ReadyPlanet.com


เรียนท่านที่ปรึกษา


ขอบคุณมากค่ะที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการยื่นเรื่องขอเตือนประธานสหภาพแรงงาน ตอนนี้ศาลให้เตือนได้แล้วค่ะ แต่ให้เตือนด้วยวาจาแต่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรตามระเบียบบริษัทค่ะ จริง ๆ แล้วขอเตือนเป็นหนังสือแต่ทางศาลไม่อนุญาต (ในระเบียบเขียนไว้ว่าการลงโทษจะพิจารณาตามดุลยพินิจของบริษัท) 1. เตือนด้วยวาจา 2.เตือนด้วยหนังสือ 3.พักงาน 4.เลิกจ้าง   รู้สึกว่าศาลก็ค่อนข้างที่จะเข้าข้างลูกจ้าง แต่ก็ตำหนิประธานสหภาพพอสมควร  ไปศาลครั้งนี้ได้ความรู้มาเยอะเลยค่ะ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ขอบคุณอีกครั้งค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ bk :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-01 14:15:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3208830)

ต้องเข้าใจนิดหนึ่งครับ คำว่าศาลแรงงาน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นศาลของผู้ใช้แรงงาน ไม่ใช่ศาลของนายจ้าง ดังนั้น ส่วนใหญ่ลูกจ้างจะได้เปรียบ บางครั้งลูกจ้างทำผิดชัดเจน ทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างเลิกจ้าง เมื่อลูกจ้างมาฟ้องศาล ศาลยังไกล่เกลี่ยให้นายจ้างจ่ายเงินช่วยเหลือให้ลูกจ้างบ้างตามสมควรก็มี

ในกรณีของคุณ ไม่สงสัยอะไรที่ศาลอนุญาตเพียง เตือนด้วยวาจา เพราฝ่ายคัดค้านเป็นผู้พิพากษาสมทบด้วย แต่หากมีการตำหนิกรรมการสหภาพ ก็น่าจะพอใจ เพราะน่าจะเสียหน้าพอสมควร แต่คุณก็ควรต้องปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ และทำตามกฎระเบียบอย่างชัดเจนและโปร่งใส เพราะประธานสหภาพคงจะต้องเกิดอาการต้องการความขัดแย้งเกิดขึ้นแน่นอน อย่าพยายามเปิดแผลตนเองให้เกิดการตอบโต้ได้ก็แล้วกัน

ขอให้?ำงานด้วยความราบรื่นและความสุขครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-09-01 16:01:19


ความคิดเห็นที่ 2 (3208922)

ขอบคุณค่ะที่ให้กำลังใจ และมีเรื่องรบกวนอีกค่ะ คือเมื่อก่อนที่นี่ไม่มีกรรมการลูกจ้าง แต่มีคณะกรรมการสวัสดิการ และประธานสหภาพก็เป็นกรรมการอยู่ในนั้นด้วย ตอนนี้มีกรรมการลูกจ้างแล้ว จะยกเลิกคณะกรรมการสวัสดิการได้หรือไม่คะ เพราะมีแต่ปัญหาจุกจิกที่เขายกขึ้นมาพูดกันเรื่องที่ไม่ใช่ปัญหาก็เป็นปัญหาเหมือนกับไม่มีอะไรที่จะมาขุดคุ้ยอีก และต้องการลดบทบาทของประธานสหภาพลงด้วยค่ะขอบคุณค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-09-02 07:18:50


ความคิดเห็นที่ 3 (3208927)

คงไม่ได้ครับ เพราะคณะกรรมการสวัสดิการ เป็นกฎหมายมาตรา 96 ที่กำหนดให้บริษัท ต้องจัดให้มีทั้งการเลือกตั้ง หรือแต่ตั้งแล้วแต่กรณี และกฎหมายก็ยังบอกต่อไปอีกว่า หากสถานประกอบการใดมีกรรมการลูกจ้าง ให้คณะกรรมการลูกจ้างทำหน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการด้วย

ทางแก้ปัญหาของคุณสามารถทำได้ โดยจัดให้มีการประชุม คณะกรรมการลูกจ้าง กับคณะกรรมการสวัสดิการพร้อมกันเลย เพราะคณะกรรมการก็ชุดเดียวกัน เรื่องที่ประชุมก็เรื่องเดียวกัน และวัตถุประสงค์ของการประชุมก็ไกล้เคียงกัน และเวลาทำบันทึกการประชุม ก็อ้างไว้ทั้งสองคณะกรรมการฯ เลยก็จะทำให้เราสามารถดำเนินการได้โดยไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ซึ่งต้องจัดให้มีการประชุมทุก 3 เดือน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-09-02 08:57:44


ความคิดเห็นที่ 4 (3208998)

ขอบพระคุณมากค่ะ คงจะได้ให้ท่านได้ชี้แนะอีกค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-09-02 16:05:06



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.