ReadyPlanet.com


การลาพักร้อน


ระเบียบเขียนว่า การลาพักร้อนจะต้องยิ่นล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน

มีพนง.ยื่นล่วงหน้า 1 วัน เพื่อลาพักร้อนไปอบรมที่ต่างประเทศ เป็นเวลา 5 วัน นายจ้างไม่อนุมัติ

พนง.ก็ไปโดยให้เหตุผลว่าทุกอย่างดำเนินการไปหมดแล้วไม่สามารถยกเลิกได้

นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้เลยทันทีหรือไม่ (นายจ้างยังไม่เคยเตือนลูกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร)

จะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือเปล่า

นายจ้างได้ยื่นข้อเสนอให้ลูกจ้าง 2 ข้อ คือ

1 ให้เขียนใบลาออก

2 ให้ออกโดยไม่จ่ายชดเชย

ลูกจ้างไม่รับทั้ง 2 ข้อ

นายจ้างจะต้องดำเนินการอย่างไร และส่วนของลูกจ้างด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ Patchapong :: วันที่ลงประกาศ 2010-06-06 19:37:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3187746)

เมื่อนายจ้างไม่อนุมัติ การหยุดงานจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่ เกินกว่า 3 วันทำงาน ส่วนจะเป็นการละทิ้งหน้าที่กรณีมีเหตุอันควรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงโดยละเอียด หากไม่มีเหตุอันควร นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

นายจ้างควรสอบข้อเท็จจริงให้สมบูรณ์ก่อนดำเนินการใดๆต่อไป

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2010-06-06 21:34:52


ความคิดเห็นที่ 2 (3187818)

การไปอบรมต่างประเทศไม่ได้ใช้เวลาเพียงวันเดียวที่จะเตรียมตัวเดินทาง จะต้องมีการเตรียมตั๋วเครื่องบิน อาจต้องทำ visa การติดต่อ organizer ที่ต่างประเทศ อย่างน้อยก็ใช้เวลาประมาณ มากกว่า 1 สัปดาห์ ดังนั้นการยื่นใบลาล่วงหน้าเพียงวันเดียว ไม่เป็นไปตามระเบียบ นายจ้างสามารถอนุมัติหรือไม่ เป็นสิทธิของนายจ้าง หากนางจ้างไม่อนุมัติ ลูกจ้างดึงดันที่จะไป และหยุดงานไป ก็ต้องถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ เกินกว่า 3 วัน จะมีเหตุอันควรหรือไม่ ก็ต้องมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

จากเหตุผลข้างต้น แม้ว่าจะลาไปอบรมก็ต้องทำตามระเบียบ ดังนั้นอาจเข้าข่ายไม่มีเหตุอันควร การมีเหตุอันควรนั้น ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรมอันดี การไปดูแลบิดามารดาที่ป่วยหนัก การไปเพื่อการกตัญญู การไปติดคุกโดยไม่สามารถติดต่อได้ ฯลฯ เช่นนี้ถือว่ามีเหตุ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา ในเรื่องนี้มาหลายคดีแล้ว ที่หยุดงานไปศาลเห็นว่าไม่มีเหตุอันควร

การฝ่าฝืนตามมาตรา 119(5) นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

หากนายจ้างเสนอทางเลือกให้แล้ว ลูกจ้างไม่เลือก ก็คงต้องดเนินการตามระเบียบข้อบังคับในการทำงาน และจะให้แน่นหนาก็ต้องสอบสวนเรื่องนี้ และทำการเลิกจ้างไป โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ฯลฯ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-06-07 08:21:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.