ReadyPlanet.com


บริษัทให้ออกเพราะท้อง


มีอาชีพเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินค่ะ (สัญญาว่าจ้างกับทางบริษัทคือเซ็นสัญญาปีต่อปี  ขณะนี้กำลังเข้าสู่สัญญาปีที่5  )

ทางบริษัทมีการสร้างสัญญาใหม่มาว่า ถ้าพนักงานคนใดท้องถือว่าสัญญาได้สิ้นสุดลง เนื่องจากสัญญาเป็นรอบ1ปี ในขณะที่พนักงานตั้งท้อง พนักงานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในปีนั้น  จึงไม่สามารถเป็นไปตามสัญญาการทำงาน และไม่สามารถต่อสัญญาได้ กับทางบริษัทได้

ไม่ทราบว่า สัญญาข้อนี้ขัดต่อ พ.ร.บ คุ้มครองแรงงานไหมค่ะ เพราะรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมเหลือเกินค่ะ

แล้วพนักงานสามารถเรียกค่าชดเชย(กรณีที่ถูกให้ออก)และสามารถ ฟ้องร้องบริษัทได้ไหม

ขอบคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ แอนน์ :: วันที่ลงประกาศ 2007-02-03 18:51:20


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (806437)

การนำเหตุการตั้งครรภ์มาเป็นเหตุให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ถือเป็นการเลิกจ้างเนื่องจากการตั้งครรภ์ ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างต้องรับผิดในเงินชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหาย

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2007-02-03 23:33:54


ความคิดเห็นที่ 2 (807685)

เวลาที่เขาเลิกจ้างเขาก็ไม่บอกว่าเลิกจ้างเพราะเหตุตั้งท้อง แต่บอกว่าหมดสัญญา จะว่าอย่างไร

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ปรีชา ไกรสิริเดช วันที่ตอบ 2007-02-05 05:56:16


ความคิดเห็นที่ 3 (807707)

ขอเพิ่มเติมนิด

ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ม.118การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานหรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เริ่มจ้าง

ตามความเป็นจริง งานของคุณแอนน์เป็นงานประจำ ไม่ใช่งานโครงการ ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์จ้างลักษณะนี้ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย น่าจะร้องเรียนที่กระทรวงแรงงานให้จัดการได้

เคยอ่านเจอในฎีกา การจ้างแบบนี้ตีความได้ว่าเป็นการจ้างต่อเนื่อง

ผู้แสดงความคิดเห็น ปรีชา ไกรสิริเดช วันที่ตอบ 2007-02-05 07:05:51


ความคิดเห็นที่ 4 (807814)
การเอาเงือนไขดังกล่าวมาเป็นเหตุการสิ้นสุดสัญญานถือเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสาม แห่ง พรบ.คุ้มครองแรงงานฯและเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 43 อาจได้รับโทษตามมาตรา 144 ในทางแพ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118 หากลูกจ้างมำงานมาครบ 120 วันขึ้นไป และอาจต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา 49
ผู้แสดงความคิดเห็น 555 วันที่ตอบ 2007-02-05 09:07:25


ความคิดเห็นที่ 5 (808074)

สัญญาระหว่างนายจ้างลูกจ้างตกลงกันลูกจ้าง

ต้องออกจากงานเนื่องจากตั้งครรภ์มีผลใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกำหมายแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงพิจารณาได้จากการทำงานบนเครื่องบินนั้น ถ้าให้คนท้องทำงานจะมีผลกระทบต่อเด็กในครรภ์และสภาพการทำงานก็ไม่เหมาะสมหลายประการ  แต่อย่างไรการเลิกจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เนื่องไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่รับโทษตาม 144 กฎหมายแรงงาน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมา วันที่ตอบ 2007-02-05 12:07:02


ความคิดเห็นที่ 6 (823311)

 

ค้านความเห็นที่ 5

ตาม ม.43 พรบ.คุ้มครองแรงงาน ห้ามมิให้นายจ้เลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงเพราะเหตุมีครรภ์

ตาม ม.144 พรบ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา........มาตรา43....... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ตาม ม.150ปพพ.การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือขัดจต่อ***ามสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการนั้นเป็นโมฆะ

ม.151 ปพพ. การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายเกี่ยวกัยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่ป็นโมฆะ

ตามสัญญาที่ตกลงเป็ฯการฝ่าฝืนกฎหมายที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานเป็นกฎหมายมหาชน ดังนั้นสัญญาที่ฝ่าฝืนกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ไม่ใช่ว่าจะจ่ายเงินชดเชยได้ แต่ต้องคดีอาญา ผู้ว่าจ้างจะยอมติดตะรางก็ลองดู

ผู้แสดงความคิดเห็น ปรีชา ไกรสิริเดช วันที่ตอบ 2007-02-17 21:55:40


ความคิดเห็นที่ 7 (3227203)

 แล้วพวกคุณคิดว่าสัญญาพวกนี้มีผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้างค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ไข่หวาน วันที่ตอบ 2010-12-02 23:40:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.