ReadyPlanet.com


รบกวนช่วยตอบและหากจะคิดค่าปรึกษาจะเป็นเท่าไร


เรียน Web Master

 

     เพื่อนผมชื่อ  S ได้ลาออกจากบริษัท V ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2550 แต่กลับถูกบริษัท V เรียก

กลับให้มารับทราบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างทำงานอยู่ในบริษัท V เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,300,000.- บาท

 

       โดยทาง S แจ้งว่ามิได้เป็นความผิดพลาดหรือเลินล่อของ S แต่อย่างใด       แต่เป็นค่าทำการตลาดที่ บริษัทฯ Computer Brand A

ได้มอบเงินให้มาทำการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย  แต่กลับจ่ายให้กับบริษัท V ไม่ครบจำนวนที่ตกลงกันไว้ ซึ่งจะมีการค่าทำการตลาดในหลายๆงวดรวมกัน แต่ทาง S ก็ได้มีการ

ทวงถามตลอดเวลาเป็นระยะๆ พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเป็นระยะตลอด และในบางกรณีก็ได้พาผู้บังคับบัญชาไปเจรจาด้วยแต่ก็ไม่สำเร็จ โดยค่าการทำการตลาดโดยรวมเป็นเงิน 60,000.- USD. แต่ทาง Computer Brand A จ่ายให้

บริษัท V เพียง 20,000.- USD.- แต่ได้แจ้งกับทางบริษัท V ที่ไม่สามารถจ่ายส่วนที่เหลือได้เนื่องจากทาง S ไม่ได้ทำ

กติกาที่ Computer Brand A กำหนดได้  ( S แจ้งว่าส่วนมากก็ทำได้ แต่บางกรณีทางที่ Computer Brand Aให้ใช้เงิน

แต่หลังจากใช้ไปแล้วกลับมาแจ้งว่าได้ปรับเปลี่ยนเงินทำการตลาดในรูปแบบใหม่แล้วต้องยกเลิกของเก่า)

 

       บริษัท V ได้นำ ส่วนต่างของ Computer Brand A ที่ต้องจ่าย 40,000.- USD.- และยังนำกรณีอื่นๆอีกมากมายมา

เป็นค่าเสียหาย รวมแล้วประมาณ 2,600,000.- และแจ้งว่าจะลดให้เหลือเพียง 1,300,000.- (จ่ายคนละครึ่ง บริษัท V และ S )

     ทาง S ก็ยังไม่ยอมรับทราบค่าเสียหายทั้งหมด ครับ 

 

จึงเรียนมาเเพื่อขอถามด้งนี้:-

1)     ความเสียหายลักษณะแบบนี้ลูกจ้างต้องรับผิดชอบด้วยหรือ

 

2)     หากแจ้งให้บริษัท V ฟ้องศาลเอาเองทาง S จะไม่จ่ายจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าเป็นความผิดของ S จริง ตามข้อมูลเบื้องต้น S จะหลุดพ้นข้อกล่าวหาหรือไม่

 

3)     ตอนที่ออกจากบริษัท A เนื่องจากมีบริษัท B มาชวนไปทำงาน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำเนื่องจาก บริษัท A เป็นคู่ค้ากับบริษัท B และได้มีเอกสารแจ้งบริษัท B ไม่ให้รับ S เข้าไปทำงาน จากสาเหตุนี้จะสามารถนำมาฟ้องกลับถึงการเสียสิทธิที่จะไปทำงานที่อื่นที่ไม่ใช่คูแข่งได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ณรงค์ :: วันที่ลงประกาศ 2007-09-07 22:53:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1150114)

ตกลงว่าจ้างให้ทำการตลาดโดยตั้งงบประมาณไว้ 60,000 - เมื่อทำการตลาดได้บางส่วนมีการหยุดจ่ายเงินตามงบประมาณ ผู้ว่าจ้างอ้างว่า ลูกจ้างมิได้ทำการตลาดตามข้อตกลง ลูกจ้างอ้างว่า ทำการตลาดตามข้อตกลง แต่ผู้ว่าจ้างเปลี่ยนแผนการตลาดใหม่ต้องการยกเลิกแผนเดิม ข้อเท็จจริงจึงเถียงกันว่า ลูกจ้างทำงานผิดข้อตกลงหรือไม่ ? จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนนี้ให้ยุติเสียก่อน

หากข้อเท็จจริงฟังว่า ลูกจ้างผิดข้อตกลง ต้องฟังต่อไปว่า การผิดข้อตกลงของลูกจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างยกเลิกสัญญาได้หรือไม่ การผิดข้อตกลงมิใช่จะยกเลิกสัญญาได้ทุกกรณีไป ความผิดที่จะยกเลิกสัญญาได้ต้องมีลักษณะเท่าเทียมกับสัญญาในส่วนที่ยกเลิก หากฟังว่า การผิดข้อตกลงมิใช่สาระสำคัญที่จะเลิกสัญญาได้ ผู้ว่าจ้างถือเป็นผู้ผิดสัญญา

หากข้อเท็จจริงฟังว่า การผิดข้อตกลงเป็นสาระสำคัญที่จะเลิกสัญญาได้ ถือว่า นายจ้างเป็นผู้ผิดสัญญา ส่วนลูกจ้างผู้เป็นต้นเหตุให้นายจ้างผิดสัญญานั้น จะต้องรับผิดต่อนายจ้างเพียงใด เป็นอีกกรณีหนึ่งแยกต่างหากจากความรับผิดของนายจ้างต่อผู้ว่าจ้าง

ลูกจ้างจะรับผิดต่อนายจ้างต่อเมื่อฟังได้ว่า ลูกจ้างทำงานโดยฝ่าฝืนระเบียบ จงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อ งบประมาณส่วนที่ยกเลิกถือเป็นต้นทุนการทำงาน มิใช่ค่าเสียหาย

หากฟ้องคดี ลูกจ้างจะต้องรับผิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่า ฟังเป็นยุติตามเงื่อนใขใด ตามคำตอบข้างต้น

นายจ้างใหม่ไม่รับลูกจ้างเข้าทำงาน ตามคำแนะนำของนายจ้างเก่า ถือเป็นดุลพินิจของนายจ้างใหม่ นายจ้างเก่าไม่มีความผิด เว้นแต่ การให้ข้อมูลเป็นเท็จด้วยเจตนาใส่ความลูกจ้าง อาจต้องรับผิดได้เช่นกัน 

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2007-09-08 16:33:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.