ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? article

การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ?

ตอนที่ 1 ความเห็นของอัยการ

            ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน 2548 หน้า 18 คอลัมน์เศรษฐกิจ ความว่า “แหล่งข่าวจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า ทางผู้บริหารบริษัทได้ส่งข้อกำหนด ทีโออาร์ ให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา เนื่องจากยังมีบางประเด็นใน ทีโออาร์ที่ไม่สามารถหาข้อยุติในแง่กฎหมายและแนวทางปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งทางสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือตอบกลับมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ว่ากรณีที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะจัดหาแรงงานภายนอกนั้น เห็นว่ามีความเสี่ยงทางกฎหมายสูง เพราะหากแรงงานภายนอกใช้สิทธิ์เรียกร้องต่อศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2543 ศาลแรงงานอาจจะพิจารณาว่านิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่เป็นแรงงานภายนอกมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 หรือถือว่าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2543 มาตรา 6 ดังนั้น การจ้างแรงงานภายนอกอาจมีผลกระทบต่อภาพพจน์ของบริษัท ในฐานะที่การบินไทยเป็นบริษัทมหาชนได้ว่า บริษัทขาดธรรมมาภิบาล เพราะหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์” พออ่านบทความนี้จบผมก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการทำความเห็นเช่นนั้นของสำนักงานอัยการสูงสุด (ถ้าได้ทำจริง) และเห็นว่ากระบวนการพัฒนารัฐวิสาหกิจในบ้านเราคงทำได้ยากเสียแล้ว เพราะตราบใดที่ผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่มีความกล้าหาญและจิตสำนึกเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผลและลดต้นทุนแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนด้านการพนักงานซึ่งมีอยู่ประมาณ 20-30% ของต้นทุนดำเนินการทั้งหมด ก็ยากที่เราจะพัฒนารัฐวิสาหกิจของไทยให้ก้าวหน้าได้ การลดต้นทุนด้านการพนักงานโดยวิธีจัดจ้างแรงงานจากหน่วยงานภายนอกเป็นกระแสที่ทำกันมากในขณะนี้ทั้งในและต่างประเทศโดยสามารถทำได้ทั้งงานหลัก ( CORE BUSINEES) และงานสนับสนุน (SUPPORT) ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถใช้ประโยชนและจัดสรรทรัพยากรทางการเงินได้อย่างคุ้มค่าเพราะไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสวัสดิการทั้งของตัวพนักงานเองและพ่อแม่ลูกเมีย (หรือสามี) ของพนักงานซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินมหาศาลตลอดชีวิตการทำงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อหนึ่งคน (เคยมีผลการวิจัยว่า ข้าราชการตั้งแต่เริ่มรับราชการจนถึงเกษียณอายุการทำงานประเทศชาติต้องจ่ายเงินเป็นเงินเดือนและสวัสดิการทั้งของข้าราชการเองและครอบครัวเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทต่อข้าราชการหนึ่งคน พวกเรา ก็ลองคิดดูเอาเองว่า พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งประเทศจำนวนหลายแสนคนซึ่งมีโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการสูงกว่าข้าราชการมากมายนัก รวมแล้วจะสักเท่าไรต่อคน และเคยมีการพิสูจน์หรือไม่ว่าประเทศชาติได้รับสิ่งตอบแทนอย่างคุ้มค่าจากการจ่ายเงินเดือนหรือค่าตอบแทนเหล่านั้น) ทั้งเมื่อผู้ว่าจ้าง ได้ Outsource หรือตัดงานให้แก่ผู้รับเหมาซึ่งมีความชำนาญจริงในงานนั้นและจ่ายค่ารับเหมาตามข้อตกลงแล้วก็เป็นหน้าที่ของผู้รับเหมา ที่จะต้องจัดหาคนมาทำงานเองให้ครบถ้วน ถูกต้องตามปริมาณ คุณภาพ เงื่อนไขและเงื่อนเวลาให้ตรงตามที่ตกลงกันเท่านั้น ส่วนความรับผิดชอบในเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการพนักงานของผู้รับจ้างก็ดี เงินสมทบในส่วนของนายจ้างในกองทุนประกันสังคมก็ดี ตกเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบเองทั้งสิ้นตามกฎหมายเพราะอยู่ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกันตามความเป็นจริงทางกฎหมายทุกประการ แต่การที่สำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นว่าระหว่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่เป็นแรงงานภายนอก มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 หรือถือว่าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2543 มาตรา 6 นั้น ผมคิดว่าไม่สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว เพราะเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นั้นเป็นไปเพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน การจ่ายค่าจ้างและเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกาจ้าง การดูแลสวัสดิภาพและสวัสดิการ คุณภาพชีวิตในการทำงานของลูกจ้าง ตั้งแต่แรกเข้าทำงานจนพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้าง นอกจากนี้ยังได้กำหนดตัวบุคคลที่ต้องรับผิดชอบในทางแพ่งแทนนายจ้างตัวจริง ในกรณีที่นายจ้างตัวจริงไม่รับผิดชอบต่อลูกจ้าง ตลอดจนการไล่เบี้ยกันเองระหว่างนายจ้างต้นทางจนถึงนายจ้างปลายทางอีกด้วย จึงมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชนคละเคล้ากับกฎหมายมหาชนอาจเรียกรวมกันว่า เป็นกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมในสังคมก็ได้

 

 

โดย..เกรียงไกร  เจียมบุญศรี

นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) (ม.ร.) ประกาศนียบัตรบัณฑิตกฎหมายธุรกิจ (ม.ธ.),MPA (จุฬาฯ)

ทนายความที่ปรึกษากฎหมายในคดีแรงงาน

 

5/5/2549




ห้องรับแขก นักกฎหมายแรงงาน

ปัญหาการทำงานล่วงเวลาของพนักงานขับรถในธุรกิจการขนส่งทางบก article
ความไม่คืบหน้าของการจัดทำกฎหมายคุ้มครองผู้ทำงานบ้าน
ปรัชญาของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ปกิณกะคดีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ ตอนที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ
ปกิณกะคดีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ ตอนที่ 1
สิทธิหน้าที่และความคุ้มครองตามกฎหมายสำหรับลูกจ้างทดลองงาน
สถานการณ์ผู้รับงานไปทำที่บ้าน article
สภาพการจ้างโดยปริยาย article
สภาพการจ้างโดยปริยาย article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 9 article
การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? article
การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? ตอนที่ 2 ความหมายของ นายจ้าง ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน article
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานไทย article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 8 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 7 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 6 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ ...5 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ ....4 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 3 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 2 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่1... article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.