ReadyPlanet.com


เรียนท่านที่ปรึกษา


ปกติค่ากะถือว่าเป็นค่าจ้างหรือไม่คะ ต้องนำมารวมคิดค่าล่วงเวลาด้วยหรือเปล่าคะ แล้วหากการจ่ายค่ากะมีเงื่อนไขว่าหากมาทำงานสายจะไม่ได้รับค่ากะดังกล่าวเช่นนี้ ค่ากะยังเป็นค่าจ้างอยู่หรือเปล่าคะ รบกวนด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ bk :: วันที่ลงประกาศ 2010-10-27 19:55:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3220078)

มีท่านผู้รู้หลายท่านมีความเห็นที่แตกต่างกันไป ว่า ค่ากะ เป็นค่าจ้างหรือไม่ บางท่านบอกว่าเป็นค่าจ้าง ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2528 , 1437/2524 or 1133-1268/2525 แต่น่าสังเกตุว่าเป็นคำพิพากษาก่อนปี 2541 ในขณะที่ปัจจุบัน ที่นิยามของค่าจ้าง มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ไปแล้ว

ดังนั้น ค่ากะ ในความหมายใหม่ ของ อาจารย์เกษมสันต์ วิลาวรรณ เห็นว่า คะกะ ไม่ใช่ตค่าจ้าง เพราะหากไม่เข้ากะ ก็ไม่ได้ค่ากะ ก็จะได้เป็นเงินเดือนอย่างเดียว ซึ่งพ้องกับนิยามของค่าจ้างตามพรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 ที่ต้องเป็นเงิน ตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะเวลาทำงานปกติ ซึ่งความหมายของค่าจ้างแคบลง ซึ่งหากตีความตามเจตนารมย์ของกฎหมายแล้ว ค่ากะ ไม่ใช่ค่าจ้าง

เมื่อไม่ใช่ค่าจ้าง ก็ไม่ต้องนำมารวมเพื่อคิดเงินค่าล่วงเวลาครับ

การจ่ายค่ากะ สามารถสร้างเงื่อนไขการจ่ายได้ เพราะไม่อยุ่ในความคุ้มครองของกฎหมาย ดังนั้นการตั้งเงื่อนไข เป้นเรื่องของนายจ้างที่สามารถตั้งได้ แต่ควรต้องเป็นธรรมด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าพนักงานเข้ากะกลางคืนทำงาน 8-12 ชั่วโมง มาทำงานสายเพียง 5 นาทีก็ไม่ได้ค่ากะแล้ว  

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-10-28 10:13:04


ความคิดเห็นที่ 2 (3220083)

เจ้าหน้าแรงงานวิเคราะห์ว่าค่ากะเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมเพื่อคิดค่าล่วงเวลาด้วย จึงได้ทำหนังไปกองนิติการฝ่ายกฎหมายเขาตีความว่าเมื่อมีเงื่อนไขในการจ่ายก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างและไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินประกันสังคมค่ะ  ก็เลยทำให้สับสนว่าจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร หนูสามารถนำคำพิพากษาศาลฎีกาที่ท่านได้อ้างอิงมาไปคุยกับแรงงานได้หรือไม่คะว่า ค่ากะไม่ใช่ค่าจ้าง (เหตุทั้งหมดเกิดจากสหภาพแรงงานไปร้องสวัสดิการแรงงานว่าค่ากะควรเป็นค่าจ้าง)

ส่วนสาเหตุที่ต้องมีเงื่อนไขก็เพราะว่าเมื่อเริ่มมีการเข้าทำงานกะใหม่ ๆ พนักงานมาทำงานสายในกะดึกเมื่อพนักงานออกกะไปก็ไม่สามารถที่จะส่งงานกะให้คนต่อไปได้และปัญหาเกิดกับการผลิตอย่างมาก (ทำงานในจุดควบคุมเครืองจักร) ก็ได้ประชุมพนักงานเลยมีมติออกมาอย่างนี้ค่ะ  ก็ไม่มีปัญหาในเรื่องมาทำงานสายแล้วไม่ได้รับค่ากะ

หากแรงงงานยังยืนยันว่าเป็นค่าจ้างหนูควรทำอย่างไรต่อไปดีคะ ยื่นเรื่องให้ศาลตัดสินได้หรือไม่คะ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

 

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-10-28 10:35:18


ความคิดเห็นที่ 3 (3220087)

คำพิพากษาดังกล่าววินิจฉัยว่าเป็นค่าจ้างนะครับ หากคุณนำไปอ้าง ก็จะเป็นการยืนยันว่าเป็นค่าจ้าง

แต่หากมีเงื่อนไข การจ่าย เช่น ไม่มาไม่ได้ มาถึงจะได้ เช่นนี้ก้ไม่ใช่ค่าจ้าง 

หากคุณคิดว่าค่ากะไม่ใช่ค่าจ้าง ก็เอาหนังสือที่กองนิติการให้เจ้าหน้าที่แรงงานดู น่าจะหมดปัญหาไป เพราะกองนิติการ เป็นหน่วยงานของราชการ ทางเจ้าหน้าที่ต้องฟังครับ

คุณลองถามดูว่าหากพนักงานไม่ได้เข้ากะดึก ในวันนั้นแล้วทำงานล่วงเวลาในกะธรรมดา ที่ไม่มีค่ากะ ต้องเอามารวมคิดเป็นค่าล่วงเวลาด้วยหรือไม่ หากตอบว่าไม่ต้องเอามารวม ก็ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง เอกสารตอบจากกองนิติการ น่าจะเพียงพอ

หากต้องการเป็นบรรทัดฐานก็น่าจะฟ้องศาล แต่อย่างว่าครับศาลแต่ละท่านก็มีคำวินิจฉัยของตนเอง ขึ้นกับว่าท่านใดจะวินิจฉัยอย่างไร ต้องขึ้นถึงฎีกา ก็น่าจะสิ้นสุด

อย่างที่เรียนไว้ คำพิพากษาเก่า ก่อนปี 2541 เป็นคำพิพากษาที่อิงจาก ปว 103 ดังนั้นเมื่อมีกฎหมายใหม่ ก็ต้องใช้กฎหมายใหม่ไม่ใช่อิงจากกฏหมายที่ยกเลิกไปแล้ว

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-10-28 11:32:08


ความคิดเห็นที่ 4 (3220092)

ขอโทษค่ะหนูสับสนไปหน่อยค่ะ ตอนนี้สมองมันไม่ค่อยจะทำงานเลยค่ะมันอื้อ ๆ ไปหมด หนูจะเอาเอกสารที่กองนิติการไปคุยค่ะตามที่ท่านแนะนำ  เพราะก่อนหน้านี้สำนักงานประกันสังคมได้ส่งหนังสือมาให้ว่าให้นำค่ากะไปรวมคำนวณการจ่ายประกันสังคมด้วย หนูก็เลยทำหนังสือไปกองนิติการ ประจวบกับแรงงานตึความเรื่องค่ากะมาด้วย เห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็น่าจะตีความเหมือนกัน  แต่หนูก็ยังไม่หายสงสัยค่ะเพราะรู้สึกว่าสำนักงานประกันสังคมกับแรงงานตีความคำว่า ค่าจ้างไม่ค่อยเหมือนกันเลยค่ะ

ท่านเห็นว่า คำว่า ค่าจ้างของประกันสังคมกับแรงงานต่างกันหรือเปล่าคะ ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ 

มีเพิ่มเติมค่ะ ที่ว่าพนักงานมาทำงานสายจะไม่ได้รับค่ากะนั้น เป็นข้อตกลงสภาพการจ้างด้วยค่ะ สหภาพได้เรียกร้องค่ากะเพิ่ม แต่บริษัทก็ให้แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มาทำงานสายค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-10-28 11:46:39


ความคิดเห็นที่ 5 (3220549)

คุณอาจต้องเข้าใจในเรื่องคำว่าค่าจ้าง ในความหมายของประกันสังคน กับความหมายของคุ้มครองแรงงาน และความหมายของสรรพากรต่างกันไป บางทีคนละเรื่องเลยครับ ดังนั้นคงเอามาเทียบเคียงกันไม่ได้ ประกันสังคมมี limit เรื่องขั้นสูงของการเรียกเก็บเงินสมทบ ดังนั้นก็จะเอาเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้ ไม่ว่าเป็นสวัสดิการ หรือค่าจ้าง เอาเข้าเป้นรายได้เพื่อเข้าประกันสังคมหมด หากแยกออกมา รายได้ที่จัดเก็บก็จะลดลงและไม่ได้ตามเป้า

ส่วนคุ้มครองแรงงาน ก็ว่ากันตามตัวบทและตีความตามกฎหมาย ว่า อะไรคือค่าจ้าง อะไรไม่ใช่ค่าจ้าง และขึ้นกับความเห็นของเจ้าหน้าที่ด้วย ซึ่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคุ้มครองแรงงาน ไม่ใช่นายจ้าง ดังนั้นทุกอย่างก็ตีเข้าข้างลูกจ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาครับ ดังนั้นนายจ้างเองต้องมีหลักที่มั่นคง สามารถอธิบายได้ ก็สามารถจะทำให้เจ้าหน้าที่ยอมรับได้บ้าง

หากเป็นข้อตกลงสภาพการจ้าง หากจะเปลี่ยนแปลงก็ต้องมีการเจรจา ขึ้นอยู่กับเทคนิคการเจรจา และความอึดของนายจ้างว่าจะยอมหรือไม่

นายจ้างต่างประเทศ เช่น GM หรือ AAT (Ford) ตอนแรกเสียงแข็งว่าจะเอาจริง พนักงานบริหารเอาด้วยที่ช่วยนายจ้าง แต่ไปๆมาๆ กลับลำ ยอมเฉยๆเลย ซึ่งก็มาจากแรงบีบคั้น จากทางเจ้าหน้าที่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก้มาจากนักการเมืองด้วย ก็อาจจะมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ในสังคมไทยครับ

แต่ที่ผมเคยเรียนไว้ คงต้องทันสหภาพแรงงาน คุณถึงสามารถต่อกรกับสหภาพได้

ขอให้ประสพความสำเร็จในการเจรจาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-10-30 08:35:16


ความคิดเห็นที่ 6 (3220919)

ขอบพระคุณท่านมากค่ะที่สละเวลามาตอบคำถามและชี้แนะ และให้กำลังใจ ขอบพระคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-10-31 19:15:05



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.