ReadyPlanet.com


โอนลูกจ้างตามปพพ.ม. 577 กับจดทะเบียน ควบ พรบ. ม.13 ต่างกันอย่างไร


มีข้อสงสัยดังนี้ค่ะ

กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ เช่น สำนักงานผู้แทน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายพิเศษ ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จะยกเลิกสำนักงาน โดยก่อนการยกเลิกสำนักงานจะทำการจัดตั้งบริษัทใหม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ไทย เช่นนี้การโอนย้ายพนักงานปัจจุบันของสำนักงานใหม่ ไปยังบริษัทที่จะจดตั้งใหม่ในอนาคต ถือเป้นกรณีใดระหว่าง

1. นายจ้างโอนย้ายลูกจ้างตามปพพ.มาตรา 577 หรือ
2. การจดทะเบียน ควบรวมกิจการ ตามมาตรา 13 (กรณีนี้ไม่ใช่การควบรวม แต่จัดตั้งใหม่ ผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทแม่รายเดียวกัน จะยังถือว่าอยู่ในบังคับมาตรา 13 หรือไม่)

ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ T :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-25 17:51:03


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3712681)

 การที่ท่านได้รับค่าจ้างจากนายจ้างที่เป็นสำนักงานตัวแทนในประเทศไทย ถือว่าสำนักงานนั้นเป็นนายจ้าง หากสำนักงานถูกยุบไปหรือปิดกิจการไปถือเป็นการเลิกจ้างจากนายจ้างเดิม และนายจ้างเดิมต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่หากนานจ้างเดิมโอนสิทธิการจ้างไปยังนายจ้างใหม่ ที่ต้องรับทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างเดิมไป เช่น เงินเดือน สวัสดิการ อายุงาน และลูกจ้างยอมรับการโอนย้าย ก็ถือว่าการโอนย้ายนั้นเป็นผลสมบูรณ์ 

1. หากลูกจ้างยินยอมพร้อมใจก็เข้ามาตรา 577 ปพพ

2. เข้ามาตรา 13 เพราะหากนายจ้างรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-09-26 10:37:06


ความคิดเห็นที่ 2 (3715351)

ขอบคุณค่ะ

คือกรณีนี้เข้าทั้ง 577 และ 13 ใช่มั้ยคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น T วันที่ตอบ 2014-10-01 16:00:37



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.