ ลูกจ้างก็สามารถฟ้องร้องนายจ้างเก่าเพื่อให้ชำระหนี้ที่ค้างไว้ได้

2. หากบริษัท A ยังไม่จดทะเบียบยกเลิกบริษัท บริษัท A ก็ยังต้องมีภาระที่ต้องชำระหนี้ของเจ้าหนี้ทั้งหมด แม้จะจดทะเบียบยกเลิกบริษัท ก็จะต้องมีการชำระบัญชี เรียกเจ้าหนี้มาคุยกัน แล้วแต่บุริมสิทธิ์ของเจ้าหนี้แต่ละราย 

3. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง ของประมวลกฎหมายแพ่งฯ "นายจ้างจะโอนสิทธิิของตนให้แก่บุคคลภายนอกได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย............" ดังนั้น แม้มีมาตรา 13 พรบ คุม้ครองแรรงงานบังคับใช้ แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายแพ่งด้วย หากลูกจ้างไม่ยินยอมพร้อมใจไป ก็ไม่ต้องไป ต้องทำงานกับนายจ้างเดิมต่อไป หากนายจ้างเดิมไม่จ่ายค่าจ้าง มีเจตนาไม่ให้ทำงาน ก็ถือเป็นการเลิกจ้าง ก็สามารถฟ้องร้องศาลแรงงานได้ แต่จะได้ค่าชดเชยเต็มตามจำนวนหรือไม่ ก้อีกเรื่องหนึ่งครับ

4. ฟ้องเรียกค่าชดเชยเรื่องอะไรครับ เรื่องเปลี่ยนตัวนายจ้าง หรือการเลิกจ้าง การรับการโอนย้ายโดยนายจ้างปฏิบัติตามมาตรา 13 แล้ว ถือได้ว่าคุณยินยอมที่จะไปทำงานที่บริษัท B จจึงไม่ได้เป็นการเลิกจ้างที่บริษัท A ฝ่ายนายจ้างบริษัท Aสามารถแถลงให้มีคำพิพากษายกฟ้องได้ เพราะบริษัท A ไม่ได้ละเมิดลูกจ้างผู้นั้นโดยการเลิกจ้าง เมื่อไม่ได้เลิกจ้างสิทธิย่อมไม่เกิด แต่หากลูกจ้างไม่ยินยอมที่จะย้ายไป ก็เข้าข่ายตามข้อ 3 ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-05-26 09:12:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.