ReadyPlanet.com


พิพาทแรงงาน


เรียนท่านที่ปรึกษาครับ

ตอนนี้บริษัทพิพาทแรงงานและนายจ้างก็ปิดงานงดจ้าง นายจ้างได้ยื่นข้อเรียกร้องงดจ่ายสวัสดิการทั้งหมดที่มีอยู่แต่พนักงานไม่ยอม ตกลงกันไม่ได้ครับและนายจ้างก็ให้ลูกจ้างจากบริษัทในเครื่อเข้ามาทำงานแทนทั้งหมดครับ แรงงานนัดไปคุยเขาก็อ้างว่าไม่ว่างและไม่ไปตามนัดเลยครับ และเวลาที่คุยกันที่แรงงานพอเขาไม่พอใจก็เดินออกจากห้องเลยแรงงานก็ไม่ว่าอะไร มันยืดเยื้อมาเกือบเดือนแล้วครับผมควรทำอย่างไรดีครับ รบกวนด้วยครับ



ผู้ตั้งกระทู้ อดิศร :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-08 17:50:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3236586)

เรียน คุณอดิศร

เรื่องนี้เป็นไปตามครรลองของกฎหมาย เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานและไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ นายจ้างสามารถปิดงานงดจ้าง ลูกจ้างสามารถนัดหยุดงานได้โดยใช้สิทธิตามกฎหมาย 

หากเป็นไปอย่างที่คุณกล่าวมา นายจ้างมีข้อได้เปรียบตรงที่ใช้ลูกจ้างชั่วคราวมาทำงานแทน นายจ้างก็เดือดร้อนน้อยลงหรือไม่เดือดร้อนเลย ผู้ที่เดือดร้อนที่สุดน่าจะเป็นลูกจ้าง 

เจ้าหน้าที่แรงงานก็คงทำอะไรไม่ได้เท่าไร เพราะนายจ้างไม่ยอมเจรจาด้วย แต่ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ต้องหาทางที่จะให้นายจ้างกลับเข้าเจรจา ลองกลับไปพิจารณาอีกครั้งถึงเหตุผลที่แท้จริงที่นายจ้างทำถึงขั้นนี้ อาจมีวัตถุประสงค์ทีซ่อนไว้ก็ได้ ลองหาดู เมื่อพบสาเหตุแล้วลองปรึกษากับดูว่าสามารถยอมรับได้หรือไม่ 

แต่การกระทำที่รุนแรงและฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่ควรที่จะทำเพราะจะทำให้ฝ่ายลูกจ้างเสียเปรียบมากขึ้น 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-02-09 09:54:05


ความคิดเห็นที่ 2 (3236638)

บริษัทได้ถูกเทคโอเวอร์เหลือพนักงานเดิมไม่ถึงร้อยคน แรก ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไรเพราะนายจ้างใหม่รับมาทั้งสิทธิและสภาพการจ้างเดิม แต่ต่อมาบริษัทรับคนเพิ่มและพยายามให้ลูกจ้างเดิมลงชื่อยินยอมรับสวัสดิการใหม่เช่น จากทำงาน 5 วันก็เป็น 6 วันต่อสัปดาห์ เบี้ยขยันจาก 5,000 บาทเหลือ 2,000 บาทเป็นต้น การทำงานก็เพิ่มการทำงานกะอีกและลดค่ากะลงจากเดิม และไม่ประกาศให้พนักงานทราบว่าจะเข้าทำงานกะ พนักงานที่ไม่ทราบก็ไม่มาทำงานกะก็จะถูกบริษัทออกจดหมายเตือนและสั่งพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง  บริษัทกดดันเรือยมา จนกระทั่งพนักงานยื่นข้อเรียกร้องประจำปี นายจ้างก็ยื่นข้อเรียกร้องสวนกลับมา เคยคุยกับบริษัทว่าหากไม่ต้องการพนักงานเดิมก็ขอให้เลิกจ้างตามกฎหมายแต่บริษัทบอกว่าจะไม่มีการจ้างออกครับ ทนไม่ได้ก็ออกไปเอง บริษัทจะไม่จ่ายอะไรให้เพราะเข้ามาซื้อกิจการแล้วก็ยังไม่มีกำไร

ผมได้ไปแรงงานให้เขาไกล่เกลี่ยก็ไม่ได้ผลครับ ผมสงสารเพื่อน ๆ ที่ร่วมทำงานด้วยกันมาบริษัทไม่เห็นใจบ้างเลยครับ ออกไปก็คงจะหางานลำบากเพราะอายุเยอะแล้วครับ หากบริษัทลดสวัสดิการลงบ้างเล็กน้อยก็พอยอมรับได้ครับ แต่เขาต้องการยกเลิกเกือบทั้งหมดที่เคยได้รับ มันรับไม่ได้จริง ๆ ครับ

ที่ปรึกษาครับผมยังสามารถที่จะไปฟ้องศาลแรงงานได้หรือไม่ครับเพราะการเจรจายังไม่ยุติ และนายจ้างสามารถบอกเลื่อนการเจรจาออกไปได้กี่ครั้งครับ ในระหว่างนี้หากผมไปสมัครงานใหม่และได้ทำงาน บริษัทจะถือว่าผมไม่ได้เป็นลูกจ้างของเขาอีกต่อไปหรือไม่ครับและจะมีผลต่อการจ่ายเงินชดเชยหรือไม่ครับ ขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อดิศร วันที่ตอบ 2011-02-09 17:58:53


ความคิดเห็นที่ 3 (3236693)

ตามที่ผมเรียนไว้ หากขบวนการแรงงานสัมพันธ์ ยังไม่จบสิ้นก็ไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลได้ ต้องดำเนินกระบวนการด้านแรงงานให้จบก่อน การเจรจาสามารถเจรจาได้ตลอดเวลา ซึ่งปัจจุบันนี้มาถึงเกือบท้ายสุดของขั้นตอนแล้ว คือ มีการปิดงานงดจ้าง ของนายจ้างและการนัดหยุดงานของลูกจ้าง

แต่หากจะจบลงได้ด้วยดี ทั้งสองฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน หากยอมได้ก็ยอมกัน จึงจะอยู่ร่วมกันได้ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีวัตถุประสงค์แอบแฝง ก็จงคุยกันลำบาก

ซึ่งเชื่อว่า ฝ่ายนายจ้างเองคงมีที่ปรึกษาลำพังนายจ้างเองคงไม่มีปัญญาที่จะแข็งได้เองขนาดนี้  จึงสามารถเดินหน้ามาถึงปัจจุบันนี้ หากผมเป็นเจ้าหน้าที่ผมคงต้องสืบหาว่าใครเป็นที่ปรึกษาแล้วไปคุยกับที่ปรึกษานั้น หาทางออกร่วมกันก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี 

หากคุณได้งานใหม่ คุณก็น่าจะไป เพราะไม่มีประโยชน์อะไรกับการทำงานกับนายจ้างที่ไม่เห็นว่าคนเป็นคน เมื่อได้งานแล้ว ก็ยื่นใบลาออกกับนายจ้าง ไม่ต้องเสียดายเงินชดเชย เพราะไม่มีประโยชน์อะไร และยังอาจได้ชื่อว่าถูกเลิกจ้าง ซึ่งจะมีผลต่อประวัติของคุณเอง

หากตัดสินใจที่จะไปแล้ว ก็เดินหน้าต่อไปครับ ไม่ต้องหันมาดูข้างหลัง ไปฝ่าฟันเอาภายหน้าจะดีก ว่าครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-02-10 08:51:42


ความคิดเห็นที่ 4 (3236699)

ขอบพระคุณมากครับที่ให้คำปรึกษาก่อนหน้านี้ผมมืดแปดด้านเลยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อดิศร วันที่ตอบ 2011-02-10 09:17:12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.