ReadyPlanet.com


ลูกจ้างหาผู้ค้ำประกันไม่ได้ จึงยอมให้หัก 5%ของเงินเดือนเป็นเงินประกันความเสียหาย


เรียนถามท่านที่ปรึกษาว่า

กรณี ในสัญญาจ้างแรงงาน ตำแหน่งพนักงานบัญชี บริษัทมีข้อบังคับให้ลูกจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานและต้องมีบุคคลผู้ค้ำประกันเข้าทำงานด้วย  แต่เนื่องจากว่าลูกจ้างหาบุคคลค้ำประกันไม่ได้เลย (เงื่อนไขคือ เป็นข้าราชการ หรือพนักงานเอกชนที่มีเงินเดือนสูงกว่า 18000 หรือ พนักงานเอกชนประจำจำนวน 2 คน สำหรับค้ำประกัน แต่ลูกจ้างก็อ้างว่าหาไม่ได้  ดังนั้น ลูกจ้างจึงยินยอมให้หักจากเงินเดือนทุกเดือน เดือนละ 5%  สำหรับเป็นเงินค้ำประกัน และกรณีมีโบนัสของแต่ละปี จะหักจากโบนัส 50%    โดยให้รวมเป็น 1 เท่าของเงินเดือน  จ่ายคืนให้หลังจาก ลาออกแล้วตรวจสอบไม่พบความเสียหายใด ๆ ภายใน 7-15  วันได้หรือไม่ หรือ นับจาก ยื่นใบลาออกเป็นเวลา 45 วัน (เพราะใบลาออกต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน)

ไม่ทราบว่า จะทำได้แค่ไหนอย่างไรคะ

ขอรบกวนให้ตอบด้วยค่ะ  เพราะเคยได้ยินว่า ตามกฎหมายเราไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของลูกจ้างไม่งั้นสัญญาตกเป็นโมฆะ แล้วอย่างนี้จะทำอย่างไรดีคะ   อีกอย่างถ้าลาออกไปแล้ว จะคืนให้ภายใน 7-15 วัน ไม่ใช่ ภายใน 3 วัน จะผิดกฎหมายหรือเปล่าคะ  แล้วสัญญาค้ำประกันนี้ให้เขียนแยกจากสัญญาจ้างแรงงานเลยใช่หรือไม่คะ หรือว่าต้องแยกกันคนละฉบับ

จะรอคำตอบค่ะ  ขอบพระคุณค่ะ

นายจ้าง



ผู้ตั้งกระทู้ นายจ้าง :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-04 11:06:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3036939)

ตามมาตรา 5 พรบ คุ้มครองแรงงาน 2551 ไม่ได้บอกถึงวิธีการเรียกเก็บหลักประกันไว้ ดังนั้น นายจ้างสามารถกำหนดหลักการและวิธีการเรียกรับหลักประกันได้ตามกฎหมาย โดยจำนวนมูลค่าของหลักประกันนั้น ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือมูลค่าเท่ากับค่าจ้าง 2 เดือน

หากนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างทำงาน แต่ลูกจ้างหาหลักประกันไม่ได้ นายจ้างก็สามารถตกลงกับลูกจ้าง โดยลูกจ้างทำหนังสือยินยอมในการให้เก็บหลักประกัน โดยหักค่าจ้างก็สามารถทำได้  หากลูกจ้างให้ความยินยอม ตามมาตรา 76 ซึ่งจะหักได้ไม่เกิน 10% ของค่าจ้างรายเดือน ส่วนการหักเงินโบนัส ไม่ได้มีข้อกำหนดตามกฎหมายว่าจะหักเท่าไร หลังจากหักเงินแล้วก็ต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศ คือ เปิดบัญชีชื่อพนักงานไว้และนำเงินที่หักเข้าบัญชีพนักงาน หมายเหตุว่าเป็นเงินค้ำประกันการทำงาน

การจ่ายเงินคำประกันคืน กฎหมายบอกว่า ต้องคืนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างออกจากงานหรือพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ดังนั้นเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องรีบตรวจสอบหนี้สินให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน เกินกว่านี้ผิดกฎหมาย

ตามมาตรา 76 สามารถหักเงินค้ำประกันความเสียหายได้แต่ต้องได้รับคำยินยอมจากลูกจ้าง สามารถหักได้รวมแล้วไม่เกิน 10% ต่อเดือน แต่หากลูกจ้างมีเงินได้ต่อเดือนไม่ถึง 10,000 บาท นายจ้างก็ไม่สามารถหักเงินลูกจ้างได้

สัญญาค้ำประกันควรทำแยกจากสัญญาจ้างงาน เพื่อความชัดเจนในสัญญาและการบังคับใช้ตามสัญญา 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-08-04 12:56:40


ความคิดเห็นที่ 2 (3205417)

รบกวนขอคำตอบคะ

ดิฉันได้รับเข้าทำงานในตำแหน่ง เลขานุการฝ่ายขาย จะเริ่มงาน วันที่ 1 ก.ย. 53 นี้

โดยบริษัท ให้ดิฉันหา 1. บุคคลค้ำประกัน ที่มีอัตราเงินเดือนเป็น 2 เท่าของดิฉัน และ

                                    2. บริษัทจะหักเงินเดือนทุกเดือนอัตรา5% ของเงินเดือน กรณีที่มีการปรับเงินเดือน เงินประกันก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

อยากทราบว่า             1. บริษัทสามารถทำได้ทั้ง 2 กรณีพร้อมกัน ใช่หรือไม่

                                   2.  เงินประกันที่ดิฉันถูกหักไป จะได้คืน (กรณีลาออก และไม่พบความเสียหาย) ตามจำนวนใช่หรือไม่

อยากทราบว่าตำแหน่ง เลขานุการฝ่ายขาย ที่ดิฉันกำลังจะเริ่มงานนี้เป็นตำแหน่งที่มีความเสี่ยงที่จะก่อความเสียหายให้บริษัท จริงหรือไม่ เพราะดิฉันเข้าใจว่า เป็นตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินบ้างแต่ไม่มาก เท่าแผนกบัญชีการเงินโดยตรง บริษัทไม่น่าจะต้องหักเงินค่าค้ำประกัน

ผู้แสดงความคิดเห็น จารุรินทร์ (jarurin_k-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-24 09:24:46



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.