ReadyPlanet.com


มาสายมากๆ หลายครั้งติดต่อกัน หรือหลายวันต่อเดือน จะถือเป็นการละทิ้งหน้าที่หรือไม่


 

การที่ลูกจ้างมาสายมากๆๆ อย่างเช่น ตามกฎต้องเข้างาน 9.00 เลิกงาน 18.00 น. แต่พนักงาน มักจะเข้างาน 10.00 หรือบางวันก็เข้างาน 13.00 บางวันก็เข้างาน 14.00 และเลิกงาน 18.00น. เป็นอย่างนี้บ่อยมาก และไม่มีสาเหตุอันควร กับทั้งพนักงานก้ไม่ได้มีตำแหน่งเซลล์ ที่จะต้องมีหน้าที่ออกไปข้างนอก หรือทำงานข้างนอกแต่อย่างใด   อย่างนี้ บริษัทควรจะทำอย่างไรดีคะ เพื่อจะไม่ให้พนักงานคนอื่นจะทำอย่างนี้ได้ หากว่าบริษัทออกกฎข้อบังคับว่า การมาสาย เกินกว่า 2 ชั่วโมงต่อ 1 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่การทำงาน และหากมีการละทิ้งหน้าที่การทำงาน เกินกว่า  3 วันทำงาน ก็สามารถไล่ออกได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย  อย่างนี้จะสามารถทำได้หรือไม่

เนื่องจากว่าพนักงานคนนี้ทำอย่างนี้บ่อยครั้ง และการที่จะให้ทำงานในบริษัทต่อไป ก็อาจเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงกับบริษัทได้ และทำให้พนักงานท่านอื่นพลอยทำตามไปได้ด้วย เนื่องจากบริษัทไม่สามารถจัดการปัญหานี้ได้ เพราะกลัวว่าจะผิดกฎหมาย 

ข้าพเจ้าขอรบกวนท่านที่ปรึกษาฯ ช่วยแนะนำวิธีการ ให้กับทางนายจ้างด้วย เพราะเราเองก็ไม่อยากทำผิดกฎหมาย แต่อย่างใด  ขอบพระคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ติ๊ก :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-28 10:45:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3056619)

หากมีระเบียบเขียนไว้ชัดเจนว่า เวลาทำงานปกติ 09.00 ~ 18.00 การมาทำงานหลังจาก 09.00 ถือว่า ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับในการทำงาน นายจ้างสามารถลงโทษทางวินัยได้ โดยจะเตือนด้วยวาจา หรือเตือนเป็นหนังสือ ตามระเบียบของนายจ้าง การสายเพียง 1 นาทีก็ถือว่ามาทำงานสายนายจ้างลงโทษได้

เมื่อเตือนเป็นหนังสือแล้ว ลูกจ้างยังฝ่าฝืนอีก ก็สามารถลงโทษสถานหนักขึ้นได้ ตามระเบียบ อาจจะพักงาน หรือหนักที่สุดอาจจะเลิกจ้างได้ในกรณีฝ่าฝืนซ้ำคำเตือน

ทางที่ดี ขั้นแรกควรเรียกพนักงานมาสอบถามถึงสาเหตุของการที่มาทำงานสายช่วยพนักงานแก้ไข หากช่วยแล้ว หรือพนักงานยังไม่ฟังก็สามารถลงโทษทางวินัยได้

การออกหนังสือเตือนต้องให้มีองค์ประกอบของกฎหมายครบถ้วน จึงถือเป็นหนังสือเตือนตามกฎหมายได้ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-09-28 12:05:41


ความคิดเห็นที่ 2 (3132222)

หนังสือเตือนต้องมีองค์ประกอบของกฎหมายครบถ้วน หมายความว่าอย่างไร งง รบกวนช่วยชี้แนะด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น วราวุฒิ วันที่ตอบ 2009-11-26 10:49:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.