ReadyPlanet.com


ขอคำปรึกษาค่ะ


ดิฉันทำงานกับโรงเรียนอนุบาลเอกชนค่ะ ในการสมัครงาน เข้ารับตำแหน่งงานในตำแหน่งธุรการ ในอัตรเงินเดือน6500 ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นครูประจำชั้นเตรียมอนุบาล และได้มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งมาเป้นครูผู้ช่วยแต่ยังคงได้รับเงินเดือนเท่าเดิมและมีการให้เงินค่าจ้างในการสอนsummer  จนมาถึงปัจจุบัน  ทแกต่เงินค่าสอนsummer มาการค้างจ่ายเรื่อยมา  อายุการทำงานประมาณ2 ปีค่ะ และดิฉันมีความประสงค์ที่จะลาออกได้ทำการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 7 วัน ทางโรงเรียนมิได้ทำการออกหนังสือรับรองการทำงานให้ จนมาเจรจา ทางนั้นบอกออกให้ก็ได้แต่จะระบุว่าการทำงานเสร็จตามเป้าหมาย ซึ่งดูแล้วเหมือนเป็นการจงใจให้เกิดความเสียหายกับการหางานใหม่ของดิฉัน และถึงวันรับเงินเดือนทางนายจ้างได้ทำการหักเงินดดยมีการอ้างว่าหักเงินจากการเปลี่ยนตำแหน่งงานโดยมิได้เป็นธุรการแต่ทำตำแหน่งครูผู้ช่วยซึ่งเป็นการหักเงินย้อนหลังค่ะ จนเหลือเงินเดือนประมาณ1000 บาทค่ะและให้ค่าsummer1800 ซึ่งน้อยกว่าเงินที่สัญญาว่าจะให้ค่ะ ดิฉันไม่ได้เซ็นรับเงินก้อนนั้นมาเขาไม่ให้ดิฉันเขียนใบลาออกไว้เป็นหลักฐานใดๆ ดิฉันควรทำอย่างไรดีค่ะถ้าจะฟ้องสามารถทำได้รึเปล่าค่ะและต้องมีหลักฐานอย่างไร  เป็นการรับเงินสด ไม่มีเอกสารแต่พอที่จะมีพยานบุคคลค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ sweet (sweet2555-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2009-10-30 19:56:22


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3070400)

ตามประมวชลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 บัญญัติว่า "เมื่อการจ้างแรงงานสุดสิ้นลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไรและงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร" จะเห็นได้ว่าเป็นสิทธิของเราที่จะได้ ใบผ่านงาน ที่ระบุเพียงว่าทำงานมานานเท่าใดและงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร หากระบุมากกว่านี้ก็ได้แต่ต้องเป็นคุณต่อลูกจ้าง ถ้าเป็นข้อความอื่นที่ไม่เป็นผลดีกฎหมายห้ามระบุในใบผ่านงานเพราะจะขัดกับเจตนาของกฎหมายครับ  หากไม่เป็นไปตามนี้ เราสามารถร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานในเขตที่เราทำงานหรือถ้าเขาไม่รับก็ให้ฟ้องต่อศาลแรงงานซึ่งจากประสบการณ์จะใช้เวลาไม่นานเพราะศาลท่านจะไกล่เกลี่ยให้และการหักเงินก็เช่นกันหากเราคิดว่ามันไม่ถูกต้องอย่างไรก็ต้องดูที่ข้อตกลงสภาพการจ้างหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าเขาสามารถหักได้หรือไม่แต่โดยทั่วไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนั้นห้ามนายจ้างหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างเว้นแต่เงินภาษี ลค่าบำรุงสหภาพฯสหกรณ์เป็นต้น แต่ถ้าหากเรายินยอมเป็นลายลักอักษรก็สามารถหักได้ แต่อย่างไรก็ดีถ้าเราเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมก็สามารถฟ้องศาลแรงงานได้รับ  และข้อสังเกตุอีกข้อหนึ่งคือการบอกเลิกสัญญาจ้างต่อกันนั้น กฎหมายกำหนดให้บอกเลิกสัญญาก่อนการจ่ายค่าจ้างหนึ่งคราวครับ ไม่ทราบว่าคุณได้บอกเลิกสัญญาถูกต้องหรือไม่เพราะเป็นข้อกฎหมายเดี๋ยวจะเสียเปรียบเขากลายเป็นว่าคุณละทิ้งหน้าที่ไปซะ...สู้ๆนะครับ..

ผู้แสดงความคิดเห็น tanaporn วันที่ตอบ 2009-10-30 23:29:14


ความคิดเห็นที่ 2 (3070543)

ถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ ทั้งสิ้น

       เรื่องมีอยู่ว่าสามีกำลังจะกลับบ้านหลังจากรูดบัตรออกจากงานเวลา 17.05 น. และเดินมาที่ลานจอดรถมอเตอร์ไซค์ ขณะนั่งอยู่บนรถมอเตอร์ไซค์ของตน และลังจะสวมหมวกกันน้อคอยู่นั้น คู่กรณีเดินมาหาและท้าทายให้ไปต่อยกันข้างนอกและบอกให้สามีต่อยก่อน สามีบอกว่าไม่เอาเว๊ย ไร้สาระ แต่คู่กรณีก็ยังเดินเข้ามาหา และล้วงกระเป๋า สามีจึงใช้กำปั้นต่อยออกไปถูกบริเวณใบหน้าและคู่กรณีก็ล้ม หลังจากนั้น สามีก็มิได้เข้าไปซ้ำแต่อย่างไร หัวหน้างานก็มาดึงคู่กรณีออกไปทั้งที่สามีมิได้มีใครมามาดึงหรือห้ามปรามแต่อย่างไร 

        ต่อมาถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนปรากฏว่าออกทั้งคู่โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย  โดยให้เหตุผลว่า ทะเลาะวิวาทภายในบริเวณบริษัทฯ  สามีเป็นผู้บังคับบัญชาก่อนหน้านี้  ซึ่งเพ่งจะโยกย้ายคู่กรณีออกจากการเป็นสายบังคับบัญชา ควรแสดงออกถึงการเป็นผู้นำ ควรมีความอดทนอดกลั้นไม่ใช้กำลังกับผู้ใต้บังคับบัญชา

         ส่วนคู่กรณีนั้น ไม่มีความจำเป็นต้องไปที่ลานจอดรถ เพราะต้องทำงานล่วงเวลาต่อ  ปรากฏว่าไปยืนรอดักบริเวณลานจอดรถ และเดินเข้ามาหาและท้าทายให้ใช้กำลัง

          กรณีเช่นนี้ ถามว่าสามีดิฉันผิดมากไหมค่ะ ที่ต้องป้องกันตนเองเพราะไม่รู้ว่าคู่กรณีล้วงกระเป๋ามีอาวุธหรือไม่และเดินปรี่เข้ามาหา และบริษัทฯ บอกว่าสามีมีฐานะเป็นผู้บังคับบัญชา แต่บอกให้โยกย้ายสายการบังคับบัญชาแล้ว และเป็นเวลาหลังจาก 17.00 น. ยังเป็นหัวหน้าอยู่อีกหรือ หลายครั้งที่สามีทำหนังสือร้องเรียนไปที่หัวหน้างาน และผู้ช่วยผู้จัดการแผนก ว่าพนักงานคนนี้มีปัญหาและแสดงออกทางด้านพฤติกรรมอย่างไร เช่น ชอบถุยน้ำลายใส่ เวลาเดินผ่าน แต่สามีก็อดทนอดกลั้นมาตลอด มิได้โต้ตอบเป็นเวลาปีกว่า ๆ แล้วค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้อยากรู้ วันที่ตอบ 2009-10-31 14:28:11


ความคิดเห็นที่ 3 (3070988)

ต้องดูระเบียบข้อบังคับในการทำงานของนายจ้าง ว่าเขียนไว้ว่าอย่างไร หากเขียนไว้ว่าการทะเลาะวิวาทเป็นเรื่องร้ายแรง ก็ต้องเป็นไปตามระเบียบ

ในกรณีของสามีคุณนั้น การที่คู่กรณีเดินเข้ามาแล้วล้วงกระเป๋า และได้ชกคู่กรณีก่อน และไม่ได้มีการต่อสู้กัน ถือว่าเป็นการทำร้ายร่างกายมิใช่การทะเลาะวิวาท ดังนั้นโทษอาจจะแรงกว่าที่เป็นการทะเลาะวิวาทกัน และก็เข้าทางของคู่กรณีที่จะทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายขึ้นมาและสามารถให้นายจ้างใช้มาตรการทางวินัยได้

การเป็นพนักงานระดับบังคับบัญชานั้น ควรต้องมีความอดทนอดกลั้นมากกว่าปกติ บางครั้งอาจต้องเจ็บตัวบ้าง ก็คงต้องยอม เพื่อผลของการบังคับบัญชา และการเป็นหัวหน้างานที่ดี การเป็นผู้บังคับบัญชานั้น ต้องเป้นตลอดเวลาแม้กระทั่งเลิกงานแล้วก็ตาม และการชกต่อยนั้นกระทำในบริเวณบริษัทด้วย ก็ต้องถือว่าฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับในการทำงานของนายจ้าง หากไปชกต่อยกันนอกรั้วบริษัท ก็จะไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ

หากสามีคุณเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมหรือไม่มีเหตุผลสมควร ก็สามารถไปฟ้องร้องที่ศาลแรงงานได้ และให้ศาลพิจารณาว่าการเลิกจ้างนั้น ด้วยความผิดร้ายแรงหรือไม่ แต่โอกาสชนะนั้นค่อนข้างน้อย

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-11-02 08:47:42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.