ReadyPlanet.com


ค่าชดเชยพิเศษ


ตัวอย่างนะค่ะ

บริษัทสมสุขมีสำนักงานตั้งอยู่ที่หลักสี่ นายทอยงย้อย นายทองหยอด และนายทองหยิบ เป็นลูกจ้างประจำของบริษัท โดยนายทองย้อยพักอาศัยอยู่ลาดพร้าว มีอายุงาน 3 ปี 6 เดือน ส่วนนายทองหยอดและนายทองหยิบพักอาศัยอยู่หอพักบริษัท ซึ่งอยู่ในบริเวณสำนักงาน และทั้งคู่ต่างอยู่ในช่วงทดลองงาน 120 วัน ของบริษัท และมีอายุงาน 2 เดือนเท่ากัน  เนื่องจากบริษัทจะขยายการผลิต จึงขยายสาขารังสิตคลองสี่ ที่เปิดทำการในวันที่ 3 ม.ค. 2549 และได้บอกกล่าวบุคคลทั้ง 3 ให้ทราบล่วงหน้าในวันที่ 30 ต.ค. 2548 เพื่อไปปฏิบัติงานในประจำสาขาในวันที่ 3 ม.ค. แต่ทั้ง 3 ปฏิเสธคำสั่งของนายจ้างโดยอ้างว่าเดินทางไม่สะดวกเนื่องจากสาขาที่จะไปประจำนั้นอยู่ไกลซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตปกติของตน โดยนายทองย้อยอ้างว่าเดินทางไม่สะดวก ส่วนนายทองหยอดและนายทองหยิบได้สิทธิหอพักสาขาใหม่แต่อ้างว่ามีความลำบากต้องขนย้าย และอยู่ห่างไกลความเจริญ บริษัทจึงได้มีคำสั่งเลิกจ้างนายทองย้อยและนายทองหยิบโดยอ้างว่าจงใจขัดคำสั่งโดยชอบด้วยกฏหมาย โดยเลิกจ้างบุคคลทั้งสองในวันที่10 พฤศจิกายน 2548 ส่วนนายทองหยอด เนื่องจากบริษัทเห็นว่ามีผลการปฏิบัติงานดีและมีความชำนาญในงานพิเศษมากกว่าคนอื่นๆจึงเพียงตักเตือนเป็นหนังสือเท่านั้นและให้คงปฏิบัติงานอยู่กับทางบริษัทต่อไป โดยไม่ต้องย้ายไปประจำสาขา ต่อมานายทองย้อยและนายทองหยิบ ซึ่งถูกบริษัทเลิกจ้างนั้นได้มาฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆอันเกิดจากการเลิกจ้างของบริษัท

 

1. การบอกกล่าวของบริษัทที่ให้นายทองย้อย นายทองหยอด และนายทองหยิบ ไปปฏิบัติงานยังสาขาใหม่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่อย่างไร

2.การย้ายไปประจำสาขานั้นอยู่ไกลและมีผลต่อการดำรงชีวิตของตนหรือไม่ อย่างไร

3.การที่บริษัทฯตกลงเลิกจ้าง นายทองย้อย และนายทองหยิบ และลงโทษนายทองหยอดเพียงการตักเตือนเป็นหนังสือและให้ปฏิบัติงานกับบริษัทต่อไปนั้นชอบด้วยกฏหมายหรือไม่อย่างไร

4.นายทองย้อยและนายทองหยิบมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าเสียหาย ค่าสินจ้างบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ อย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ นภาภรณ์ :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-18 18:12:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3041646)

หากมีการฟ้องร้องขึ้น นายจ้างมีโอกาสเสียเปรียบสูง ถ้าข้อเท็จจริงเป็นอย่างที่แจ้งมา เพราะ

1. สาขาเปิดทำการในวันที่ 3 มกราคม 49 มีคำสั่งย้ายในวันที่ 30 ตุลาคม 48 ลูกจ้างปฏิเสธไม่ไปทำงาน ซึ่ง คำสั่งนั้นยังไม่มีผลเพราะยังไม่ถึงวันที่ 3 มกราคม 49 ที่ลูกจ้างต้องย้ายไปจริง ดังนั้นในระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ถึง วันที่ 3 มกราคม ลูกจ้างสามารถปฏิเสธ หรือ พูดอย่างไรก็ได้ ซึ่งเป็นสิทธิของลูกจ้าง และก็ไม่ได้ไปแย้งสิทธิคำสั่งของนายจ้าง นายจ้างอาจลงโทษเรื่องการกระด้างกระเดื่องได้แต่คงไม่ถึงกับการเลิกจ้าง เมื่อไปเลิกจ้างลูกจ้างเพราะจงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ถือว่าเป็นการไม่ชอบ ลูกจ้างยังไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 48 การเลิกจ้างดังกล่าว ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุ นายจ้างคงต้องจ่ายค่าชดชเย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง คงต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หากลูกจ้างฟ้องร้องขึ้นมา

     หากวันที่ 3 มกราคม 48 ลูกจ้างไม่ยอมไป และยังคงทำงานที่เดิม นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 48 ด้วยเรื่องการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานในสถานร้ายแรง ละทิ้งหน้าที่เกินกว่า 3 วันโดยไม่มีเหตุอันควรได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย  

2. การย้ายสถานที่ประกอบการตามมาตรา 120 นั้น เป็นการที่นายจ้างปิดที่ทำการเดิมอย่างถาวรและย้ายฐานไปตั้งยังสถานที่อื่น เป็นการก่อให้เกิดสิทธิตามมาตรานี้ แต่ไม่เข้าข่ายการสร้างที่ทำการสาขาใหม่ แต่สาขาเดิมยังเปิดดำเนินการอยู่ ถือได้ว่าเป็นคำสั่งโอนย้ายพนักงานธรรมดา ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 120

3. เมื่อไม่เข้าข่ายมาตรา 120 แล้ว คงไม่ต้องพิจารณาว่าการโยกย้ายนั้น มีผลสำคัญต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัวหรือไม่

4. เมื่อยังไม่ได้มีการโต้แย้งสิทธิในคำสั่งของนายจ้าง นายจ้างก็ไม่สามารถลงโทษทางวินัยต่อลูกจ้างได้ แม้แต่การลงโทษโดยการเตือนเป็นหนังสือ ถือได้ว่าไม่ได้มีการลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้าง

5. โอกาสที่นายจ้างต้องจ่าย ค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมีสูง 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-08-19 09:02:17


ความคิดเห็นที่ 2 (4305472)

อยากทราบว่า กรณีที่ให้ลูกจ้างย้ายไป เขาทำถูกต้องตามกฎหมายรึป่าว ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากี่เดือน ครับ มีกฎหมายมาตราอะไรใช้ได้บ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ภาคภูมิ วันที่ตอบ 2019-04-24 16:56:32



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.