ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


หลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน

หลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน

 

                        หลัก 7 ประการ ในการบริหารแรงงาน โดย Chuck Marti ในหนังสือเรื่อง Touch Management ที่นายกรัฐมนตรีแนะนำ  ซึ่งสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ได้สรุปสาระสำคัญให้อ่านกันดังนี้

            หลัก 7 ประการที่ผู้บริหารควรรู้

1.       การสื่อสารที่ชัดเจน

             การบริหารงานที่ดีจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับเรื่องการสื่อสาร ซึ่งหมายรวมถึงการสื่อสารเรื่องอะไร เมื่อไหร่และอย่างไร (What,When,and How) และทำไม (Why) คุณถึงต้องการสื่อสารสิ่งนั้น ๆ นอกจากนั้นความถี่และน้ำเสียงที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญเช่นกัน

-           ความชัดเจนในการสื่อสาร

       นับว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการสื่อสารที่ดี  และเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในระดับใด  เนื่องจากคนส่วนมากมักจะรู้สึกว่าตนเองสื่อสารได้ดีกว่าฟัง (ได้ยิน) การบริหารที่ดีมีการฟังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารทั้งหมด  และการสื่อสารควรจะกระทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

-           น้ำเสียงที่ใช้ในการสื่อสาร

        น้ำเสียงที่ใช้ในการสื่อสารก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับข้อความที่ต้องการจะสื่อสารออกไปเนื่องจากใช้น้ำเสียงไม่เหมาะสมกับสิ่งที่ที่ต้องการจะสื่อนั้นอาจทำให้การสื่อสารมีความคลาดเคลื่อนได้

        การสื่อสารที่ไม่ดีทำให้เกิดการขาดการเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ (Strategy) และการบริหาร (Execution) ความท้าทายอย่างหนึ่งในปัจจุบันคือการที่จะลดช่องว่างระหว่างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและความเป็นจริงที่ผู้จัดการและพนักงานจะต้องทำให้วิสัยทัศน์นั้น ๆ เป็นความจริงได้ ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญในการบริหารที่ดี  เนื่องจากถ้าการสื่อสารมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจชัดเจนและตรงกันทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2.       การตัดสินใจ

            ผู้บริหารจำเป็นต้องทำการตัดสินใจที่ยากลำบากหลายครั้งในการทำงาน  เมื่อมีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ผู้บริหารบางท่าน อาจตัดสินใจแบบฉับพลัน ในขณะที่ผู้บริหารบางส่วนก็รับฟังความเห็นจากผู้อื่นก่อนจึงจะทำการตัดสินใจ การตัดสินใจที่ยากลำบากอาจมีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น

-           ระยะเวลาในการตัดสินใจ

       เวลาและข้อมูลนับเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจ  หลายครั้งที่ตัดสินใจกลายเป็นเรื่องยาก  เนื่องจากผู้ที่ต้องตัดสินใจมีเวลาและข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ไม่เพียงพอ เมื่อต้องตัดสินใจหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน  ผู้ตัดสินใจควรจัดลำดับความสำคัญในเรื่องของเวลา  ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่สมควรจะได้รับการพิจารณาก่อน

-           ลำดับความยากของการตัดสินใจ

       บางครั้งผู้บริหารอาจต้องตัดสินใจเรื่องยากหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน  ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องพิจารณาว่าเรื่องที่ต้องตัดสินใจนั้นอาจส่งผลกระทบอย่างไรกับใครบ้าง  รวมถึงพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้

3.       มุ่งผลลัพธ์

            ผู้บริหารที่ดีจำเป็นต้องพิจารณาว่าผลลัพธ์ประการไหนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและพยายามตั้งเป้าหมายเพื่อที่จะบรรลุผลลัพธ์นั้นโดย

-           ตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำงาน โดยตั้งใจทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง  และทำงานอย่างมีเป้าหมาย และกำหนดเวลา

-           ทำงานอย่างฉลาด  โดยใช้เวลาในการทำงานแต่ละชิ้นอย่างคุ้มค่า

-           ทำงานหนัก เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

-           ลดการประชุม  เนื่องจากการบริหารที่ดีไม่จำเป็นต้องอาศัยการประชุมบ่อยครั้ง  แต่พยายามทำให้การประชุมแต่ละครั้งมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

-           มองถึงผลลัพธ์อย่างเป็นจริง  เพื่อให้สามารถตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกัน

-           พยายามกระตุ้นให้องค์กรมีความตื่นตัวอยู่เสมอ

4.       สร้างความยืดหยุ่น

            ความยืดหยุ่นมีความสำคัญเนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำให้ความตึงเครียดในการทำงานลดลงได้ในปัจจุบันผู้บริหารต้องเผชิญกับสภาวะการทำงานที่ตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา  การสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทำงาน  ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้บริหารสามารถจัดระเบียบการทำงานได้อย่ามีประสิทธิภาพและยังสามารถติดตามผลงานได้อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น  นอกจากนั้นในการบริหารงานที่ดีควรจะมีการตรวจสอบงานแต่ละอย่างว่ากำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่เพื่อพิจารณาถึงทางเลือกต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ

            ผู้บริหารที่ดียังควรที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ  เพื่อทำการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานและบริหารให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

5.       ส่งเสริมคนที่มีความรู้ความสามารถ

            การที่จะทำให้องค์กรเห็นคุณค่าของคุณนั้นอาศัยปัจจัยหลายประการที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริหารที่ดี  สิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือการทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน  และยังต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลายประการ  การบริหารที่ดี  จึงจำเป็นต้องอาศัยความสามารถในการมองเห็นความเปลี่ยนแปลง และนำพาองค์การไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง

            นอกจากนั้นการที่จะทำให้องค์การเห็นคุณค่าของคุณยังสามารถทำได้โดยการเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เพื่อพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการทำงาน

 

6.       สร้างความร่วมมือ

            การบริหารที่ดีจำเป็นจะต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม (Teamwork) โดยร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน  ซึ่งสิ่งนี้นอกจากจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการบริหารที่ดีแล้ว  ยังนับว่าเป็นการพัฒนาความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน  ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญการสร้างความร่วมมือกันในการทำงาน  การสร้างความร่วมมือในการทำงานสามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็น

            การสร้างความร่วมมือผ่านการคิดแบบจัดลำดับความสำคัญ  แนวการคิดแบบจัดลำดับความสำคัญ (Priority Tingking) สามารถช่วยให้ผู้ทำงานสามารถประเมินได้ว่างานใดมีความสำคัญ หรือสามารถกระทำได้ก่อน ซึ่งทำให้งานมีความสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            การสร้างความร่วมมือโดยการแบ่งปันข้อมูลการแบ่งปันและเผยแพร่ข้อมูลในองค์การนั้นสามารถทำให้การตัดสินใจดียิ่งขึ้น  ซึ่งส่งผลให้ผลลัพธ์ในการทำงานมีการพัฒนา  ในปัจจุบันหลาย ๆ องค์การเชื่อว่าความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้คนมีศักยภาพในการทำงาน  อย่างไรก็ดีในการเผลแพร่หรือแบ่งปันข้อมูลข่าวสารในองค์กร  มักจะมีปัญหาที่สำคัญสองเรื่องที่มักจะเกิดขึ้นคือ

-           เมื่อข้อมูลเผยแพร่ไปแล้ว  ไม่มีการดำเนินการใดต่อเนื่องจากให้มีคำสั่งให้กระทำการใด ๆ ทำให้ข้อมูลที่เผยแพร่ออกมาไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ให้กับองค์กร

-           การ แบ่งปันข้อมูลไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายใดโดยตรงยกเว้นผู้ที่เผยแพร่

ดังนั้น ผู้ได้รับข้อมูลจึงไม่ได้ดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลที่ได้รับมา

7.       การบริหารงานที่ดีไม่จำเป็นต้องสร้างแรงกดดัน

            การบริหารงานที่ดีนั้น  ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด หากแต่พยายามที่จะสร้างความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและเห็นคุณค่าของลูกน้องและผู้ร่วมงาน  นอกจากนั้นผู้บริหารยังควรที่จะทำให้การทำงานเกิดความสมดุล  เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริหารมีแนวโน้มที่ต้องใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น  ซึ่งทำให้การทำงานขาดความสมดุล  ดังนั้นในบางครั้งผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องหยุดพัก  เพื่อที่จะพัฒนาและหามุมมองใหม่ ๆ ในการทำงาน

            ผู้บริหารที่ดียังควรที่จะใส่ใจผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย  แนวโน้มที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือปริมาณงานเพิ่มสูงขึ้น  ในขณะที่ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย  ผู้บริหารควรที่จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่าผู้ที่ทำงานหนักได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมหรือไม่  นอกจากนั้นความเชื่อมั่นของผู้ทำงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญ  ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน  ความเชื่อมั่นของผู้ทำงานกำลังลดลงอันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ  ดังนั้นผู้บริหารที่ดีจึงต้องสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน  โดยพยายามรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้ทำงานเพื่อองค์กร

 

 

 

เรียบเรียงโดย  สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

สำนักปลัดกระทรวงแรงงาน







Copyright © 2010 All Rights Reserved.