ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย
bulletเลิกจ้างนอกข้อยกเว้น มาตรา 123
bulletลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง
bulletข้อตกลงที่สิ้นผลผูกพัน
bulletห้ามทำสัญญาจ้างฯขัดข้อตกลงสภาพการจ้าง
dot
dot
bulletคำวินิจฉัยของศาลที่ไม่มีเหตุผลประกอบ
bulletการปฏิบัติตามคำพิพากษา
dot
dot
bulletสิทธิในการเรียกค่าขาดไร้อุปการะ
bullet“บุตร” หมายความว่าอย่างไร ?
bulletไม่ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
dot
dot
bulletหนังสือเตือนไม่ใช่โทษ
bulletประมาทเลินเล่อ
bulletไม่ผิดยักยอกแต่เลิกจ้างเป็นธรรม
bulletปิดกิจการชั่วคราว
bulletความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”
bulletทำงานแต่ละทิ้งหน้าที่
bulletต้องเลือกใช้สิทธิ
bulletการระบุเหตุผลในหนังสือบอกเลิกจ้าง
bulletการใช้สิทธิร้องพนักงานตรวจแรงงานและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พร้อมกัน
bulletการสละสิทธิไม่รับเงินประกัน
dot
dot
bulletฟ้องตัวแทนหางานในประเทศไทย
bulletฟ้องละเมิด
dot
dot
bulletจัดหางานไม่ได้รับอนุญาต
dot
dot
bulletประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจที่เป็นคุณต่อลูกจ้างแต่ออกภายหลังที่ลูกจ้างเกษียณอายุไปแล้ว
dot
dot
bulletศาลฎีกา
bulletศาลอุทธรณ์
bulletศาลแพ่ง
bulletศาลแพ่งกรุงเทพใต้
bulletศาลอาญา
bulletศาลแพ่งธนบุรี
bulletศาลแรงงานกลาง
bulletศาลล้มละลายกลาง
dot

dot
dot
dot
bulletกระทรวงแรงงาน
bulletกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
bulletกรมการจัดหางาน
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสำนักงานประกันสังคม
bulletสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
bulletศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน
bulletสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ
dot
dot
bulletบุษบาผู้น่าสงสาร
bulletขนมดังโกะ
bulletฤกษ์สึก
bullet My Insomnia “ผมจะเป็นอะไรมากไหม?”
dot
dot
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง
bulletอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550
bulletแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเข้าทำงานในช่วงปิดภาคเรียนหรือภาคฤดูร้อน
bulletหลัก 7 ประการในการบริหารแรงงาน
bullet สาระสำคัญพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
bulletหญิงไทยกับกฎหมายแรงงานใหม่
bullet10 เคล็ดลับ เพื่อผูกใจพนักงานไว้กับองค์กร
bulletร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.........
bulletร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับคณะกรรมการกฤษฎีกา
bulletร่างพระราชบัญญัติค่าจ้างและรายได้
dot
dot
bulletโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
bulletไทยเซฟตี้ดอทเน็ต
bulletสภาทนายความ
bulletทนายป๊อดดอทคอม
bulletสำนักกฎหมายทัศน์พงษ์ สกุลคู
bulletไทยจัสติสดอทคอม
bulletอาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์
bulletThaiJobCenter.com
dot
dot
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนเมษายน 2550
bulletตัวอย่างวารสารกฎหมายแรงงานเดือนพฤษภาคม 2550
dot
dot
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 3 หลักการพัฒนาตนเองให้เป็นพหูสูต
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 2 เทคนิคการปกครองคน 3 รูปแบบ
bulletพุทธธรรมที่ควรนำมาใช้ในการบริหารจัดการ ตอนที่ 1
bulletเคล็ดลับ 12 ประการในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ( 12 Tips for Building Good Human Relations)
bulletผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ ตอนที่...2
bulletฝ่ายบุคคลมือใหม่กับยายจำปีสุดแสบ
bulletเรื่องของ ค คน โดยจามจุรีสีชมพู
bulletสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง


ประชาสัมพันธ์ Add Url ฟรี!


การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? article

การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ?

ตอนที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างต้นทางกับนายจ้างปลายทาง

            ในกรณีที่ผู้รับเหมาค่าแรงซึ่งเป็นนายจ้างต้นทางและเป็นนายจ้างตัวจริงประพฤติตนเป็นนินจาหายตัวไปดื้อๆ และไม่ฝากเงินใดๆ ให้แก่ลูกจ้างเลย (ภาษานักเลงเรียกว่า ชักดาบ ) หรือไม่สามารถรับผิดชอบจ่ายเงินต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วแก่ลูกจ้างได้แล้ว กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างและเป็นนายจ้างปลายทางผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาจ้างเหมาค่าแรงเป็นผู้รับผิดชอบแทนนายจ้างต้นทางทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายค่าจ้างและเงินอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วแก่ลูกจ้างนั่นเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า ระหว่างลูกจ้างของผู้รับเหมา (ซึ่งเป็นนายจ้างต้นทาง) กับผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นนายจ้างปลายทางจะมีนิติสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกันจริงๆ ตามกฎหมายเลย เพราะนายจ้างปลายทางไม่ได้มีอำนาจบังคับบัญชาเหนือลูกจ้างของผู้รับเหมา

และจากข้อเท็จจริงดังกล่าว หน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนก็ตกเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมา หรือนายจ้างต้นทาง มิใช่บริษัทของผู้ว่าจ้าง ทั้งการทำสัญญาจ้างเหมาค่าแรงระหว่างผู้ว่าจ้างเหมาหรือนายจ้างปลายทาง กับผู้รับเหมานี้ก็เป็นเพียงการทำนิติกรรมสัญญาตามกฎหมายเท่านั้น ดังนั้นการที่การบินไทยสัญญาจ้างเหมาแรงงานภายนอกเพื่อทำการให้บริการบนเครื่องบินตามกฎหมายซึ่ง บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จะได้รับประโยชน์ในการลดต้นทุนในระยะยาวด้วย ผมจึงไม่เห็นว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะเสียหายภาพพจน์ใดๆ (ที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยแล้วต้องใช้คำว่าภาพลักษณ์) เลย ในกรณีที่จะมีแผนการจ้างเหมาแรงงานภายนอก (Outsource) เพราไม่ได้หลีกเลี่ยงกฎหมายใดๆ กระบวนการจัดจ้างก็เกิดขึ้นและเดินไปตามครรลองของกฎหมายทุกประการ ในทางตรงกันข้ามถ้ากระบวนการจัดจ้างแรงงานภายนอกให้ปฏิบัติหน้าที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพนักงานนั้น ได้กระทำอย่างโปร่งใสโดยบุคคลที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ และเมื่อได้ว่าจ้างแล้วการบินไทยการความคุ้มค่า (Effectiveness) ทางธุรกิจก็ยิ่งจะประจักษ์ชัดถึงวิสัยทัศน์และความรับผิดชอบ (Accountability & Responsibility) ที่ผู้บริหารการบินไทยมีต่อกิจการของชาติ อันแสดงได้ว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้บริหารกิจการอย่างมีธรรมาธิบาลหรือมี Good Corporate Governance แล้วนั่นเอง ทั้งยังไม่ปรากฏว่า การบินไทยมีแผนหรือนโยบายใดๆ ในการปรับลดกำลังพนักงานในปัจจุบันหรืออนาคตเพื่อลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย แต่หากผู้บริหารการบินไทยกริ่งเกรงว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จะต้องรับผิดชอบการจ่ายค่าจ้าง ค่าทำงานวันหยุด ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แทนสำหรับกรณีที่นายจ้างต้นทางซึ่งเป็นผู้รับเหมาค่าแรง เบี้ยวไม่ยอมจ่ายเงินต่างๆ ที่กล่าวมา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ก็สามารถกำหนดคุณสมบัติเงินทุนประกอบการเบื้องต้นของผู้เสนอตัวเข้าประมูลงานรับเหมาค่าแรงได้ตามที่เห็นสมควร และในตัวข้อสัญญารับเหมาก็สามารถกำหนดให้ บริษัทผู้รับเหมาต้องมีสัญญาค้ำประกันจากธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ต่างๆที่กล่าวมานั้นให้แก่การบินไทย ในกรณีที่การบินไทยได้ชำระหนี้นั้นแทนไปแก่ลูกจ้างของบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงนั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน และเพื่อเป็น Warning Sign ในเรื่องการดูแลการจ่ายค่าจ้างและเงินอื่น ๆ แก่พนักงานของบริษัทผู้รับเหมาในข้อสัญญาก็สามารถกำหนดให้บริษัทผู้รับเหมาต้องรายงานเรื่องการจ่ายค่าจ้างและเงินอื่นๆ ให้ลูกจ้างของตนแก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ว่าจ้างทุกๆ เดือนก็ได้ ซึ่งผมเชื่อว่าบริษัทผู้รับเหมาแรงงานภายนอกเพื่อปฏิบัติหน้าที่พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินนั้น พร้อมจัดทำสัญญาจากธนาคารและรางานนั้นให้แน่ๆ แต่โอกาสในการประสบความสำเร็จในการ Outsource นี้ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของผู้บริหาร และสภาพการเมืองทั้งภายในการบินไทยเองและการเมืองภายนอกด้วย อย่างไรก็ตามการ Outsource อาจมีผลกระทบบ้างต่อสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยบ้าง เนื่องจากลูกจ้างของบริษัทผู้รับเหมาไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยได้ เพราะไม่ใช่พนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยนั่นเอง แต่คงไม่ใช่เรื่องใหญ่โตสลักสำคัญอะไรสำหรับสหภาพแรงงานเพราะสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยมีความเข้มแข็งมากอยู่เป็นนทุนเดิมแล้วนั่นเอง

            ที่กล่าวมาทั้งหมด 3 ตอน ก็เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและเห็นแก่ประโยชน์ของแผ่นดินเป็นหลักสำคัญ เพราะการบินไทยเป็นรัฐวิสาหกิจของชาติ ก็ย่อมเป็นของผมในฐานะหุ้นส่วนคนหนึ่งในบริษัทประเทศไทย จำกัด ซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นบริษัทแม่ของการบินไทย เท่านั้นเอง หากข้อคิดเห็นนี้มีความดี หรือมีประโยชน์แก่ผู้บริหารการบินไทยหรือผู้บริหารชาติบ้านเมืองบ้าง ผมก็ยินดีมากที่ได้ทำหน้าที่เสนอความเห็นนี้.....ขอรับเจ้านาย

 

 

โดย..เกรียงไกร  เจียมบุญศรี

นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) (ม.ร.) ประกาศนียบัตรบัณฑิตกฎหมายธุรกิจ (ม.ธ.),MPA (จุฬาฯ)

ทนายความที่ปรึกษากฎหมายในคดีแรงงาน

 

14/5/2549




ห้องรับแขก นักกฎหมายแรงงาน

ปัญหาการทำงานล่วงเวลาของพนักงานขับรถในธุรกิจการขนส่งทางบก article
ความไม่คืบหน้าของการจัดทำกฎหมายคุ้มครองผู้ทำงานบ้าน
ปรัชญาของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ปกิณกะคดีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ ตอนที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ
ปกิณกะคดีว่าด้วย การแก้ไขปัญหาลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ ตอนที่ 1
สิทธิหน้าที่และความคุ้มครองตามกฎหมายสำหรับลูกจ้างทดลองงาน
สถานการณ์ผู้รับงานไปทำที่บ้าน article
สภาพการจ้างโดยปริยาย article
สภาพการจ้างโดยปริยาย article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 9 article
การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? ตอนที่ 2 ความหมายของ นายจ้าง ตาม กฎหมายคุ้มครองแรงงาน article
การจ้างแรงงานภายนอกการบินไทยเป็นการขาดธรรมมาภิบาลจริงหรือ? article
ความสำคัญของกฎหมายแรงงานไทย article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 8 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 7 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 6 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ ...5 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ ....4 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 3 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่ 2 article
หลักในการเขียนข้อบังคับการทำงานสำหรับนายจ้าง ตอนที่1... article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.