ReadyPlanet.com


โดนเจ้านายฟ้องเรื่องใบลาออก จะทำอย่างไรดี



ทางลูกจ้างได้แจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน ตามสัญญาว่าจ้างพนักงานประจำและ ตามกฏหมายแรงงานทั่วไป   แจ้งในวันที่ 8 เดือน เมษายน 2552 ระบุว่ามีความประสงค์ขอลาออกจากเป็นพนักงานของบริษัท ตั้งแต่ 8 เดือนพฤษภาคม พ.. 2552 ซึ่งเป็นแบบฟอร์มในลาออกของบริษัท แต่ได้มีการตัดข้อความออกไปในหนังสือ หลังจากยื่นหนังสือลาออก ทางนายจ้างได้เขียนไว้ในหนังสือลาออกว่า “ช่วยเปลี่ยนวันที่ 31 . 

สัปดาห์ต่อมา ลูกจ้างได้รับหนังสือการแจ้งใบลาออกตามฟอร์มของบริษัท อีกฉบับหนึ่งพร้อมลายเซ็นนายจ้าง  แต่ลูกจ้างไม่ได้เซ็น เพราะมีข้อความระบุไว้ว่า

“ทั้งนี้หากข้าพเจ้ามีหนี้สิน หรือค่าเสียหายที่จะต้องชำระให้กับบริษัท ไม่ว่าด้วยกรณีใด ก็ตาม ข้าพเจ้ายินยอมให้ บริษัทหักจากเงินค่าจ้างและเงินสิทธิประโยชน์อ่น ๆ ที่ข้าพเจ้าได้รับจากบริษัทได้ และหากจำนวนเงินดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการชำระค่าเสียหาย ข้าพเจ้ารับว่าจะนำเงินมาชำระหนี้ที่คงค้าง ให้เป็นที่เรียบร้อย ก่อนพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานบริษัท”

  1. อยากถามว่า ถ้าลูกจ้างตัดข้อความใบลาออกของบริษัท ตามข้างต้น นายจ้างมีสิทธิฟ้อง ข้อหาที่แก้ไขและตัดทอนแบบฟอร์มใบลาออก หรือไม่  เนื่องจากมีหัวกระดาษบริษัท และมีชื่อฟอร์มอยู่ด้านล่าง
  2. กรณีที่ ได้รับหนังสือว่า ถ้าพนักงานไม่ได้ปฏิบัติตาม บริษัทก็จะดำเนินการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเป็น 2 เท่าของเงินเดือน จะมีผลอย่างไร หากนายจ้างฟ้องจริง
  3. กรณีนายจ้างแจ้งหนังสือมาว่า หนังสือลาออกที่ยื่นให้นายจ้าง มีการดัดแปลง ไม่สมบูรณ์ ถือว่าเป็น โมฆะ และลูกจ้างไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้  เพราะไม่ได้รับลายเซ็นอนุมัติจากนายจ้าง  เป็นโมฆะได้จริงหรือไม่


ผู้ตั้งกระทู้ ayumi :: วันที่ลงประกาศ 2009-04-24 17:15:25


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2999264)

1. ไม่รู้นายจ้างจะฟ้องไปทำไม? ใบลาออกนั้นก็แค่ไม่สมบูรณ์และเป็นโมฆะ

2. หากนายจ้างฟ้องจริง ลูกจ้างก็ต้องไปสู้คดีหรือไม่ก็ยอม เรื่องของผลอยู่ที่ดุลพินิจของศาล

3. เป็นโมฆะจริง

ผู้แสดงความคิดเห็น espresso_29 วันที่ตอบ 2009-04-24 21:42:12


ความคิดเห็นที่ 2 (2999452)

1. หนังสือลาออกเป็นหนังสือของลูกจ้าง แม้นายจ้างเป็นฝ่ายทำให้ หากลูกจ้างไม่เห็นด้วยกับข้อความใดย่อมมีสิทธิตัดข้อความนั้นออกก่อนลงชื่อในหนังสือนั้นได้ ไม่ถือเป็นความผิดใดๆทั้งสิ้น นายจ้างไม่มีสิทธิฟ้อง

3. หนังสือลาออกมีผลสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆะ

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2009-04-25 14:02:20


ความคิดเห็นที่ 3 (3000104)

หนังสือลาออกเป็นการแสดงเจตนาของลูกจ้างที่จะบอกยกเลิกสัญญา หากยื่นไปแล้วก็มีผลตามนั้น การแก้ไขใดๆ ในสัญญาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมหรือรับทราบ ก็ไม่มีผลใดๆ

การที่มีหนังสือลาออกมาอีกฉบับหนึ่งและมีข้อความเพิ่มเติมมาใหม่นั้น ลูกจ้างสามารถไม่ลงนามในหนังสือลาออกใหม่นั้นได้ และนายจ้างก็ไม่มีสิทธิบังคับให้ลูกจ้างลงนามในหนังสือลาออกนั้นด้วย เนื่องจากไม่ได้เป็นเจตนารมย์ของลูกจ้าง

นายจ้างจะทำอะไรก็ได้จะฟ้องก็ได้ แต่ต้องพิสูจน์ถึงความเสียหายนั้น และการที่ยื่นหนังสือลาออกฉบับแรกแล้ว หากลูกจ้างลาออกตามนั้น ก็ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการลาออกของลูกจ้างได้ ยกเว้น ความเสียหายเกิดจากการกระทำของลูกจ้างในระหว่างที่สัญญาจ้างยังมีผลอยู่เท่านั้น

หนังสือลาออกกฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นแบบฟอร์ม การแสดงเจตนาถึงอีกฝ่ายหนึ่งถือว่าสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-04-27 08:58:39


ความคิดเห็นที่ 4 (4299717)

 สรุปนายจ้างโง่

ผู้แสดงความคิดเห็น นายจ้างโง่ วันที่ตอบ 2019-03-16 09:09:05



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.