ReadyPlanet.com


ข้อสงสัยกฎหมายแรงงาน


1.กรณีลูกจ้างกระทำผิดกฎบริษัทฯอย่างร้ายแรงเช่นตอกบัตรแทนกัน แต่นายจ้างกรุณาปราณีลดโทษจากปลดออกโดยไม่จ่ายค่าจ้างเป็นพักงาน 3 วันหลังจากการสอบสวนสิ้นสุดลง(การกระทำผิดมีหลักฐานชัดเจนทั้งจากพยามบุคคล หลักฐานเอกสาร  กล้องวงจรปิด)และบันทึกการสอบสวนและใบเตือนลูกจ้างก็ลงลายมือชื่อยอมรับผิดไปแล้ว ถามว่าในระหว่างการพักงาน 3 วันต้องจ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่งหรือไม่ตามมาตรา 116 เรื่องการพักงานเพราะผมเช็คกฎหมายข้อดังกล่าวระบุไม่ชัดเจนแต่เคยได้ยินมาว่าเคยมี ฎีกาเรื่องนี้ประมาณปีพ.ศ. 2542 ได้ระบุว่าไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแม้แต่บาทเดียว

2.ลูกจ้างของผู้รับเหมาช่วงได้รับค่าจ้างไม่ครบ โดยถูกบริษัทผู้รับเหมาช่วง(Subcontractor)ยักยอกเงินในส่วนที่ลูกจ้างควรจะได้รับ ถามว่าลูกจ้างจะสามารถไล่เบี้ยฟ้องร้องเอากับนายจ้างลำดับแรกได้หรือไม่(นายจ้างลำดับแรกมีหลักฐานว่าได้จ่ายเงินค่าจ้างของลูกจ้างคนนั้นโดยมีหลักฐานเป็นรายละเอียดรายชื่อและการโอนเงินไปแล้วกับบริษัทSubcontractorครบถ้วน)และหากถูกร้อง นายจ้างลำดับแรกจะตกเป็นจำเลยที่สองต่อจากบริษัทSubcontractor หรือไม่เพราะตามมาตรา 5 ระบุไว้ว่าลูกจ้างสามารถไล่เบี้ยเอาได้ แต่ในกรณีนี้นายจ้างลำดับแรกที่ถูกไล่เบี้ยมีหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้บริษัทSubcontractorครบถ้วนไปแล้วจึงไม่ใช่ความผิดของตน

3.นายจ้าง 1 คนเป็นเจ้าของบริษัทฯ 2 บริษัทคือ A และ B ว่าจ้างลูกจ้าง สมมติชื่อนาย ก. ทำงานให้บริษัท A โดยมีสัญญาจ้างระหว่างนาย ก.กับบริษัทฯ A ชัดเจนโดยระบุทั้งเงินเดือนและความรับผิดชอบเอาไว้ทำงานสัปดาห์ละ 6 วันวันละ 8 ช.ม.เวลาผ่านไป 3 ปีนายจ้างได้มอบหมายให้นาย ก.ไปช่วยทำงานให้บริษัท B ด้วยโดยดึงเวลาจากการทำงานให้บริษัท A  แต่เงินเดือนและเวลาทำงานยังคงเท่าเดิมซึ่งนาย ก. ก็เต็มใจเพราะเห็นว่าเป็นการแบ่งเบาภาระนายจ้าง ตามกฎหมายการจ้างงานนายจ้างสามารถทำเช่นนี้ได้หรือไม่ และหากเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งนาย ก. ไม่สามารถรับผิดชอบงานทั้งสองได้เต็มที่และรู้สึกเหนื่อยจึงขอลดความรับผิดชอบเหลือ A เพียงบริษัทเดียวแต่นายจ้างไม่ยินยอมจึงเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ถ้าเรื่องไปสู่ ศาลแรงงานคำวินิจฉัยนี้จะออกมาอย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ พรเทพ :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-23 14:47:39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2987223)

1. หากนายจ้างมีระเบียบเรื่องของการลงโทษทางวินัยว่า การพักงานเป็นโทษอย่างหนึ่ง นายจ้างก็สามารถทำได้ โดยการพักงานนี้ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง ถือว่าเป็นการลงโทษ แต่หากระเบียบไม่ได้เขียนไว้ ก็ไม่สามารถลงโทษตามระเบียบได้ การรูดบัตรแทนกันนั้น หากทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ก็ถือว่าเป็นเรื่องร้างแรง แต่ไม่ได้มีเจตนาทุจริตก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ลองดูฎีกาหลังจากนั้น แนวทางคำพิพากษาก็เปลี่ยนไปบ้าง ร้ายแรงหรือไม่ ศาลเป็นผู้วินิจฉัยส่วนการพักงานเพื่อการสอบสวนนั้น จ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่ง หากพบว่าไม่ผิดก็ต้องจ่ายคืนให้อีกครึ่งหนึ่ง คนละเรื่องกับ พักงานเพื่อการลงโทษ

2. ลูกจ้างพนักงานรับเหมาสามารถฟ้องร้องบริษัทผู้ว่าจ้าง sub ได้เลยในกรณีที่นายจ้างตัวจริงไม่จ่ายเงิน แม้ว่าจะมีหลักฐานในการจ่ายเงินให้บริษัท sub ไปแล้ว แต่บริษัทฯก็สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอากับบริษัท sub ได้ภายหลัง

3. ใครจ่ายค่าจ้างถือเป็นนายจ้าง ไม่ว่าจะส่งไปทำงานที่ใดก็ตาม และหากให้ทำงานที่นอกเหนือสัญญาจ้างแล้ว ลูกจ้างสามารถปฏิเสธได้ และหากนายจ้างอ้างเรื่องนี้แล้วเลิกจ้าง โอกาสที่ลูกจ้างจะชนะคดีก็มีสูง เพราะนายทำผิดสัญญาจ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-03-24 08:05:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.